วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หลักสัตวแพทย์ Apply (ปรับใช้หลักหมอกับการจัดการ)!

หลักสัตวแพทย์ Apply (ปรับใช้)!

วิชาชีพสัตวแพทย์ มีหลักการทำงานหลายอย่าง ที่แตกต่างจากการบริหารจัดการทั่วไป
แต่สามารถปรับใช้ “แนวคิดของหมอ” ในการบริหารจัดการได้เหมือนกัน

จากการทำงานของผมทุกๆวัน
มีหลักการทำงานอยู่อย่างหนึ่ง ที่ต้องถือเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ
ได้แก่
  1. การป้องกันปัญหา Prevention
  2. การควบคุมปัญหา/โรค Control
  3. การรักษาโรค Treatment
  4. การประเมินสิ่งที่จะเจอได้ในอนาคต Prediction



ระยะที่๑ การป้องกันปัญหา Prevention
หมอมักจะได้รับการแจ้งมาว่า มี“สัตว์ป่วย”
รู้ไหมครับว่า เราถือว่า “ช้าไป”
เพราะเมื่อสัตว์ป่วย/เจ็บไข้ แสดงว่าเชื้อมันส่งผลกับตัวสัตว์เยอะมาก จนอาจจะเรื่องว่า “สัตว์ป่วยเป็นโรค” ได้ในหลายกรณี
ดังนั้น ส่วนมากสัตวแพทย์มักจะบอกผู้เลี้ยงเสมอๆว่า “ป้องกัน ดีกว่า แก้ไข”
การป้องกันก็รวมไปถึง การทำวัคซีน การให้อาหารที่ดี จัดที่อยู่ให้สะอาด ปลอดเชื้อโรค และใส่ใจคอยดูว่าเขามีอาการ/พฤติกรรมผิดไปจากปรกติหร่อเปล่า หากมีก็รีบสำรวจว่าเป็นอะไร เป็นต้น
ในการบริหารจัดการก็เช่นกันครับ
หากเราใช้หลักการป้องกันปัญหา องค์กรต้องสร้างบรรยากาศของการทำงานที่ดี ทำงานอย่างมีความสุข รู้สึกถึงความปลอดภัย มีสวัสดิการที่เหมาะสม มีการฝึกอบรมต่างๆ(ตรงนี้เหมือนการทำวัคซีนนะครับ) เป็นต้น
หากเป็นระดับองค์กร ก็อาจเป็นการเข้าซื้อกิจการ เพื่อโตมากขึ้น

ระยะที่ ๒ การควบคุมปัญหา/โรค Control
กรณีที่การป้องกันล่าช้าเกินไป สัตวแพทย์ก็จะมุ่งเน้นไปในระยะที่สอง คือ “การควบคุม”
เช่น สัตว์เริ่มสังเกตเห็นว่ามีอาการผิดปรกติไปจากเดิม เริ่มพบอาการไข้ (อาการเหล่านี้คือ อาการเริ่มต้นหรือบ่งชี้ถึงการเข้าสู่ภาวะติดเชื้อ และอาจจะลุกลามไปเป็นโรคได้ในที่สุด หากไม่มีการควบคุมที่ดีพอ)
สัตวแพทย์อาจจะให้ยาลดไข้ ให้น้ำเกลือ(มีอยู่หลายชนิด) หรืออาจจะควบด้วยยาปฏิชีวนะในบางกรณี
ในแง่การบริหารจัดการก็ต้องทำอะไรบางอย่าง
ในกรณีที่เราเลือกใช้หลักการควบคุมปัญหา ก็แสดงว่าองค์กรเห็นอาการผิดปรกติอะไรบางอย่างเกิดขึ้นกับพนักงานหรือตัวงานที่ทำอยู่ เช่น เกิดการกล่าวหานินทากัน เริ่มมีอาการเครียดในการทำงาน เริ่มปล่อยเกียร์ว่าง(ทำงานเฉื่อย) งานเริ่งไม่เสร็จตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้
องค์กรคงต้องเรียกพูดคุยกันไปตามสายงาน มีระบบการตรวจสอบงานเป็นช่วงเวลา เพื่อดูว่างานติดขัดตรงไหนหรือไม่ หัวหน้างานต้องเรียกคุยแล้วว่า เกิดอะไรขึ้น มีปัญหาเรื่องงานหรือเรื่องส่วนตัว อะไรที่องค์กรจะช่วยได้บ้าง
หรืออาจต้องมีโปรแกรมกระตุ้นการทำงาน(Motivation) การสร้างขวัญกำลังใจ การฝึกอบรม/สัมมนา ในหังข้วที่เกี่ยวข้องกับภาวะดัวกล่าว เป็นต้น

ระยะที่ ๓ การรักษาโรค Treatment
สัตว์ที่ป่วยมากจนถึงขั้นเป็นโรค แสดงถึงภาวะที่มีการติดเชื้อรุนแรงจนส่งผลกระทบต่ออวัยวะสำคัญหลายอย่าง เช่น ปอด ตับ ลำไส้ หัวใจ สมอง เป็นต้น
ถึงขั้นนี้ก็อาจจะควบคุมการป่วยไม่ได้แล้ว จึงต้องสั่งทำการรักษาอย่างเป็นระบบ เช่น การแยกส่วนให้สัตว์เป็นโรคอยู่ต่างๆหาก อาจจะต้องให้พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเลย เพื่อดูแลอย่างใกล้ชิด(โดยเฉพาะโรคที่อาจทำให้สัตว์ช็อคแล้วตายได้)
แล้วสัตวแพทย์ก็จะจัดยารักษาอย่างเป็นระบบ เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะ(ไล่ตั้งแต่ฤทธิ์อ่อนไปหาฤทธิ์แรง) การใช้สารน้ำ/น้ำเกลืออย่างต่อเนื่องจนอาการทุเลา การใช้ยากดภาวะการอักเสบ การใช้ยาแก้ปวด(ไล่ตั้งแต่ฤทธิ์อ่อนไปหาฤทธิ์แรง) เป็นต้น
ในแง่การบริหารจัดการก็อาจจะพบองค์กรมีลักษณะคล้ายๆการเกิดโรคเช่นกัน เช่น ขาดของไม่ได้ ประสบภาวะขาดทุน ขาดเงินหมุนเวียนในระบบ แบงค์ไม่ปล่อยกู้ ผู้บริหารลาออกยกชุด เป็นต้น
ในกรณีที่เราเลือกใช้หลักการรักษาโรค ก็แสดงว่ารุนแรงแล้วครับ
องค์กรต้องประชุมอย่างจริงจัง เพื่อหาปัญหาที่เป็นรากของปัญหา/สาเหตุที่แท้จริง สร้างกลยุทธ์ใหม่ในทุกระดับ เพื่อประเมินทางเลือกที่ได้ผลหรือหาทางออกให้กับภาวะที่เผชิญอยู่
ตัวอย่างเช่น จะกู้เงินเพิ่มหรือไม่ จะกู้จากที่ไหน
จะขายธุรกิจบางส่วนออกไปหรือไม่(Downsize)
จะลดคนงานหรือไม่ ลดลงจำนวนเท่าใดจึงจะไม่กระทบผลการดำเนินงาน
หรือจะเข้าร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับใครได้(Alliance)
หรือว่าจำเป็นต้องขายกิจการทั้งหมด

ระยะที่ ๔ การประเมินสิ่งที่จะเจอได้ในอนาคต Prediction
ระยะนี้ เป็นสิ่งที่สัตวแพทย์ต้องประเมินสภาพการณ์ โดยเฉพาะการรักษาโรค
ว่าหลังจากให้การจัดการและยาต่างๆไปแล้ว
สัตว์จะดีขึ้นหรือไม่ อีกนานเท่าใด
หรือมีความเสี่ยงแค่ไหนที่จะปรกติหรือตาย
โดยส่วนมากจะให้เกณฑ์ง่ายๆ คือ “ดี/แนวโน้มหาย – พอได้/พอเอาอยู่ – ไม่ดี/อาจตาย” (Good - Fair - Poor)
ในการบริหารจัดการก็เช่นกันครับ
ผู้นำกลุ่มที่ดำเนินการจัดการกับปัญหา จะต้องทำการประเมินสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตได้/พยากรณ์ได้
เพราะจะทำให้เรารู้ว่า...
“จะเอายังไงต่อดี”

ขอบคุณที่อ่านมาถึงที่สุด

อ๋อ ขอรับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น