วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

คำถาม Google Guru: กลยุทธ์การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ?

คำถาม Google Guru: กลยุทธ์การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ?

ตอบครับ...

การจัดการมันดิ้นได้ครับ!...
ดังนั้น การบริหารจัดการ จึงต้องจับทฤษฎีหรือหลักการบางอย่างมาเป็นตัวตั้งต้นก่อน
แนวทางปฏิบัติจึงจะชัดเจนมากขึ้น

อันดับต่อมา คือ ผู้นำ ต้องทำหน้าที่หลักให้ครบทั้ง สี่ส่วน คือ POLC (Plan - Organize - Lead - Control)

www.arthasith.com/view_knowledge.php?id=58



โดยวิธีสำคัญหรือเทคนิคสำคัญที่ซ่อนอยู่คือ กระบวบการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร Communication

หาตรงสื่อสารทำได้ดี ก็เป็นสัญญาณเบื้องต้นแห่งความสำเร็จ

ประการถัดมา คือ การปลุกจิตใจและจิตสำนึก ให้คนทุกระดับฮึกเฮิมครับผม...
เรียกว่า Motivation หรือ Inspiration หรือ Encouraging ก็ได้ แล้วแต่จะเรียกครับ
หากตรงนี้ทำได้ดีก็มีโอกาสสูงมากที่จะสำเร็จ

แล้วอย่าลืมว่า...
การจัดการบริหาร จะมีแกนหลักอยู่อย่างหนึ่งที่เป็น "ตัวดำเนินเรื่อง" คือ การจัดการกลยุทธ์ Strategic Management  ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องทำมาก่อนหน้านี้แล้ว

สุดท้าย...
อย่าลืม ว่า ทุกอย่างมัน "พลวัต" คือ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กร
ดังนั้น อย่าลืมที่จะต้องเตรียมหรือทำเรื่อง Change management ด้วยครับผม
เพื่อตอบโจทย์เรื่อง องค์กรสำเร็จอย่างยั่งยืน Sustainability

วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ปรับ 7Ss McKensey ไปเป็น “สุนัขพันธุ์พุดเดิ้ล”

ขอปรับแต่งหลักการของ แม็คเคนซี่ ซะหน่อย
เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ
Adjusted 7Ss McKensey

ดูรูปหลักการของ  แล้ว อาจสับสนเล็กน้อย(หรืออาจจะมาก)
เพราะรูปที่เขาทำมามันจะเป็นวง มันดูยากนะ

ผมเลยขอโอกาส
เปลี่ยนรูปแบบมันหน่อย ให้เป็นรูป “สุนัขพันธุ์พุดเดิ้ล”
ดังนี้...



Strategy “กลยุทธ์” สำคัญมาก ต้องทำก่อนสร้างโครงสร้าง
 -plan การวางแผนงาน
-Pattern มีรูปแบบที่ดี
-Resource allocation เพื่อจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสม

Structure “โครงสร้าง” ล้อไปตามกลยุทธ์
-Organization โครงสร้างในองค์กร
-Functional ส่วนของหน้าที่ต่างๆในโครงสร้าง

System “ระบบ”
-process ขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ
-reporting การสื่อสารและรายงานสิ่งต่างๆในระบบ

Staff “บุคลากร”
-people เกี่ยวข้องทุกประเด็น ตั้งแต่การสรรหา คัดเลือก การจัดสรร การฝึกฝนและพัฒนาบุคลากร

Skills “ทักษะ”
-competencies ความสามารถ หรือ สมรรถนะ ที่ต้องมีหรือต้องพัฒนาขึ้นมา
          -personal ในแต่ละคน
          -organizational ในภาพรวมขององค์กร

Shared Values “คุณค่าร่วมกัน”
-values คุณค่าที่องค์กรกำหนด หรือ คาดหวังจะให้เกิดขึ้น

Style “ลักษณะ”
-culture สัมพันธ์กับเรื่องวัฒนธรรมของคนและองค์กร

โดยทั้งมวลแล้วจะวิ่งลงมาสู่สองส่วนหลัก คือ ลักษณะ และ ทักษะ (Style and Skills)
ซึ่งเป็นสิ่งที่จะสะท้อนภาพที่เป็นขององค์กร Image ว่าองค์กรเป็นอย่างไร
นั่นคือ เป็นเรื่องที่สัมพันธ์ไปสู่กระบวนการสร้างแบรนด์นั่นเอง Branding

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กลยุทธ์คุณธรรมนำกองทัพ ของ “เล่าปี่”... คล้ายกับ CSR เหมือนกันนะ!

กลยุทธ์คุณธรรมนำกองทัพ ของ “เล่าปี่”... คล้ายกับ CSR เหมือนกันนะ!

หากใครชอบอ่านสามก๊ก...
ก็จะพอเห็นภาพองค์ประกอบของเนื้อเรื่องได้ดี...

“เล่าปี่” ผู้มีเชื้อสายฮ่องเต้...
มีปณิธานแรงกล้าในการกอบกู้ราชวงศ์ฮั่น...ให้กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง
นับเป็น Vision ที่ยิ่งใหญ่เอาการ...


โดยจุดเริ่มต้นของก๊กเล่าปี่...
เกิดขึ้นจากคนสามคน...ที่มีความคิดคล้ายๆกัน มาสาบานเป็นพี่น้องกัน...
“แม้จะเกิดต่างวันกัน แต่เราจะขอตายวันเดียวกัน”...
พูดเสร็จก็ตามธรรมเนียมครับ...ชนแก้ว!  เอ้ย...ยกจอกร่วมสาบาน...เป็นอันเสร็จพิธี

หลังจากนั้น...เล่าปี่...และพี่น้องร่วมสาบาน..ก็เริ่มเข้าสู่กระบวนการต่างๆ ตามลำดับมาเรื่อยๆ
โดยมีจุดเน้นที่ตรงข้ามกับอีกก๊กหนึ่งอย่างสิ้นเชิง(ก๊กของโจโฉ)
คือ...เน้น “คุณธรรม” นำกองทัพ...
ถือได้ว่า เป็นการใช้กลยุทธ์ ‘Integrity & Ethics’ focus strategy
มีหลายครั้งที่กุนซือและคนรอบข้าง แนะนำให้เล่าปี่ทำอะไรบางอย่างซึ่งขาดคุณธรรม
แต่เน้นว่า เป็นการทำเพื่อบ้านเมือง “บ้านเมืองต้องมาก่อน”...
ทุกครั้งไป...เล่าปี่ก็ไม่เคยทำตามคำแนะนำเลย...
เนื่องด้วยเล่าปี่ทำการมาได้สำเร็จหลายต่อหลายครั้ง และ เดินมาถึงจุดนี้ได้...
ก็ด้วยคุณธรรมนำกองทัพนั่นเอง...
จึงเป็นเหตุผลที่เล่าปี่กล่าวเพื่อปฏิเสธคำแนะนำที่ขาดคุณธรรมเสมอมา...

ถึงตรงนี้แล้ว...
ทำให้ผมย้อนนึกไปถึงการทำเรื่อง CSR หรือ SR (Social Responsibility) ของหลายๆองค์กร
ซึ่งมักจะเกี่ยวพันกับเรื่อง Ethics อยู่หลายประเด็น...
ที่ผมนึกตัวอย่างที่ใกล้เคียงกับก๊กเล่าปี่ได้ คือ...
Timberland ที่แม้ยอดขายจะตกลง และ บางครั้งขาดทุนบ้าง
แต่ Timberland ยังคงอยู่รอดได้

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เศรษฐศาสตร์ยังจำเป็น!

เศรษฐศาสตร์ยังจำเป็น!

ผมเคยรู้สึกว่า...
วิชา “เศรษฐศาสตร์” นั้น มันมีแต่ “ทฤษฎี”...
ที่ผมรู้สึกว่า... มันจะใช้ประโยชน์ได้จริงหรือ (?)
เพราะอะไรๆก็ต้องเอาเกณฑ์ “ปัจจัยอื่นๆให้คงที่” มาประกอบการใช้ทฤษฎี

โดยเฉพาะมัน “ค้านกับความรู้สึกและวิธีคิด” ของผมมากๆครับ...
ผมทำงานด้านการตลาดมานาน...
ความคิดที่อยู่ในหัวสมองของผมตอนนี้ คือ...
 “อะไรๆก็เป็นไปได้”...
“ทุกอย่าง ล้วนท้าทาย”...
“เราต้องฮึกเหิม ลุกขึ้นสู้” ... “เราต้องไปเป็นทีม”...

แต่ว่าไปแล้ว...
หากลองเข้าไปจับที่ประเด็นที่ว่า “เรารู้เศรษฐศาสตร์ไปทำไม?” ก่อน...
ก็ทำให้เปิดและปรับใจ หรือ พอตั้งตัวได้หน่อย...

 picture from net-share

เรารู้เศรษฐศาสตร์ไปทำไม?...
จากแนวทางของอาจารย์ถวิล นิลใบ มีอยู่ 4 ประเด็นด้วยกัน คือ
1.    เพื่อเข้าใจองค์ประกอบทางเศรษฐกิจ
2.    เพื่อสามารถอธิบายปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจได้
3.    เพื่อจะได้หาและนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา
4.    เพื่อหาและนำเสนอวิธีที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ

และเพราะ “เศรษฐกิจ” นั้น
นับเป็นองค์ประกอบใน “การวิเคราะห์ทางกลยุทธ์” ที่สำคัญตัวหนึ่งทีเดียว
เนื่องจากเราต้องยอมรับว่า ทุกประเทศทั่วโลกตอนนี้มันถูกผูกติดกันเหมือน “ห่วงโซ่”..
เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาแย่...
ก็ต้องมีผลกระทบมาถึงประเทศไทยของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
หากเศรษฐกิจยุโรปย่ำแย่...
ก็อาจมีผลกระทบมาถึงประเทศไทยของเราได้...หากคำสั่งซื้อเนื้อไก่จากประเทศไทยลดลง
เป็นต้น...

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Decorate strategy “ประดับประดา” สร้างความรู้และความรู้สึกร่วม...

Decorate strategy “ประดับประดา” สร้างความรู้และความรู้สึกร่วม...

สัปดาห์ที่แล้วไปประชุมที่ “สวนไทรโยค” รีสอร์ท... กาญจนบุรี
เป็นการไปที่นี่เป็นครั้งแรกของผมและทีมงาน...
ส่วนตัวแล้ว ผมชอบหลายจุดมากครับ... ถึงขั้นว่า ”มีโอกาสจะกลับไปใหม่”

นอกจากการดูแลของทีมงานรีสอร์ทและบรรยากาศที่ดีแล้ว...
สิ่งที่สะดุดความคิดผมอย่างหนึ่ง คือ... “การตกแต่งด้วยซากหลงเหลือจากประวัติศาสตร์”
เช่น ลูกระเบิด(ที่ระเบิดออกแล้ว), ถังน้ำมันเครื่องบินโบราณในช่วงสงคราม เป็นต้น



พร้อมๆกับมีเรื่องราวประวัติศาสตร์ให้อ่าน(พร้อมรูปภาพ)ว่า...
ช่วงนั้นของการสงคราม มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง...
ที่เกี่ยวพันกับ “สะพานข้ามแม่น้ำแคว” ในแต่ละส่วน...

ดูซากไป...อ่านเรื่องราวไป...
เงยหน้าขึ้นมา ก็มองเห็นสะพานที่เป็นรางรถไฟโบราณ... ที่ยังมีรถไฟวิ่งผ่านทุกวัน...เป็นช่วงๆ
รู้สึกได้ถึงการกระทบของความรู้ที่ได้อ่าน...กับจิตใจของเราเอง...
เราที่ยืนอยู่ตรงนั้น...
แต่คนละห้วงเวลา...

ผมถือว่า... ทางรีสอร์ทเลือกใช้กลยุทธ์ “การตกแต่งประดับประดา” ด้วยสิ่งที่กล่าวมานั้น
เป็นกลยุทธ์ที่ได้ผลต่อลูกค้าและผู้มาเยือนเป็นอย่างดี....
ตรงประเด็นที่สุด...

บอกได้คำเดียวว่า “แจ่มครับผม”...

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Starbucks แพง แต่ทำไมมีคนรักทั้งบ้านทั้งเมือง !

Starbucks แพง แต่ทำไมมีคนรักทั้งบ้านทั้งเมือง !

Starbucks คือ ธุรกิจที่มีการกล่าวถึงกันอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา (แล้วอาจจะในอนาคตด้วย)
ธุรกิจอะไรที่ขายราคาสูงที่สุด
แต่กลับมีการพูดถึงกันในแง่บวกอยู่ตลอดเวลา
อะไรที่สร้างความแตกต่างแบบนี้ได้

หนังสือที่ชื่อ The Starbucks experience โดย J.A. Michelli ได้ให้สิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับธุรกิจนี้อย่างน่าสนใจ
ในหลายแง่มุม...
ผู้เขียนได้พรรณนาไว้ผ่านทาง “หลักการทำธุรกิจ 5 ประการ”



หลักการทำธุรกิจ 5 ประการของ Starbucks ได้แก่
1.    เป็นตัวคุณเองในการทำงาน
2.    ทุกอย่างล้วนสำคัญ
3.    ทำให้เกิดสิ่งประทับใจ และพึงพอใจ
4.    รับเรื่องที่เป็นปัญหา
5.    สร้างให้คนจดจำ

ข้อที่หนึ่งสำคัญมาก...
“เป็นตัวคุณเอง” นั้นแตกต่างจากการทำอะไรตามใจตัวไปเสียหมดทุกอย่าง (เอาแต่ใจ)
เพราะการเป็น “ตัวเอง” ตรงนี้ จะกำกับแนวทางหรือหลักใหญ่ๆไว้อีก 5 อย่างเช่นกัน คือ
1.    แสดงความยินดีต้อนรับ เพื่อสร้างความประทับใจ
2.    มีความจริงใจอย่างแท้จริง ง่ายๆคือ รับฟัง แล้วตอบสนอง
3.    ต้องมีความเอื้อเฟื้อ อาทร กับคนในทุกส่วนของกิจการ
4.    ต้องมีความรู้ รอบรู้ในสิ่งที่ทำ
5.    การมีส่วนร่วมทั้งที่บริษัทและสังคม

แต่ข้อที่ผมชอบมากที่สุด คือ...
ข้อที่สาม เรื่อง “ทำให้เกิดสิ่งประทับใจ และพึงพอใจ”
มีประเด็นที่ผมชอบดังนี้ครับ
-ตอบสนองลูกค้า เหมือนที่เขาคาดหวังกับเรา ตามสิ่งที่แบรนด์ Brands ของเราสร้างไว้
   เช่น Brand ของ Starbucks คือ การบริการที่ดีเยี่ยม เสมือนบ้านที่สาม (อีกสองบ้าน คือ บ้านจริงๆ และที่ทำงาน) ดังนั้น ผู้บริหารและพนักงานต้องตอบสนองให้เห็นถึงการบริการที่ดีเยี่ยมดังกล่าว
-ทำสิ่งที่เหนือความคาดหมายให้กับลูกค้า
-ผู้บริหารบางคนกล่าวว่า...”เราจะไม่หยุดความพอใจไว้เพียงที่ความชื่นชอบ แต่เราต้องการเป็นที่รัก จนลูกค้าต้องพูดออกมาว่า – ฉันรักที่นี่(สตาร์บัคส์)จัง”

เพราะในเชิงการตลาด Marketing แล้ว
เราจะพบว่า... ลูกค้าในปัจจุบัน มีความต้องการไม่สิ้นสุด
ต้องการสินค้าที่ดีสุดๆ มีความครบถ้วนในความต้องการของเขา
ทั้ง Functional และ Emotional
แถมความต้องการยังมากขึ้นเรื่อยๆ
อันเนื่องจากโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก
ที่สำคัญประการหนึ่งคือ (เหมือนที่ในหนังสือเขียนไว้)
ลูกค้าต้องการการตอบสนองเดี๋ยวนี้ ณ เวลานี้
มิฉะนั้น ลูกค้าก็จะเปลี่ยนไปใช้สินค้าอื่นๆ
ทันที!

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ