โมเดลเพื่อจัดการ “การเปลี่ยนแปลง” ให้เกิดความสำเร็จ Change Model ของ Kotter
การเปลี่ยนแปลง ถือเป็นเรื่อง “ธรรมดา”... ต้องเกิดขึ้นแน่นอน
ประเด็น คือว่า...
เราจะยอมให้ถูกการเปลี่ยนแปลง “บังคับ” ให้องค์กรเราเปลี่ยน หรือ...
องค์กรของเราจะ “ตัดสินใจ” เปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง ก่อนที่จะถูกการเปลี่ยนแปลงบังคับเรา
หากองค์กรตัดสินใจที่จะเปลี่ยนแปลง...
องค์กรต้องมีการสร้าง “กลยุทธ์” หรือ “รูปแบบ” Model ในการจัดการการเปลี่ยนแปลง
เพื่อที่จะให้การเปลี่ยนแปลงขององค์กร เกิดความสำเร็จได้ตามเป้าหมาย
![]() |
http://www.changecards.org/change-theory/files/2010/09/Kotter1.png |
โมเดลหนึ่งที่น่าสนใจและสามารถปรับใช้ในการจัดการการเปลี่ยนแปลง คือ...
โมเดลของ Kotter ซึ่งประกอบไปด้วย 8 ขั้นตอน (Eight phase) ได้แก่
1. Establish a sense of urgency สร้างความคิดความรู้สึก “รีบด่วน” ในการที่จะต้องเปลี่ยนแปลง
ขั้นตอนนี้เกี่ยวข้องกับ การวิจัยตลาด
การวิเคราะห์การแข่งขัน และ คู่แข่งขัน
ประเมิน โอกาส และ อุปสรรค ต่างๆ
2. Create a coalition การสร้างความร่วมมือกัน “เป็นหนึ่งเดียว”
สร้างกลุ่มงานเพื่อมีพลังในการทำงาน
และมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลง
3. Develop a clear vision สร้างวิสัยทัศน์
สร้างวิสัยทัศน์หรือทิศทางของการเปลี่ยนแปลงให้ชัดเจน
แล้วพัฒนากลยุทธ์ที่สามารถทำให้วิสัยทัศน์ชัดเจนขึ้น
4. Share the vision ถ่ายทอดวิสัยทัศน์
ใช้ทุกวิธีหรือช่องทางในการสื่อสารกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ออกไป
โดยให้กลุ่มงานเริ่มต้น(coalition members)เป็นตัวอย่างในการดำเนินการเปลี่ยนแปลง
5. Empower people to clear obstacles ให้อำนาจการทำงาน
ดำเนินการขจัด “อุปสรรค” ต่างๆ ที่อาจจะขัดขวางการเปลี่ยนแปลง
ทำการพิจารณาปรับโครงสร้างองค์กร เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง
กระตุ้นให้เกิดความร่วมมือจากทุกส่วน เพื่อสร้างสรรสิ่งใหม่ๆ และทำงานแบบใหม่ๆ
6. Secure short-term wins มุ่งความสำเร็จระยะสั้นก่อน
วางแผนเพื่อจะประเมินผลงานอย่างชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย
สร้าง “อะไรคือความสำเร็จที่เราต้องการ?” (wins) และทำให้ทุกคนเข้าใจได้
เตรียม “รางวัลหรือผลตอบแทน”(Rewards) ให้กับคนที่สามารถสร้างความสำเร็จได้ตามเป้าหมาย
7. Consolidate and keep moving การปฏิบัติที่ต่อเนื่องและเข้มแข็ง
พยายามหาวิธีการที่จะสร้าง “ความเชื่อมั่น” ต่อการเปลี่ยนแปลง ให้เกิดกับทุกคนในองค์กร
และส่งเสริมให้ “นักเปลี่ยนแปลงที่มีผลงานความสำเร็จ” ได้เติบโตขึ้นในองค์กร
8. Anchor สร้างให้เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวหรือเป็นวัฒนธรรมองค์กร
ปรับปรุงประสิทธิภาพงาน โดยมุ่งเน้นไปที่ลูกค้าและผลิตภาพ(Productivity)
รวมไปถึงสร้างความมีภาวะผู้นำและความสามารถในการจัดการ(Leadership and Management) ให้เกิดขึ้น
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ