วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การโค้ช เพื่อ “สร้างผู้นำ” - Coaching for Competencies


การโค้ช เพื่อ “สร้างผู้นำ” - Coaching for Competencies

บทความก่อนหน้านี้...
ผมเขียนเกี่ยวกับเรื่อง การโค้ช หรือ Coaching ในมุมที่กว้างๆ...
เป็นหลักการโค้ชทั่วไป ที่ต้องปฏิบัติต่อกันและกัน...
ระหว่าง ผู้ทำการโค้ช(ผู้สอน) และ ผู้ถูกโค้ช(ถูกสอน)

ยังมีอีกมุมหนึ่ง ซึ่งมีการนำเรื่อง Coaching ไปเกี่ยวเนื่องกับเรื่อง “ความสามารถ”...
บางท่านเรียก “สมรรถนะ”...บางท่านเรื่องอย่างอื่น
แต่เอาเป็นว่า ให้เข้าใจง่ายๆ สำหรับ Competencies ในที่นี้ คือ เรื่อง “ความสามารถ” แล้วกัน

Dr Tracey B. Weiss ได้ผูกเรื่องทั้งสองนี้เข้าด้วยกัน
เนื่องจากท่านมองถึงองค์กรจะขับเคลื่อนได้นั้น...
ผู้นำ หรือ Leader ต้องมีความสามารถ (Competencies) ที่เพียงพอและสนับสนุนการเติบโตขององค์กรได้
ท่านจึงแนะนำ วิธีการโค้ช เพื่อสร้าง “ผู้นำที่พร้อม” สำหรับองค์กร
ซึ่งท่านเรียกว่า การโค้ช เพื่อ “สร้างผู้นำ” - Coaching for Competencies



เบื้องต้นท่านได้กล่าวอ้างไปถึง Daniel Goleman ซึ่งเป็นผู้สร้างตำนานเรื่อง Emotional Intelligence นั่นเอง
อาจารย์ Daniel มองว่า Competency นั้น จะเกิดขึ้นได้ต้องผ่าน “การกระทำที่ทำซ้ำๆ”
โดยมีสองขั้นตอน คือ...
1.    ต้อง(พยายาม)ทิ้งนิสัยหรือพฤติกรรมที่ไม่เป็นผลดีกับตัวเราก่อน
2.    หลังจากนั้น...จึงค่อยนำ “นิสัยหรือพฤติกรรมที่ให้ผลดี” เข้าไปแทนที่(ในตัวเรา)

พูดดูง่าย...แต่อาจจะทำยาก!
แต่ถึงกระนั้น...ผมก็เห็นว่า “น่าจะเป็นเช่นนั้น”
เพราะนิสัยหรือพฤติกรรมสองด้าน คงจะอยู่ด้วยกันในตัวคนเดียวไม่ได้
และผมเชื่อว่า...หากเรามีเหตุต้องเปลี่ยนแปลงนิสัยหรือพฤติกรรมบางอย่าง...ตัวใหม่ที่เกิดขึ้นจะไปแทนที่ตัวเก่าอยู่แล้ว

ทีนี้...กลับมาที่ใจความหลักของ การโค้ช เพื่อ “สร้างผู้นำ” - Coaching for Competencies
...ของ Dr Tracey B. Weiss ผู้ที่เชื่อว่า “ความสามารถ(Competency)...สร้างได้”
ท่านได้ให้หลักการในเรื่องนี้ไว้ 4 หลักการ (principles) ด้วยกัน ได้แก่
1.   ทำให้ชัดเจนว่า “กำลังโค้ช” อยู่
คือ ต้องให้ ผู้จัดการ(ที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ และ กำลังถูกโค้ช)ตั้งเป้าหมายและความคาดหวังในช่วงของการโค้ช...ให้ชัดเจน
และผู้โค้ชเอง ต้องเน้นไปที่ “กระบวนการเรียนรู้ Learning” ไม่ใช่มุ่งที่จะประเมินผล
โดยหลักๆก็คือ ... การให้มุมมองที่แตกต่างออกไป (different viewpoints)
เทคนิคคือ ... การตั้งใจฟัง การสังเกต การให้คำแนะนำ(โดยเฉพาะในเรื่องหรือมุมมองที่ผู้ถูกโค้ชมองข้ามไป)

2.   ต้องทำการโค้ชบนพื้นฐานของ “ข้อมูล” ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาแบบเจาะจง
คือ ต้องใช้ข้อมูลหรือเรื่องราวของผู้ที่กำลังถูกโค้ช เป็นหลักในการให้คำแนะนำหรือสอน
โดยมุ่งไปที่เป้าหมายหรือ การพัฒนาที่เจาะจงไปที่ตัวคนที่ถูกโค้ชโดยตรง
ไม่ใช่การให้คำแนะนำแบบกว้างๆ

3.   ต้องมุ่งเป้าหมายหรือกรอบการพัฒนาไปที่ “ประเด็นปัจจุบันของธุรกิจ”
ตรงนี้หมายถึง...การใช้กรอบของปัญหาหรือประเด็นที่ธุรกิจกำลังเผชิญอยู่
มาเป็นกรอบในการโค้ช...
ซึ่งคล้ายๆกับว่า...ให้เผชิญและตั้งเป้าหมายใน “กรณีศึกษา” ในปัจจุบันเลย
เรียนรู้จาก “ของจริง” นั่นเอง

4.   ต้องร่วมใจกันแบบยาวๆ(long-term commitment) ในการพัฒนาความสามารถนี้
ประเด็นปัญหาของการโค้ชอย่างหนึ่งก็คือ...
“เลิกล้ม” ไปกลางคัน...
อันอาจจะเกิดจาก ความไม่พร้อม หรือ ความไม่ยอมรับกันและกัน
ดังนั้น...หากหวังผลสูงในเรื่องการ “สร้างผู้นำรุ่มใหม่” ขององค์กรแล้ว...
จะต้องมีความ “ร่วมใจ” หรือ สร้างความยอมรับหรือเชื่อใจกันตั้งแต่ต้น
เพื่อให้การโค้ช มุ่งไปสู่เป้าหมายในระยะยาว
ว่าง่ายๆคือ...ต้องมี “ความเป็นเจ้าของ” ในเรื่องโค้ชนี้ร่วมกันนั่นเองครับผม

...........................................................
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

หลักในการ “เรียนรู้” Learning – มุมทางฝั่ง “ผู้เรียน” บ้าง


หลักในการ “เรียนรู้” Learning – มุมทางฝั่ง “ผู้เรียน” บ้าง

เมื่อกล่าวกันในเรื่อง “การสอน” ไปแล้ว...
คงต้องว่ากันในอีกมุม...คือ มุมของ “การเรียน”
ซึ่ง “การเรียนรู้” หรือ Learning นั้น มันก็มีหลักเหมือนกัน...
โดยไม่ว่าจะเป็นผู้สอนหรือผู้เรียน...ก็ควรต้องรู้หลัก “การเรียนรู้” นี้...
เพื่อให้กระบวนการ “สร้างคน” รุ่นใหม่ เกิดสัมฤทธิ์ผล

ในเรื่อง “การเรียนรู้” นี้ ผมขอยกหลักที่ผมค่อนข้างชอบและเห็นด้วยมากล่าวกัน
โดยเป็นหลักของ Les Donaldson & Edward E. Scannell
มีหลักการเรียนรู้ 5 ข้อด้วยกัน ได้แก่
1.    การเรียนรู้ต้องเริ่มที่ “ตัวผู้เรียนเอง”
2.    ผู้เรียนแต่ละคน มีความสามารถเรียนรู้ “ไม่เท่ากัน”
3.    การเรียนรู้ เป็นกระบวนการ “ต่อเนื่อง”
4.    การเรียนรู้ เกิดได้โดยการกระตุ้นทางประสาทสัมผัส
5.    การใช้ “สิ่งเสริมแรง” จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ดีขึ้น
 


·       การเรียนรู้ต้องเริ่มที่ “ตัวผู้เรียนเอง”
แน่นอนว่า...
การเรียนรู้ต้องเกิดขึ้นที่ “ตัวผู้เรียนเอง” ... คือต้องกระทำด้วยตัวเอง
ผู้สอนมีหน้าที่ในการ “สร้างบรรยากาศ” และสภาพแวดล้อมให้ “เอื้อ” ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
การเรียนรู้โดยตัวผู้เรียนเองนี้...เป็นการ “สะสม” ทั้งเรื่องความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ต่างๆ
รวมถึงทัศนคติที่จะเกิดการปรับเปลี่ยนหรือไม่ ก็ขึ้นกับการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
ดังนั้น...
จึงต้องเข้าใจว่า...มันมีความแตกต่างไปในแต่ละคน

·       ผู้เรียนแต่ละคน มีความสามารถเรียนรู้ “ไม่เท่ากัน”
ดังที่กล่าวไว้ในข้อแรกว่า...
การเรียนรู้มีความแตกต่างในแต่ละคน
ดังนั้น...
แต่ละคนจึงเรียนรู้ได้ “ไม่เท่ากัน”
ตรงนี้มีมุมมองไปที่ “ความสามารถ” ในการเรียนรู้
หรือในบางท่านก็ลงรายละเอียดไปถึงขั้นที่ว่า...
เพราะแต่ละคนมี “แบบแผนในการที่จะเรียนรู้” แตกต่างกัน...
ดังนั้น บางคนจึงยากที่จะเรียนรู้ให้ได้ดี...เพราะมี “อุปสรรค” จากวิธีคิด/แบบแผนการคิดนั่นเอง

·       การเรียนรู้ เป็นกระบวนการ “ต่อเนื่อง”
การเรียนรู้เป็น “กระบวนการ” ซึ่งนั่นก็หมายถึงว่า...
มันจะต่อเนื่องไปเรื่อยๆ...
และอาจจะมองได้สองด้าน คือ...
กระบวนการแบบเป็นทางการ และ แบบไม่เป็นทางการ
เช่น การเรียนรู้จากเพื่อน การเรียนรู้จากหัวหน้า เป็นต้น

·       การเรียนรู้ เกิดได้โดยการกระตุ้นทางประสาทสัมผัส
การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ ต้องผ่านประสาทสัมผัสของร่างกาย
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ...
แล้วจึงเข้าสู่กระบวนการต่างๆ (เช่น ประมวลผลต่อไป)

·       การใช้ “สิ่งเสริมแรง” จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ดีขึ้น
อาจจะต้องมี “ตัวช่วย” เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ความอยากที่จัเรียนรู้...
หรือเกิดการเรียนรู้ที่เร็วมากขึ้น
โดยสิ่งที่สำคัญคือ...
ตัวช่วย หรือ สิ่งเสริมแรง ที่ทำให้ผู้เรียน “รู้สึกดี” แล้วมีการปฏิบัติซ้ำๆในกระบวนการเรียนรู้

..........................................................
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

การสอน หรือ Coaching ในวิถีพุทธ


การสอน หรือ Coaching ในวิถีพุทธ

วันก่อน...
ได้ฟังเทศน์ธรรมะ(ทางวิทยุ)จากท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ...
โดนใจมากๆ...
และสิ่งที่ได้ฟังนั้นเกี่ยวเนื่องกับบทความที่แล้ว...
ที่เกี่ยวกับการโค้ช Coaching หรือ...จะเรียกว่า “การสอน” ก็น่าจะพอได้

หลักใหญ่ใจความสำคัญของการเทศน์ครั้งนี้...
การสอน หรือ Coaching ในวิถีพุทธ
มุ่งไปที่ตัว “ผู้สอน” หรือ ผู้ที่คิดจะสอนคนอื่น
โดยมีหลักอยู่ 3 ประการ ได้แก่...

      1. สอนอย่างน่าอัศจรรย์
 2. สอนอย่างมีเหตุผล
 3. สอนอย่างมีปาฏิหาริย์



แน่นอนครับว่า...
ฟังครั้งแรกคงจะงงๆ...
และอาจพาลคิดว่าท่านอาจารย์เอาเรื่อง “ปาฏิหาริย์” มาเล่นกับคนฟัง

จริงๆแล้วคงต้องบอกว่า “ไม่ใช่อย่างที่คิด” ...
เพราะเมื่อได้ฟังรายละเอียดและการขยายความหมายแล้ว...
จะรู้ว่า...
เป็นหลักที่สำคัญมากๆใน “การสอน” ...
ซึ่งสามารถไปประยุกต์ใช้ในงานการต่างๆได้...
และแน่นอนว่า...รวมถึงการโค้ช Coaching

·       สอนอย่างน่าอัศจรรย์
หลักข้อแรกนี้หมายถึง...
การสอนนั้น ต้องเริ่มด้วย “ความน่าสนใจ” หรือ “ชวนให้ติดตาม” ...
หรือ หมายถึง “เรื่องต้องใหม่” เป็นต้น
เป็นหลักที่รู้ๆกันอยู่ว่า...
การมีปฏิสัมพันธ์กันคนอื่นๆนั้น...การเริ่มด้วยความน่าสนใจ เป็นเรื่องที่ต้องทำ หรือ แม้แต่ต้องเตรียมตัวมาอย่างดีเพียงพอนั่นเอง

·       สอนอย่างมีเหตุผล
หลักข้อนี้ก็คงเข้าใจได้ไม่ยากอะไร...
หมายถึง สิ่งที่จะนำมาสอนนั้น ต้องมีเหตุมีผล มีความสัมพันธ์กัน
หรือ สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นเหตุเป็นผล หรือ เป็นจริง นั่นเอง
จริงๆแล้ว...ข้อนี้เป็นหลักการของ “พุทธ” ที่ชัดเจนมาก
เพราะศาสนาพุทธสอนให้พิสูจน์ความเป็นเหตุเป็นผล...
ไม่ใช่ความเชื่อง่ายๆ หรือ เชื่อ/ศรัทธาอย่างงมงาย

·       สอนอย่างมีปาฏิหาริย์
หลักข้อนี้ ให้ความหมายสื่อไปที่ “ความเป็นไปได้ของเรื่องที่จะสอน” ...
หรือ หมายรวมถึง สิ่งที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
ส่วนมาก...พวกเราเห็นคำ “ปาฏิหาริย์” นี้แล้ว...
มักคิดเลยเถิดไปถึง “ความเหนือจริง” ...
ซึ่งคำ “ปาฏิหาริย์”  ในที่นี้น่าจะเป็นความหมายที่มีนัยไปตามหลักพุทธที่มุ่งเรื่อง “ความเป็นไปได้” มากกว่าที่จะมุ่งให้ผู้สอนจะอวดอ้างสรรพคุณแบบ “เหนือจริง” ให้กับผู้เรียน

.............................................................
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การจะโค้ช (Coaching) ให้สัมฤทธิ์ผล...ต้องใช้เวลาและความเข้าใจ


การจะโค้ช (Coaching) ให้สัมฤทธิ์ผล...ต้องใช้เวลาและความเข้าใจ

‘Coaching is the art of giving back’
โค้ช คือ ศิลปะของการให้ย้อมกลับ(อะไรมากมาย)
ชอบประโยคนี้จังครับ...
เป็นข้อคิดจาก Dr Tracey B. Weiss
ว่าไปแล้ว การ “โค้ช” หรือ Coaching นี่ก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญเรื่องหนึ่งในปัจจุบัน
มีการพูดกันเยอะ...
มีการ(พยายาม)ทำเรื่องโค้ชก็มาก...หลายองค์กร
ผู้จัดการก็มักจะต้องรับบทบาทหน้าที่ของ “โค้ช” ไปในตัว...
แต่เรื่องนี้ “น่าห่วง” ครับ...
น่าห่วงตรงที่...หากผู้จัดการไม่เข้าใจในเรื่อง “การโค้ช” หรือ “ไม่เต็มใจ” ที่จะ(รับภาระ)โค้ช...
ก็อาจจะเป็นผลเสียมากกว่าจะได้ “ผลดี” ...



ประเด็นที่อยากจะนำเสนอในตอนนี้คือ...
อะไรคือสิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจและปฏิบัติ ในการทำการโค้ช Coaching
1.    Coaching ไม่ได้ทำแล้วจบในครั้งเดียว
โดยเฉพาะเรื่องแนวคิดหรือพฤติกรรมนั้น...
มันคงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ชั่วข้ามคืน หรือ พูดคุยกันเพียวครั้งสองครั้งแล้วมันจะเกิดการเปลี่ยนแปลง
ต้องใช้เวลา หรือ จะเรียกว่า ต้อง “ลงทุนในด้านเวลา” ก็น่าจะพูดได้
การโค้ชนั้น...
ต้องมีทั้งการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน การเชื่อถือกันและกัน การเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ การวางแผนการปฏิบัติเพื่อปรับปรุงในหลายๆด้าน...ฯลฯ
จึงต้องใช้เวลานานพอควร ที่จะเห็นผล

2.    Coaching ต้องใช้เวลามาก โดยเฉพาะการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน (Relationship)
เรื่องนี้คงจะเป็นแบบเดียวกันทั่วโลก คือ...
ไม่มีใครหรอก ที่จะยอมปฏิบัติตามคนที่เขาไม่ชอบหรือไม่เชื่อถือ (Trust)
ดังนั้น...
ความสัมพันธ์ต้องมาก่อน...และต้องใช้เวลา
สิ่งสำคัญ คือ...ความซื่อตรงต่อกัน
และ..
ความใส่ใจ (With heart)

3.    Coaching มักเป็นการ “ใช้คำถาม” (Asking) มากกว่าจะมานั่ง “บอกเล่า” (Telling)
โค้ชที่ดี...คือ นักฟังที่ดี
การใช้คำถาม...แล้ว “ฟัง” คือ ทักษะที่โค้ชที่ดีต้องมี
เพื่อประโยชน์ต่อคนที่กำลังถูกโค้ช...ในการพัฒนาความสามารถ (เช่น ด้านการวิเคราะห์สถานการณ์)
การที่ใช้วิธี “การบอก” ไปเสียทุกเรื่อง...
จะส่งผลให้ไม่เกิดการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงมากเท่าที่ควร...
หรือ มากตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

4.    Coaching ไม่ใช้สูตรสำเร็จในการแก้ไขทุกเรื่อง
ไม่ใช่ทุกเรื่องจะใช้การโค้ชได้อย่างสำเร็จ...
หรือไม่ใช่ทุกเรื่องที่การโค้ชจะนำมาซึ่งความสำเร็จหรือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้
ตัวอย่างเช่น...
คนที่ถูกโค้ชนั้น...ในบางครั้งก็มีความเป็นตัวตน(ของตนเอง-อัตตา)
ทำให้เกิดปฏิบัติตามเป็นไปได้อย่างช้าหรือ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้(เพราะเขาไม่ทำตามที่เราโค้ช)
เช่นนี้...
ผลการโค้ชก็คงไม่ได้ดังเป้าหมายมากนัก
หรือหลายๆเรื่อง...โดยเฉพาะเรื่องที่ใหย่ๆและซับซ้อน...
คงไม่สามารถใช้การโค้ชเพียงอย่างเดียวในการแก้ไข

โดยสรุปแล้ว...
การโค้ช Coaching เป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องใช้เวลา(ลงทุน)
และต้องอยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน
รวมถึงต้องเข้าใจข้อจำกัดบางอย่างของการ Coaching ด้วย
เพื่อให้การโค้ชเกิดผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ

.........................................................
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ