วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ปีหน้าฟ้าใหม่...ทำงานอย่างไรดี...ระหว่าง MBO (จัดการด้วยเป้าประสงค์) กับ Strategic Management (การใช้เชิงกลยุทธ์นำ)

ปีหน้าฟ้าใหม่...ทำงานอย่างไรดี...ระหว่าง MBO (จัดการด้วยเป้าประสงค์) กับ Strategic Management (การใช้เชิงกลยุทธ์นำ)

คิดว่าหลายองค์กรคงทำแผนงานของปีหน้าสำเร็จไปบ้างแล้ว...ไม่มากก็น้อย
ถือว่ากำลังจะเริ่มปีใหม่...ก็เลยคิดว่า “คนทำงาน” ควรนึกถึงเรื่องใดเป็น “อันดับแรก”
ผมว่า...คงหนีไม่พ้น “การตั้งเป้าหมาย” (ทั้งระยะสั้น และ ระยะยาว) หรือ การปรับเปลี่ยนเป้าหมายระยะยาวให้สอดคล้องกับ “การเปลี่ยนแปลง” ในปัจจุบัน
แต่ที่น่าสนใจ (และใส่ใจ) คือ...
องค์กรที่เล่นเกมส์ธุรกิจแต่เพียงในระดับ “การจัดการให้สำเร็จตามเป้าหมายในระยะสั้น”
ซึ่งตรงนี้น่าจะไปสอดคล้องกับเรื่อง MBO (Managing By Objectives)
เรื่องนี้ถือกันว่า มุ่งไปทาง “เป้าหมายระยะสั้น” เป็นหลัก
http://zahrahussain92.files.wordpress.com/2011/04/planning.gif

ผมมักชอบเรียกองค์กร หรอ คนทำงาน ที่ทำงานแบบหวังความสำเร็จในระยะสั้นแบบนี้ว่า...
Sales-oriented คือ มุ่งขายให้ถึงเป้าหมายขององค์กรเป็นหลัก(โดยเฉพาะของตนเอง)
ส่วนองค์กรหรือคนทำงานที่มุ่งดำเนินกิจกรรมผ่าน “กิจกรรมทางการตลาด” นั้น
ผมมองว่า...องค์กรพยายามเดินเกมส์ไปแบบ Marketing-oriented
คือมุ่งให้เกิดความสำเร็จในระดับ “ลูกค้าเป้าหมาย” Customer driven เป็นอันดับแรก
ซึ่งประเด็นนี้แน่ชัดว่า หวังผลในระยะยาว
เมื่อกล่าวล่วงเข้าไปสู่เรื่อง “การตลาด” Marketing แล้ว ก็คงเป็นเรื่องที่ผูกเงื่อนปนไปกับเรื่อง “กลยุทธ์” Strategy นั่นเอง
อีกประเภทหนึ่งคือ “ลูกครึ่ง” ที่มีทั้งสองส่วน คือ การดำเนินกลยุทธ์ ควบคู่ไปกับ การหวังผลในการขายแบบระยะสั้น
ส่วนองค์กรไหน จะมีสัดส่วนเน้นไปด้านไหนนั้น...อันนี้ขึ้นอยู่กับ “คนในองค์กร” นั้นๆ
ตั้งแต่ CEO ลงมาถึงระดับ “กองหน้า” (พนักงานขาย)

ผมเชื่อว่า...
องค์กรที่เน้น “หวังผลระยะสั้นๆ” ด้วยความสำเร็จด้านการขาย เป็นหลักนั้น...
แต่ละปี “เหนื่อยแน่ๆ” ...
เพราะไม่มี “ผลลัพธ์แบบระยะยาว” รองรับจากการปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ เช่น การทำการตลาด การทำเรื่องแบรนด์ Branding การวางแผนสร้างฐานลูกค้าแบบยั่งยืนในระยะยาว CRM เป็นต้น

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม...
ผมคิดว่า...ทั้งสองแบบนั้น “เสริมกัน” และ “สร้างความสัมพันธ์ที่ดี” ได้ คือ...
การทำ Strategic Management (การใช้เชิงกลยุทธ์นำ) และ การทำ MBO (จัดการด้วยเป้าประสงค์)
เพื่อประโยชน์ คือ...
·       การมีเป้าหมายที่ชัดเจนมากขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
·       การคาดหวังความสำเร็จได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
·       ธุรกิจมั่นใจมากขึ้นในเรื่องความมั่นคง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ครับผม

อะไรคือสิ่งที่ทำให้ Hillary Clinton สำเร็จและยังคงโดดเด่น Leadership secrets...ยุคนี้เป็น “ยุคของผู้หญิง”

อะไรคือสิ่งที่ทำให้ Hillary Clinton สำเร็จและยังคงโดดเด่น Leadership secrets...ยุคนี้เป็น “ยุคของผู้หญิง”

ต้องยอมรับว่า...
ยุคนี้เป็น “ยุคของผู้หญิง” ขึ้นมานำสังคมทุกวงการ...
แม้ในอดีตจะมี “ความไม่ยอมรับ” ในความเป็นหญิงที่จะมานำสังคม...น้อยมาก
แต่แน่ล่ะ!...
ทุกอย่างมันเปลี่ยนแปลงได้เสมอ
ด้วยเหตุปัจจัยต่างๆ...ในแต่ละช่วงเวลา หรือ แต่ละยุคของสังคม
ซึ่งก็จะพบได้เสมอว่า... “ผู้หญิงก็เก่งและนำได้” ...ไม่แพ้ผู้ชาย

คนที่สังคมโลกต่างยอมรับอย่างแน่นอน...หากเอ่ยชื่อนี้...
Hillary Clinton(อเมริกา)
หากย้อนกลับไปดูที่มาที่ไป และ บทบาทต่อสังคมทั้งอเมริกาและสังคมโลกแล้ว
ถือว่า...นี่คือ “ตัวจริง เสียงจริง” ของแบบอย่างผู้นำ...แบบไม่มีใครเลย(ก็ว่าได้)ที่จะปฏิเสธเรื่องนี้



สิ่งที่น่าสนใจคือ...
Hillary Clinton คิดอะไรอยู่? มีวิธีคิดอย่างไร? มีวิธีปฏิบัติแบบอย่างของผู้นำอย่างไรบ้าง?
บทความนี้จึงขอเสนอบางส่วนของเธอให้ทราบกันเล็กน้อย(แต่ประโยชน์ใหญ่หลวง)

สิ่งหนึ่งที่มีคนกล่าวถึง Hillary ไว้เยอะคือ...
Leading with Purpose “เป็นผู้นำที่นำด้วยเป้าหมายตลอดเวลา”

หลายคนอาจนึกไปถึงว่า...เป้าหมายที่ว่านี้คือ เป้าหมายของงานที่จะทำ...
ซึ่งจริงๆแล้วต่างออกไป...
Hillary นำด้วยเป้าหมายที่เป็น “เป้าหมายของชีวิตเธอเอง” the Purpose of life
ซึ่งการนำด้วยเป้าหมายของชีวิตนี้...จะแตกต่างจากเป้าหมายของตัวงานอย่างมาก เนื่องเพราะ...
การนำด้วยเป้าหมายชีวิตนั้น...จะสร้างพลังในการทำทุกสิ่งอย่างเต็มที่และตลอดเวลา
อย่างที่หลายคนเรียกว่า “ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย” นั่นเอง

อ้างอิงหลักฐานหน่อย...จากงานวิจัยของ Rochester’s Human Motivation Research ได้สรุปออกมาว่า...การใช้ชีวิตโดยมีเป้าหมายเป็นตัวนำแบบนี้...
จะสร้าง...ความสนใจ (การสังเกตและวิเคราะห์)
จะสร้าง...ความตื่นตัว (มีสติ)
จะสร้าง...ความเชื่อมั่น (มาพร้อมความกล้า)
รวมไปถึง...การสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ, ประสิทธิภาพที่จะเกิดขึ้น และ การมุ่งมั่นมุ่งไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง “ไม่มีสิ้นสุด”

เห็นแล้วใช่ไหมครับว่า...Leading with purpose นั้น สำคัญเป็นที่สุด สำหรับทุกคนทีเดียว

ส่วนสิ่งที่ต้องทำในเชิงการปฏิบัติต่อ “เป้าหมาย” Purpose นั้น ที่สำคัญได้แก่...
1.    Identify รู้เป้าหมายของชีวิตให้ชัดเจน
2.    Make it forward มุ่งเป้าหมายไปข้างหน้า ด้วยการ...
ตั้งใจจริง
จับจ้องอยู่ที่เป้าหมาย เพื่อให้เกิดขึ้นจริงให้ได้
3.    Keep it alive รักษาเป้าหมายให้อยู่กับเราเสมอ ด้วยการ...
บอกตัวเองทุกวัน
หากวิธีกระตุ้นเตือนตนเองอยู่เสมอ ถึงเป้าหมายชีวิตที่ตั้งไว้ “ต้องสำเร็จให้ได้”
4.    Start Now!
ง่ายๆคือ ... ทำเดี๋ยวนี้เลย! (อย่ารอ)


ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

Demarketing เพื่อลดความต้องการทางการตลาด แต่... “ไม่ใช่การทำลายตลาดของตนเอง”

Demarketing เพื่อลดความต้องการทางการตลาด แต่... “ไม่ใช่การทำลายตลาดของตนเอง”

วันก่อนไปหาที่ถ่ายเอกสาร...ที่ต่างจังหวัด
จริงๆแล้วจะไปถ่ายหนังสือทั้งเล่ม...
เห็นป้ายเขียนว่า “ถ่ายเอกสารหน้าละ 50 สตางค์” ...คิดว่าคงจะเหมือนๆที่กรุงเทพฯ เลยลองสอบถามดู...
เจ้าของร้านบอกว่า... “จะถ่ายเอกสารอะไร?”
หนังสือครับ อาจจะสักสองเล่ม..คือถ่ายทั้งเล่มน่ะครับผม” ผมตอบ
งั้นคิดหน้าละ 1 บาทแล้วกัน” เจ้าของร้านตอบกลับมา
โอ้...พระเจ้าจอร์จ...แทบไม่อยากเชื่อเลยว่าแกจะตอบอย่างนั้น
คิดในใจเป็นสองเรื่อง คือ...
หนึ่ง...แกคงรวยแล้วล่ะ...ไม่อยากรับงาน (อันนี้เชิงประชดเล็กๆ)
สอง...นึกถึงศัพท์ทางการตลาดคำหนึ่ง... “Demarketing
แต่ที่แกทำแบบนี้ ผมว่า “De-“ ในที่นี้น่าจะเป็น Destroying Marketing มากกว่า
คือ...ไล่ลูกค้าหนี!
ก็เลยอยากอธิบายความหมายจริงๆของ “Demarketing” ให้ละเอียดหน่อย...

http://guidesmedia.ign.com/guides/681173/images/zoop-destroy.jpg

จริงๆแล้ว Demarketing นี่ถือเป็น “กลยุทธ์ทางการตลาด” อย่างหนึ่งเลยทีเดียวครับ คือ Demarketing strategy
โดยการจะใช้กลยุทธ์นี้ ย่อมมีวัตถุประสงค์หลักคือ...
เพื่อลดความต้องการทางด้านสินค้าของลูกค้านั่นเอง (Demand for the product)
ด้วยเหตุผลหลายอย่างด้วยกัน ตัวอย่างเช่น...
1.   ไม่สามารถผลิตสินค้าจำนวนมากเพียงพอต่อความต้องการในช่วงนั้น
Cannot supply in large enough
2.   ไม่ต้องการผลิตสินค้าที่มีกำไรน้อยเกินไปในบางพื้นที่ ที่มีต้นทุนในการกระจายสินค้าสูงมากๆ
the high cost of distribution, but too little profit margin
3.   ไม่ต้องการผลิตสินค้าที่มีกำไรน้อยเกินไปในบางพื้นที่ ที่มีต้นทุนในการส่งเสริมการตลาดที่สูงเกินไป
the high cost of promotion, but too little profit margin

ส่วนเรื่องวิธีการปฏิบัติต่อกลยุทธ์นี้...ทำอย่างไรบ้าง?
โดยสรุปง่ายๆ ในงานหลักๆ ได้แก่...
การทำการลดระดับความต้องการสินค้า Demarketing strategies โดยวิธี...
1.   ขึ้นราคา
Higher price
2.   ลดการใช้จ่ายในด้านการส่งเสริมทางการตลาด โดยเฉพาะด้านโฆษณาที่มีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
Scaled-down advertising
3.   เปลี่ยนรูปแบบของสินค้าใหม่ (ถือโอกาสช่วงนี้ทำด้านผลิตภัณฑ์แบบใหม่ไปเลย)
Product redesign 

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Core Competencies คือ หัวใจของทุกธุรกิจ

Core Competencies คือ หัวใจของทุกธุรกิจ

เมื่อกล่าวถึง Core Competencies ที่มักแปลกันว่า “ความสามารถหลัก” แล้ว
หลายๆคนมักนึกไปถึง Core Competencies ของพนักงานในองค์กรต่างงๆ
ซึ่งแท้จริงแล้ว Core Competencies นั้น มี 2 ส่วนใหญ่ๆคือ
1.    Corporate Core Competencies  ความสามารถหลักของ “องค์กร”
2.    Personal Core Competencies ความสามารถหลักของ “คนในองค์กร”
ในครั้งนี้ จะขอกล่าวถึง Corporate Core Competencies ซึ่งถือว่าเป็น “หัวใจ” ขององค์กรที่แท้จริง
เพราะหากมองเพียงระดับ Personal นั้น คิดว่ามันก็เป็นส่วนหนึ่งของระดับ Corporate อยู่ดีนั่นเอง
http://image.yaymicro.com/rz_512x512/0/62a/core-competency-word-cloud-62ad1f.jpg


คำถามที่น่าสนใจคือ...
Core Competencies คืออะไร หมายความถึงอะไร หรือ มันให้อะไร
คงพอจะสรุปหลักกว้างๆที่สำคัญของ Core Competencies(CC) ได้ดังนี้ คือ
1.    CC จะหมายถึง ความสามารถ Ability ขององค์กรที่โดดเด่น ถึงขั้นที่ว่า คนอื่นจะเลียนแบบไม่ได้หรือเลียนแบบได้ยาก imitate
2.     CC จะเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นสิ่งดีเด่นขององค์กรที่สามารถนำมา “แข่งขันได้” ในอุตสาหกรรมของตนเอง Competitive advantage
3.    CC คือสิ่งที่มีคุณค่าที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ Value to customer
ซึ่งจากความหมายหรือลักษณะดังกล่าวข้างบนนั้น
หลายๆคนก็อาจจะเรียก CC ว่า “Distinctive competencies” หรือ ความสามารถที่แตกต่างอย่างโดดเด่น

คำถามถัดไปคือ...
แล้ว CC นี่ มันจะไปใช้ประดยชน์หรือ มีความเกี่ยวของกับการทำธุรกิจอย่างไร
คำตอบที่สำคัญก็คือ มันมีความเกี่ยวเนื่องอยู่กับ 3 เรื่องใหญๆ ดังนี้ ได้แก่
1.   เกี่ยวข้องกับด้านกลยุทธ์ Strategy อาจจะรวมตั้งแต่การสร้างกลยุทธ์ ไปจนถึงการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ
ตรงประเด็นนี้...ลองนึกถึงเรื่อง VRIO Framework ก็ได้นะครับ
(หาอ่านเพิ่มเติมได้ในบล็อกนี้ ในหัวข้อ VRIO ที่ผ่านๆมา)

2.   เกี่ยวข้องกับด้าน การจัดการกับ “การเปลี่ยนแปลง” Change Management
เหตุผลก็คือ...เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกองค์กร
องค์กรต้องปรับตัว โดยเฉพาะปรับเพื่อการแข่งขัน
ดังนั้น การกลับมาพิจารณาเรื่อง CC อีกครั้ง นับเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง

3.    เกี่ยวข้องกับด้าน การตัดสินใจ Decision making ในการจัดการ หรือ การบริหารงานด้านต่างๆ โดยเฉพาะในส่วนของกระบวนการแก้ไขปัญหา Problem solving โดยเฉพาะการพิจารณาว่า จะเอา CC ส่วนใดไปจัดการปัญหาหรือสู้กับสถานการณ์ที่ยากลำบากในขณะนั้น

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ครับผม

วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เคล็ดลับความสำเร็จ Real Secret ของ Richard Branson (Virgins) - 1ใน 10 ของผู้สร้าง Brand ที่ยิ่งใหญ่ของโลก

เคล็ดลับความสำเร็จ Real Secret ของ Richard Branson (Virgins) - 1ใน 10 ของผู้สร้าง Brand ที่ยิ่งใหญ่ของโลก

เมื่อเอ่ยถึงชื่อ “Richard Branson”...ในวงการธุรกิจแล้ว...
คงต้องร้อง “อ๋อ!...” ...
โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ทำด้านการตลาด Marketing เรื่อง Branding
เพราะ Richard Branson คือ...
1ใน 10 ของผู้สร้าง Brand ที่ยิ่งใหญ่ของโลก
ที่เราคุ้มเคยดีก็ในชื่อแบรนด์ “เวอร์จิ้น” Virgins นั่นเอง

http://sandeshkumard.files.wordpress.com/2010/07/branson.jpg

สิ่งที่นำความยิ่งใหญ่ให้เกิดขึ้นกับเขานั้น...
หลายคนอาจจะมองว่า...ต้องมีเคล็ดลับอะไรที่ “แตกต่าง” แน่ๆ...คล้ายๆกับผู้ยิ่งใหญ่คนอื่นๆ
ตรงกันข้ามครับผม...
Richard Branson มีสิ่งที่แตกต่าง...แต่ไม่แตกต่างจากคนทั่วๆไป
เพียงแต่...ที่แตกต่างก็คือ...
เขาเป็นได้แทบ “ทุกแบบ” ในคนทั่วๆไป (ซึ่งทำยากมาก...ต้องเป็น “พรสวรรค์” หรือ นิสัยของคนๆนั้นจริงๆ)
คนที่สัมผัสกับ Richard Branson จะรู้สึกถึง “ความเหมือนกัน” ระหว่างคนคนนั้นกับ Richard Branson

ถามว่า...อะไรที่สร้างความรู้สึกนั้นขึ้นมา
นี่ล่ะครับที่เรียกว่า “ความลับของความสำเร็จที่แท้จริง” ของ Richard Branson
1.   Listen to people
เขาจะไม่มองข้าม “สิ่งเล็กๆน้อยๆ”
และแม้สิ่งนั้นจะมาจากคนระดับล่างๆก็ตาม
เขาจะรับฟังทุกๆเรื่อง
สิ่งที่เน้นความคิดของเขาในเรื่องนี้คือ...
การที่จะได้ยินประโยคสำคัญที่เขาชอบพูดออกมาเสมอๆว่า “ผมโชคดี...โชคดีที่ได้รู้จักทุกคน”
ตรงนี้สะท้อนแนวความคิดในการบริหารงานของเขาเองได้ดี

2.   Don’t let success go to your head
เรื่องความสำเร็จเป็นเรื่องที่สำคัญต่อธุรกิจ...อันนี้ใครๆก็รู้
แต่การไม่นำสิ่งนี้มาเป็น “อันดับแรก” ในการทำสิ่งต่างๆในชีวิต...นับได้ว่านักธุรกิจทั่วไปทำยาก
แต่เขาก็พบปะกับคนทุกคน พนักงานทุกระดับ ด้วยความสัมพันธ์ที่ดี ด้วยความเป็นเหมือนเพื่อนที่ดี “ก่อนเสมอ” (จากแนวความคิดในข้อแรกร่วมด้วย)

3.   Use your customers as consultants
แน่นอนว่า...คนที่รู้ความต้องการของลูกค้าดีที่สุดก็คือ..ตัวลูกค้านั่นเอง
เขาจึงเน้นการรู้จักและ “รู้จากลูกค้า” เป็นสิ่งที่สำคัญอันดับแรก
นำไปสู่การพัฒนาธุรกิจที่ “หลากหลาย” อย่างมาก
(ไม่จิ้มฟันยันเรือรบ...ตามสุภาษิตไทย)

4.   Treat everyone as an equal
สิ่งนี้ก็เป็นสิ่งที่เขาทำแตกต่างจากนักธุรกิจยิ่งใหญ่คนอื่นๆ
คนอื่นๆมักอยากจะครอบครองส่วนแบ่งตลาด หรือ ส่วนแบ่งลูกค้า ให้มากที่สุด
แต่ Richard Branson จะทำในรูปแบบที่แตกต่าง...นั่นคือ
เขามักจะทำธุรกิจที่เหมือนตอบสนองตาม “สิ่งที่ลูกค้าอยากได้”
เป็นเหมือนการพูดแทนลูกค้า เป็นปากเป็นเสียงแทนลูกค้า
(ลูกค้าอยากได้...เขาก็ทำออกมาตามที่ลูกค้าคาดหวังนั่นเอง)

5.   Be what people want you to be, and don’t let them down
เขามีความเป็น “ส่วนผสมของหลายๆคนหรือหลายๆสิ่ง”
เหมือน “ตัวตนของเขา” สามารถตอบสนองความรู้สึกของคนอื่นๆได้ตลอดเวลา
ทำให้คนทั่วไป รู้สึกอยากรู้จักเขา อยากชิมอยากลองในสิ่งที่เขาเป็นสิ่งที่เขาทำ

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ