วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

จุดเด่นของ Google คือ... “เอาอยู่” โดยการสร้างสภาพการทำงานที่เป็นเลิศ Work climate


จุดเด่นของ Google คือ... “เอาอยู่” โดยการสร้างสภาพการทำงานที่เป็นเลิศ Work climate

คงไม่มีใครปฏิเสธความยิ่งใหญ่ หรือ ความสุดยอด ของ Google
ซึ่งนับวันก็ยิ่งเติบโตอย่างสดใส
หากทราบถึงที่มาที่ไปแล้ว...
ก็ยิ่งน่าตื่นเต้น...
และ “ทึ่ง” ในวิธีคิด และ การตัดสินใจ ในแต่ละช่วงของการก้าวเดิน

นับตั้งแต่จุดเริ่มต้น... Google...
จากคนเพียงสองคน คือ...
Sergey Brin และ Larry Page ในปี 1998...
ตัดสินใจ “หยุด” ชีวิตของการไล่ล่าปริญญาเอกของตนเอง
ที่ มหาวิทยาลัยชื่อก้องอย่าง Stanford University...
เพื่อมุ่งเอาดีด้านการสร้างระบบการค้นหาทางอินเตอร์เน็ต
Internet Search engine
หากเป็นเราๆท่านๆก็คงคิดหนัก...
ด้วยกรอบการเลี้ยงดูแบบครอบครัวตะวันออก...
น้อยคนที่จะตัดสินใจเหมือนกับสองคนนี้

หลังออกมาลุยงานอย่างเต็มที่...
ดูเหมือนสิ่งทั้งหลายก็ผ่านไปด้วยดี...
ก็คงต้องยกนิ้วให้ เรื่องของ “นวัตกรรม” ที่ทั้งสองคนสร้างขึ้นมา
มีความแตกต่างและได้ประโยชน์อย่างแท้จริง
จาก “สิ่งเดิมๆ” ที่มีอยู่...
และที่สำคัญ คือ การตอบสนองสิ่งที่ยังไม่มีใครหน้าไหนจะให้ได้ใน “เชิงธุรกิจ”
นั่นคือ ...
การโฆษณาแบบที่บริษัทโฆษณาทั้งหลาย “ใฝ่ฝัน”
แล้วทุกอย่างก็ลงตัว...
Google และ พนักงานทุกคน “รวยเละ” !

สิ่งที่ต้องการการตัดสินใจ...
หรือ คำตอบสำหรับอนาคต คือ...
จะทำให้พนักงาน(ที่รวยแล้ว)ทั้งหลาย...
อยู่กับ Google ต่อไปได้อย่างไร ???
ต้อง “เอาให้อยู่”...

คำตอบสุดท้าย...
คือ การสร้างสภาพการทำงานที่ตอบสนองพนักงาน....
ที่มีบุคลิกแตกต่างจากองค์กรอื่นๆ...
พนักงานที่เป็นหนุ่มสาวผู้มีความฝัน...
ความทะเยอทะยาน...
ความกล้า...ความฉลาด “ขั้นเทพ”...
ความเป็นนักคิด ขั้น “สร้างสรร”... Creative สุดๆ
มีความเป็นตัวของตัวเอง... พวก “มั่น” สูง
มั่นใจ...เชื่อมั่น...



Google จึงตอบสนอง...
สร้างสิ่งต่างๆเพื่อสอดคล้องกับความต้องการของพนักงาน...
Work climate นั่นเอง
จริงๆแล้ว...
จะว่าไป...Google ก็ได้ประโยชน์อย่างมาก....
การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหลายให้พนักงาน
พนักงานก็ “สร้างงาน” ได้มากขึ้น...
มีแนวคิดใหม่ๆมากขึ้น...
นวัตกรรมก็มากขึ้น...
แล้ว Google ก็โตขึ้น...อยู่รอดแม้จะเผชิญ “พิษเศรษฐกิจ” ใดๆ
Google ก็ผ่านมาด้วยดี...เสมอ

สิ่งที่ Google สร้างให้พนักงาน...
เรียกกันว่า GooglePlex เป็นสำนักงานใหญ่ ใน Silicone Valley
ตัวอย่างที่น่าสนใจ ได้แก่...
·       - พนักงานทำงานได้นาน หลายๆชั่วโมง ซึ่งจะได้รับการดูแลเหมือนเป็นครอบครัว(Family) มีคนทำอาหารให้ และกินฟรี เครื่อมดื่มสุขภาพและ snacks
·       - พ่อครัวยินดีที่จะเสิร์ฟอาหารให้ แม้จะเป็นช่วงเวลาระหว่างมื้ออาหาร แทนที่จะออกไปหากินเองในร้านอาหารต่างๆ
·       - การที่ Google มีพนักงานมีมาจากหลายชาติ – อาหารจึงต้องมีความหลากหลายไปด้วย ทั้งอาหารแบบเอเชีย อัฟริกัน อินเดีย ฝรั่งเศส อิตาเลี่ยน เป็นต้น
·       - ส่วนอื่นๆที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้กับพนักงาน ได้แก่ ร้านซักรีดในที่ทำงาน ร้านทำผม ร้านเกี่ยวกับการแพทย์และทันตกรรม บริการล้างรถ สถานที่หรับดูแลเด็ก(day care) ศูนย์ออกกำลังกาย fitness และ training ส่วนตัว

สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ กลายเป็นตัวอย่างให้กับหลายๆองค์กร
ที่ต้องการสร้างความผูกพันของพนักงาน
และเสริมบรรยากาศที่จะให้พนักงาน...
สร้างสรรสิ่งใหม่ๆให้กับองค์กร

........................................................
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

“ความเก่ง” ของผู้นำอย่าง Schultz แห่ง Starbucks


“ความเก่ง” ของผู้นำอย่าง Schultz แห่ง Starbucks

ถึงอย่างไร...
ผมก็ยังชื่นชม “ความเก่ง” หรือ ความสามารถ ของ ผู้นำ
อย่าง Schultz แห่ง Starbucks

อย่างที่พวกเราทราบกันดีว่า...
ธุรกิจกาแฟที่แตกต่างและเป็นแบบอย่างของธุรกิจรูปแบบใหม่
อย่าง Starbucks นั้น...
เกิดขึ้นแบบ “ไม่ใช่ความบังเอิญ”

เป็นความสามารถและแนวความคิดของผู้นำแถวหน้าอย่าง Schultz
ผู้ซึ่งมี background ที่แสนรันทดและยากลำบาก
ลองไปหาอ่านดูครับ...ชีวิตตอนเด็กของเขา คือ “แก่น หรือ ราก” (root) ของ Starbucks
ที่มีความโดเด่นมาถึงทุกวันนี้...ในทุกแง่มุม

สิ่งที่บ่งชี้ถึงความสามารถ หรือ “ความเก่ง” ของ Schultz นั้น
ที่ผมชอบมีอยู่ 2 เรื่องใหญ่ๆ ด้วยกัน ได้แก่
๑.     ช่วงการก่อตั้งธุรกิจใหม่ของเขาเอง (แม้ยังไม่ใช่ Starbucks)
๒.     ช่วงเวลาแห่งการ “ตัดสินใจ” ของแต่ละเหตุการณ์สำคัญของ Starbucks




ช่วงการก่อตั้งธุรกิจใหม่ของเขาเอง (แม้ยังไม่ใช่ Starbucks)
ในตอนที่เขาตั้งร้านกาแฟร้านแรกของเขาเองนั้น...
ยังไม่ใช่ Starbucks แต่เป็นชื่ออื่น
ประเด็นสำคัญคือ “ทำไม เขาจึงกล้าหาญชาญชัยขนาดนั้น”...
ที่ลาออก แล้วมาตั้งร้านกาแฟของตนเอง
“วิสัยทัศน์” หรือ Vision คือคำตอบ...
การมองเห็นอนาคตอันสดใส ของธุรกิจขายกาแฟ ในแบบที่คนอื่นๆ(แม้จะทำมานาน) มองไม่เห็น
นึกไม่ออก...
หรือ คาดไม่ถึง
เมื่อเห็น...แล้วเสนอให้... แต่เจ้าของเดิมกลับ “ไม่เข้าใจ”
สิ่งที่เขาต้องตัดสินใจ คือ ....
ออกมา “ทำเอง” เสียดีกว่า
ด้วยปณิธานที่มุ่งมั่นจสร้างความแตกต่างอย่างแท้จริง...
ในธุรกิจร้านกาแฟแบบอิตาเลี่ยนแท้ๆ...
ที่คนอเมริกันยังไม่ซาบซึ้งดีพอ

ช่วงเวลาแห่งการ “ตัดสินใจ” ของแต่ละเหตุการณ์สำคัญของ Starbucks
มีหลายเหตุการณ์ที่ดูเหมือนจะฝืนความรู้สึกของคนทั่วไป
หลายเหตุการณ์ที่มีคนวิจารณ์และไม่เห็นด้วย
แต่ Schultz มักจะตัดสินใจไปใน “ทิศทางตรงกันข้าม” เสมอๆ
เขาเป็น “คนดื้อ” ของสังคม ใช่หรือไม่?
หรือว่า คนในสังคมต่างหาก ที่ไม่กล้าออกนอกกรอบ (?)

ตัวอย่างที่ชัดเจนกรณีหนึ่ง คือ “การเพิ่มร้านกาแฟในระแวกเดียวกัน”
คนทั่วไปวิจารณ์ว่า...
“ไปไม่รอดแน่”...
“มันเป็นการสร้างร้านกาแฟที่มากินตัวเอง(แย่งยอดขายกันเอง)”
“...”
และอีกมากมาย

แต่ Schultz (ที่มองต่าง)...
กลับทำให้คำวิจารณ์ต่างๆนั้น “ผิดหมด” ...
เรียกว่า “หักปากกาเซียน” ทั้งหลายเลยก็ว่าได้

ผลประกอบการของ Starbucks กลับสูงขึ้น...
ร้านเดิมๆที่มีอยู่ก่อน...ก็ยังขายดี...
และขายดีมากขึ้นไปอีก...ด้วยซ้ำ
บริษัทเติบโต...
จนไม่มีอะไรมาหยุดการเติบโตอย่างมากเช่นนี้ได้
จนกระทั่งการเผชิญกับสิ่งภายนอก External factors
อย่าง “ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ” ....
“ความแรง” ของ Starbucks จึงเบาลงมา

..........................................................
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ