วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

The Magic of Feedback !

The Magic of Feedback !

“ให้คำแนะนำกลับ” (Feedback)
เป็นสิ่งดียิ่ง...



ในการศึกษาทางจิตวิทยาเชิงพฤติกรรมของมนุษย์ที่ผ่านมานั้น...
พบว่า...
“การให้คำแนะนำกลับ” (Feedback) คือสิ่งหนึ่งที่สำคัญอย่างมากในการทำให้มนุษย์สร้างผลงานยอดเยี่ยมตลอดเวลา...
อย่างยาวนาน...

ในทางกลับกัน...
หาก “ปราศจาก” การให้คำแนะนำกลับที่จำเพาะเจาะจงและบ่อยเพียงพอ...
ผลงานมักไม่คงเส้นคงวา และมักพบว่าไปไม่ถึงเป้าหมายอยู่บ่อยครั้ง...  

มีการประเมินว่า...
ประมาณ 50 % ของปัญหาที่ธุรกิจไม่มีประสิทธิภาพ...
เกิดจาก การขาดการให้คำแนะนำกลับ...

คิดง่ายๆว่า...
หากพนักงานไม่ทราบว่า สิ่งที่เขาทำอยู่นั้น ดีหรือไม่ดี “อย่างไร”...
และเขาคืดว่า “ทำดีแล้วนี่!”...
ก็ไม่มีเหตุผลจำเป็นใดที่พวกเขาต้องเปลี่ยนแปลงการทำงาน...
หรือ พวกเขาคิดว่า...
สิ่งที่เขาทำอยู่นั้น เป็นสิ่งที่เจ้านายต้องการให้ทำ...
ดังนั้น ทำไมต้องเปลี่ยนแปลง (“ก็ฉันทำตามเจ้านายต้องการแล้วนี่!”)...
อันนี้จริงครับ...

เพราะฉะนั้น...การให้คำแนะนำกลับที่จำเพาะเจาะจงและบ่อยเพียงพอ
คือวิธีแก้ปัญหาที่...
เร็วที่สุด...
ถูกที่สุด...
และมีประสิทธิภาพที่สุด...
ตัวอย่างเช่น การให้คำแนะนำกลับแบบตัวต่อตัว (Face-to-Face Feedback) เป็นต้น

การให้คำแนะนำกลับ มี 3 แบบ ได้แก่
1.      เป็นกลางๆ
ตัวอย่างเช่น คำถาม
“คุณรู้ไหมว่า คุณทำให้ลูกน้องรู้สึกอายเพราะคุณวิจารณ์เขาต่อหน้าคนอื่น?”
“คุณทราบไหมว่า คุณมักจะสอดแทรกคำพูดคนอื่นๆอยู่บ่อยๆในที่ประชุม?”

2.      ในแง่บวก
ตัวอย่างเช่น
“ผมทราบว่า คุณทำรายงานเสร็จตรงเวลาทุกครั้งเลย เยี่ยมเลยครับ ทำเช่นนี้ต่อไปนะครับ!
3.      ในทางลบ
ตัวอย่างเช่น
“คุณมีปัญหาอะไรหรือเปล่าครับ ทำไมคุณขาดสมาธิที่จะทำงานให้เสร็จตรงเวลาเสมอเลย?”
“คุณน่าจะเลิกทัศนคติที่ไม่ดี โดยเฉพาะการมองคนอื่นๆว่าโง่”

หลายๆครั้ง พบว่า...
พนักงานอาจจะรู้ว่าสิ่งที่ทำอยู่มันไม่ดี...
แต่เขาคิดว่าสิ่งนั้นมันไม่ใช่ปัญหา(ที่จำเป็นต้องแก้ไข)...

การให้คำแนะนำกลับของเรา จะช่วยให้พนักงานตระหนักรู้ถึงการกระทำบางอย่างของเขานั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำและไม่น่ากระทำ(เพราะมันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้น)...

และ “การถกกันในช่วงให้คำแนะนำกลับ” (Feedback discussion)...
จะเป็นการกระตุ้นและให้แนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น...
ตัวอย่าง เช่น
เจ้านาย - “ณเดช ผมสังเกตว่าคุณมาสายบ่อยขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา คุณจะมาตรงเวลาได้ไหมครับ? ”
ณเดช – “ได้ครับ ผมจะพยายามครับ”
เจ้านาย – “ขอบคุณครับ”

มักพบว่า...
การแก้ไขหลังจากการถกกันในช่วงให้คำแนะนำกลับ...
มักทำให้ผลงานของพนักงานดีขึ้นครับ...

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

“ความแตกต่าง” ไม่ใช่ “ความได้เปรียบในการแข่งขัน”…

“ความแตกต่าง” ไม่ใช่ “ความได้เปรียบในการแข่งขัน”
หลายต่อหลายครั้ง...
แตกต่าง แต่ “ไม่ได้ช่วยอะไร”...

ที่ชัดเจนก็มีให้เห็นมานักต่อนัก...

อยากยกตัวอย่างที่ชัดเจนเรื่องหนึ่งครับ...
คิดว่าท่านคงเคย ดูการประกวดความสามารถ หรือ การร้องเพลง ...
อย่างรายการ “The Star”...


ใครไม่เคยดู ก็ลองเข้าไปดูใน www.Youtube.com
 ก็ได้ครับ...

อยากให้ดูในรอบคัดเลือกเป็นหลักครับ
แล้วจะเห็นอะไรดีๆ... เยอะเลย...

ที่ผมชอบดู The Star รอบคัดเลือก เพราะว่า...
น้องๆหลายๆคนพยายามใช้กลยุทธ์สร้าง “ความแตกต่าง” ...
ซึ่งคำถามคือว่า... “ทำไมคุณไม่เกิด(ผ่านการคัดเลือก) ? ”...

สิ่งนี้แหล่ะครับที่พิสูจน์ว่า... ความแตกต่าง ไม่ใช่ “ความได้เปรียบ” เสมอไป...

เรื่อง “กลยุทธ์” (Strategy) นั้น สำคัญครับ...
พอพูดถึงคำนี้แล้ว... อยากกล่าวไว้เป็นแง่คิดอีกหน่อยครับ...
กลยุทธ์นั้น ต้องมาพร้อมกับ คำว่า “แตกต่าง” และ “ได้เปรียบ” ครับ...
เพราะว่า...
กลยุทธ์ เป็นแผนที่มุ่งสร้างให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน(เหนือคู่แข่งของเรา) โดยมีฐานมาจากความแตกต่างที่เป็นเอกลักษณ์ของเรา (Harvard Business School)
นั่นคือ...
กลยุทธ์ จะมุ่งเน้นทั้ง “การสร้างความแตกต่าง” และ “ความได้เปรียบในการแข่งขัน”

เพิ่มเติมคือ...
กลยุทธ์ ต้องมี...
เป้าหมาย “ชัดเจน”
ทิศทาง “ชัดเจน”
สามารถเข้าใจได้ “ชัดเจน”

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด

อ๋อ ขอรับ

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Strategic Management: Game Changer - A.G. Lafley !

Strategic Management: Game Changer - A.G. Lafley !: "Game Changer... ผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่... A.G. Lafley แห่ง P&G... Chairman and CEO ของ Procter & Gamble... เปลี่ยนยุคมืด สู่คว..."

Demand Chain vs Supply chain and Logistics: อะไร ? ยังไง ?

Demand Chain คือ โซ่อุปสงค์...
แต่ผมขอเรียกอีกแบบหนึ่งว่า “โซ่แห่งความต้องการ(ของลูกค้า)”
(ฟังดูมันเข้าใจง่ายดีครับ)

มันน่าสับสนอยู่เหมือนกัน...ในเรื่องเกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้

จะมีการใช้คำหลายคำเลยครับ ได้แก่...
Logistics
Supply Chain (โซ่อุปทาน)
SCM = Supply Chain Management
Value Chain (ห่วงโซ่คุณค่า)
และ Demand Chain (โซ่อุปสงค์)
ก็น่างงอยู่หรอกครับ...

หากไปหาอ่านคำแปลเก่าๆระหว่าง Logistics กับ Supply Chain... พอจะแยกออกครับ...
แต่ นิยามสมัยใหม่(Update) ผมว่ามันยิ่งงงกันไปใหญ่ คือมันแทบจะเป็นอันเดียวกันเลยครับผม...

ในที่นี้ ผมขอใช้แบบนิยามแบบเก่าเป็นเบื้องต้นแล้วกันนะครับ !
จริงๆแล้ว 2 ตัวนี้ คือ Logistics กับ Supply Chain
จะอยู่ในขอบเขตเดียวกันครับ
คือเริ่มจากต้นน้ำ(ผู้ทำเรื่องวัตถุดิบ) ไปสู่ปลายน้ำ(ลูกค้า) เพื่อเป้าหมายในการตอบสนองความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า
โดยที่ระหว่างทาง มีการทำกิจกรรม (หรือบางที่ใช้คำว่า Function หรือ Step) เกิดขึ้นเป็นขั้นตอน
และมีการใช้กระบวนการในการเพิ่มคุณค่าเข้าไปในกิจกรรมต่างๆ (Added values)

แต่สิ่งที่ต่างกัน คือ (ดูรูปประกอบครับ)
Logistics จะมุ่งไปที่การเคลื่อนย้าย/ขนส่งระหว่างกิจกรรม
ทำให้การขนส่งประสบความสำเร็จใน 2 เรื่อง ได้แก่
  1. -ถูกต้องตาม “เวลา”
  2. -ถูกต้องเรื่อง “สถานที่” (ที่อยากจะส่งไปถึง)
ส่วน Supply Chain จะมุ่งไปที่ตัวกิจกรรม
เพื่อให้การทำกิจกรรมสำเร็จได้ และมีการเพิ่มคุณค่าที่ดียิ่งขึ้นในแต่ละกิจกรรม


โดยทั้ง Logistics และ Supply Chain นั้น จะต้องมีการทำ 2 เรื่องเพื่อให้เป้าหมายสำเร็จ ได้แก่
            -การสื่อสาร (Communication)
          -การร่วมมือ (Coordination)

สิ่งที่แตกต่างกันอีกอย่าง(ในบางมุมมอง/มุมคิด) คือ
Supply Chain เกี่ยวข้องกับการจัดการและวางแผนในระดับกลยุทธ์ (Strategic level)
ส่วน Logistics จะเกี่ยวข้องกับการจัดการในระดับล่างลงมา คือ
          -ระดับแผนยุทธวิธี (Tactical level)
          -ระดับปฏิบัติงาน (Operational level)
ซึ่งอธิบายอย่างนี้ ก็ได้อีกมุมมองหนึ่งที่เกี่ยวกับทั้งสองเรื่องนี้นะครับ...

ข้ามมาเรื่อง โซ่แห่งความต้องการ Demand Chain
โดยธรรมชาติแล้ว
สิ่งต่างๆมันจะมีสองด้าน หรือ มีมุมที่อยู่ตรงข้ามกัน
มักจะต้องเกี่ยวเนื่อง หรือ พึ่งพิงกันอยู่

ก็คงเหมือน เรื่อง Demand และ Supply
มีความต้องการแล้ว ก็ต้องมีส่วนที่ต้องตอบสนอง(มอบให้) ไปยังความต้องการนั้นๆ

มี Supply chain ก็ต้องมี Demand Chain เป็นของคู่กัน
เป็นธรรมดาครับ...

แต่เรามักจะรู้จักกับ Supply chain เป็นหลัก
เพราะ Supply chain มีความซับซ้อนมากกว่า
องค์กรต้องมีการปฏิบัติในเรื่อง Supply chain มากกว่า นานกว่า และชัดเจนมากกว่า
จึงไม่แปลกที่คนส่วนมากรู้จักดี (แต่ไม่แน่ใจว่าเข้าใจดี เพราะเป็นเรื่องที่มีรายละเอียดเยอะมากครับ)

ทางฝั่ง โซ่แห่งความต้องการ Demand Chain นั้น
เห็นเขาว่า... ทำง่ายกว่า เร็วกว่า
เพราะเป็นการมองไปที่ตลาด (Market focus) เพื่อหาความต้องการของลูกค้า
แล้วจึงย้อยข้อมูลกลับเข้ามาที่องค์กร ที่ส่วนของการทำ โซ่อุปทาน Supply chain เพื่อตอบสนองความต้องการนั้นๆที่ค้นพบ โดยการสร้างคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์และ/หรือบริการ(Value Creation) เพื่อความสามารถในการแข่งขัน และสร้างความพึงพอพอใจสูงสุดกับลูกค้า ซึ่งจะสะท้อนกลับมาเป็นความสำเร็จขององค์กรในที่สุด

จริงๆแล้วจากรูปข้างบนนั้น
ก็พอจะเห็นลางๆอยู่ว่า มีการส่งข้อมูลความต้องการของลูดค้า ย้อยกลับเข้ามา (ลูกศรข้างล่างในภาพ) ซึ่งตรงนี้ก็อาจจัดเป็นส่วนหนึ่งของ Demand chain พอได้

อีกส่วนหนึ่งที่น่าสนใจ คือ...
การไปดูที่โมเดล Value Chain ของ M.E. Porter (ดูรูปข้างล่างประกอบ)


จะพบว่าเป็นโมเดลสมัยใหม่... ที่นักวิชาการมักจับมาอ้างอิงในเรื่องที่เกี่ยวพันกับ Logistics, Supply chain และ Demand Chain ในปัจจุบัน...

เพื่อให้ท่านเข้าใจแบบลัดสั้น และง่ายๆ
สรุปได้ว่า...
Logistics และ Supply chain จะเกี่ยวเนื่องกับ ส่วนที่เป็นสีแดง คือ Inbound-Operation-Outbound คือ จัดหา คลัง และขนส่งวัตถุดิบ แล้วนำไปเข้าสู่โรงงาน/กระบวนการผลิตสินค้า/บริการ รวมไปถึงการคลังสินค้า การจัดส่งสินค้าสำเร็จรูป เป็นต้น
ส่วน Demand Chain จะเกี่ยวเนื่องกับ ส่วนที่เป็นสีเขียว คือ Marketing & Sales และ Services ซึ่งจะเป็นการค้นหา สร้างขึ้นมา หรือ รักษา ความต้องการของลูกค้า อยู่ตลอดเวลา

การจัดการโซ่อุปสงค์/โซ่แห่งความต้องการ(ของลูกค้า)
Demand Chain Management (DCM)
“เป็นการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างต้นน้ำ(ผู้ทำเรื่องวัตถุดิบ) กับปลายน้ำ(ลูกค้าเป้าหมาย) เพื่อส่งมอบคุณค่าที่ดีที่สุด(Best Value) ไปยังลูกค้าเป้าหมาย ณ ระดับต้นทุนที่ต่ำที่สุดในโซ่อุปสงค์”
(สรุปใจความจาก From Wikipedia, the free encyclopedia)

จะมุ่งเน้นไปที่ความต้องการจากลูกค้า (Customer pull)

โดยการใช้เครื่องมือ(เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยการบริหาร)ในเรื่อง DCM เข้ามาช่วยทำ 2 เรื่องสำคัญ (นั่นคือ CRM-Customer Relationship Management และ SCM-Supply Chain Management) ให้เกิดความสัมพันธ์กัน และตอบสนองต่อเป้าหมายที่ตั้งไว้

ดังนั้น...
Demand Chain จึงมีความเกี่ยวพันกับ “ฐานข้อมูลลูกค้า” และการจัดการฐานข้อมูลดังกล่าว
(CRM-Customer Relationship Management)
ซึ่งในอนาคต... มีคำแนะนำว่า ให้ไปมองเรื่อง Database Marketing system ให้มากขึ้นด้วย

เมื่อองค์การรู้ถึงความต้องการของลูกค้าแล้ว (จากฝั่ง DCM)
จากนั้น องค์กรก็ต้องมาทำฝั่ง “การจัดการโซ่อุปทาน” (ทางฝั่ง SCM)
เพื่อนำสินค้า บริการ ไปตองสนองลูกค้าเป้าหมาย ให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด

มีบางสำนักบอกว่า
DCM เป็นส่วนต่อขยายออกมาจาก SCM
เพราะ DCM มุ่งไปดูที่ลูกค้า หรือ ที่ตลาดเป็นหลัก (market orientation perspective)

ส่วนศาตราจารย์ฟิลลิป คอตเลอร์ ท่านได้กล่าวไว้น่าคิดว่า
Demand Chain process เป็นเหมือนกระจกเงา ที่สะท้อน Supply Chain นั่นเอง”
อืม น่าสนใจ
เอาไปคิดต่อครับ...

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด

อ๋อ ขอรับ !
*** หนังสือน่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ติดตามอ่านของ Dr.Vithaya Suharitdamrong ***