วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

โลจิสติกส์ Logistics อาวุธทรงอนุภาพตัวใหม่ของการจัดการเชิงกลยุทธ์

โลจิสติกส์ Logistics อาวุธทรงอนุภาพตัวใหม่ของการจัดการเชิงกลยุทธ์

คงไม่ใช่ เรื่องของ "กระแส" อีกต่อไปแล้ว...
สำหรับเรื่อง "โลจิสติกส์"

หลายหน่วยงาน หลายองค์กร ได้เริ่มปฏิบัติการด้านนี้ไปอย่างต่อเนื่อง
บางองค์กรก็เพิ่มจะเริ่มทำ...
และยังมีหลายองค์กร ที่ยังมองว่าไม่จำเป็น
หรือยังไม่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างจริงจัง

ทางองค์กรทางฝั่งตะวันตก...
มีการทำเรื่องนี้มานานพอควร
อย่างที่เยอรมันนี่...อาจจะนานกว่า 30 ปีด้วยซ้ำ
ทางบ้างเรา...
บางท่านก็อาจจะบอกว่า "ก็มีการทำอยู่แล้ว"
ก็คงจะใช้...
แต่หากเอานิยามของ "โลจิสติกส์" สมัยใหม่มาจับ
ก็จะรู้ว่า...
ยังทำในส่วนน้อย และ...
ยังให้ประโยชน์ไม่มากเท่าที่ควร



"โลจิสติกส์" หรือ Logistics
หากเอาคำหลักๆมาพูดกัน...
ก็คงจะมีดังนี้...

๑.การเคลื่อนย้าย และ การจัดเก็บ 
ตรงนี้ ก็น่าจะเข้าใจได้ง่ายที่สุด
คือ โลจิสติกส์ มองไปที่ประเด็นของการเคลื่อนย้าย...
จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง
และนำไปจัดเก็บอย่างเหมาะสม

๒. เวลา และ ต้นทุน
หลายครั้ง...
มักจะมองไปที่ประเด็นด้านของเวลาในกิจกรรม
โดยเฉพาะในกิจกรรมการขนส่งหรือขนย้าย
และบางครั้งก็มองการทำโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุน
ซึ่งหมายถึงการมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง

๓. ส่วนหนึ่งของโซ่อุปทาน หรือ Supply Chain 
เนื่องจากส่วนมากเรามักจะให้ "โลจิสติกส์" ในความหมายของการ "ไหล"
จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
เพื่อดูว่า... มีประเด็นไหนที่ปรับปรุงได้บ้าง
ดังนั้น...
ความหมายของโลจิสติกส์ในเรื่องนี้
จึงดูเหมือนจะแคบกว่า Supply Chain
หากไม่นิยามกันจริงๆ...
ก็คงจะรู้สึกว่า...
มันเหมือนกัน

คงเห็นภาพมากขึ้นว่า...
โลจิสติกส์ คืออะไร...
มีประเด็นไหนที่ต้องเข้าไปจับบ้าง...
และ สิ่งนี้ ทำไมคนถึงหันมาทำกันมากขึ้น
ต้องกลับไปดูว่า...
องค์กรเราพอจะปรับเรื่องนี้เข้ามาทำได้หรือไม่
แล้วที่สำคัญคือ...
โลจิสติกส์อาจจะช่วยทำให้องค์กรได้ประโยชน์มากขึ้น
จากระบบที่องค์กรกำลังทำอยู่...
ก็เป็นได้

....................
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ครับผม

วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ผู้นำแบบไหน ที่ดีกว่ากัน - Leadership style

ผู้นำแบบไหน ที่ดีกว่ากัน  - Leadership style 

เรื่องของผู้นำนี่...
จะว่าไปก็มีการพูดกันเยอะมาก...
เยอะขนาดที่ว่า...
ประเภทของผู้นำ เกิดใหม่ทุกปี
อย่าง Transformational Leader,
Collaborative leader, 
Innovative leader
...
...

มากมายจนไม่รู้ว่า...
ตอนเราขึ้นไปเป็นผู้นำองค์กรแล้ว...
จะเลือกเป็นแบบไหน
ว่าไปก็สำคัญ..
เพราะนั่นจะเป็นตัวกำหนด "ทิศทาง" ของธุรกิจ
เลยก็ว่าได้



หากจะอ้างถึง...งานวิจัยในยุคปัจจุบัน
ก็คงต้องบอกว่า...
ลักษณะผู้นำนั้น... Leadership style
มีผลต่อองค์กรใน "ทุกด้าน" ทุกแผนก
ทั้งภายใน และ ภายนอก
ทั้งเรื่องของ "พนักงาน" ...
และ "ลูกค้า"

ดังนั้น ...
งานวิจัยใหม่ๆ
มักจะชี้ทิศทางไปที่...
ผู้นำต้องเปลี่ยนแปลง "ตัวเองก่อน"
ก่อนจะไปเปลี่ยนแปลงองค์กร

ต้องเลือกที่จะเปลี่ยนแปลง
จาก ควบคุมและสั่งการ "Control and Command"
ไปสู่...
การสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบ "ใหม่"

"be Collaborative"
หรือ การสร้างความร่วมมือ...
ทั้งในและนอกองค์กร

"be Creative" 
หรือ การสร้างความคิดสร้างสรรค์
ให้เกิดขึ้นภายในองค์กร
 โดยเฉพาะใน "ตัวพนักงานเอง"
ซึ่งจะเกิดขึ้นได้...ผู้นำต้อง "สร้าง" บรรยากาศ
บรรยากาศที่ส่งผลให้พนักงานเกิดความคิดใหม่ๆ
ความคิดที่สร้างสรรค์

"be Co-creative" 
หรือการร่วมมือกับส่วนอื่นๆของสังคม
ที่มักเน้นกันบ่อยๆคือ...
การร่วมมือกับ "ลูกค้า"
ในการ "ร่วม" พัฒนาสินค้าหรือบริการ
เพื่อตอบสนองกลับเข้าสู่ตลาด

....
....

อื่นๆอีกมากมาย

จะเกิดได้ต้อง... "เริ่ม" จากผู้นำ
เป็นเบื้องต้น...
และสร้างการเคลื่อนไปสู่สิ่งใหม่ๆ
เพื่อการเติบโตของงค์กร
และแน่นอนว่า...
ดีที่สุดคือ...
องค์กรยั่งยืน

__________________
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ครับผม



วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

‘NATO’ – No Action, Talk Only!


‘NATO’ – No Action, Talk Only!

บ่อยๆเหมือนกันที่ได้ยินประโยคนี้...
แรกๆคงนึกว่า เอ้...
ชื่อมันเหมือนองค์การนานาชาติอะไรบางองค์การหรือเปล่า(?)
จริงๆแล้ว...มันเป็นคำล้อเลียน...
เชิงประชดประชันนิดหน่อย...
ถึงคนหรือเหตุการณ์ที่มีแต่พูด” ...

แต่ไม่มีการกระทำ”...
ที่สำคัญ คือ...
พูดได้ดี...พูดดูดี... Present เจ๋ง...
อะไรประมาณนี้...
แต่เอาเข้าจริง...ก็มีแต่พูด (ดีแต่พูด)...
ทำไม่ได้...หรือ ไม่ได้ทำอะไรสักอย่าง



จะว่าไปแล้ว...
ในเชิงการบริหารจัดการ Management

เราก็อาจจะพบลักษณะ NATO แบบนี้ได้บ่อยๆเหมือนกัน...
อย่างเช่น...
การประชุม...ที่มีการพูดคุยหรือนำเสนออะไรต่างๆนานา
สวยหรู...เติบโต...มุ่งไปข้างหน้า...
Project หรือ Idea กระฉูดกันสนั่นห้อง...
แต่พอสรุปสุดท้าย ก็ไม่ได้ถูกแปลงให้เป็นการปฏิบัติ...
หรือ implement ไม่ได้...
อย่างนี้ก็คงต้องบอกว่า...ประชุม NATO กันเห็นๆ
อีกประเด็นก็คือ...
เป็นเรื่องส่วนบุคคล (มีความสามารถพิเศษ)
คือ พูดเรื่องต่างๆสวยหรู...
เสนอแนวคิดสุดยอด...
แต่พอเอาเข้าจริง ก็ไม่ทำให้เกิดผลใดๆ
ก็คงพบเห็นได้หลายๆองค์กร...

สิ่งที่ต้องแยกให้ออกก็คือ...
มันมีวิธีการบางอย่าง ซึ่งอาจจะดูคล้ายๆ NATO

แต่ไม่ใช่...

หากรีบสรุป หรือไม่เข้าใจ... ก็คงบอกว่าเป็น NATO
อย่างเช่น ...
การระดมสมอง... Brain storming
โดยกระบวนการแล้ว...เราต้องการความคิด หรือ ideas แปลกๆ ใหม่ๆ
บางจังหวะ ขั้นตอน...อาจจะดูฟุ้งๆสวยหรู
เหมือนฝันกลางวัน...อะไรทำนองนั้น
แต่สุดท้าย โดยกระบวนการแล้ว...เราจะได้ ความคิดดีๆไปใช้ประโยชน์

แต่การที่หลายครั้งงานไม่เกิดขึ้น...
หรือไม่มีการปฏิบัตินั้น...
มันอาจจะมีเหตุบางอย่าง...
เช่น...คนที่ไม่เข้าใจก็รีบสรุป...ตัดสิน(judge)...
เลยไม่ให้ความร่วมมือ...ไม่ให้ความเห็นใดๆ...
สุดท้ายก็ไม่ยอมเข้าร่วมการ implement หรือ นำไปปฏิบัติ
ความคิดดีๆ...โครงการดีๆ ก็คงไม่เกิดขึ้น...
อย่างนี้ก็คงต้องเป็นเรื่องของการบริหารจัดการองค์การของผู้นำ
Leader ว่า จะบริหารเรื่องความร่วมมืออย่างไร
ในกรณีหลังนี้...คงไม่ใช้ NATO
อาจจะเป็น...
NUTO… No Understand, Talk Only

คือ ไม่เข้าใจ แต่โวยคนอื่นไปเรื่อย...

เสียหาย...เสียหาย...

.................................................
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ครับผม


วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อะไร คือ “ตัวขับเคลื่อน” สำคัญของนวัตกรรม - Drivers of Innovation?

อะไร คือ “ตัวขับเคลื่อน” สำคัญของนวัตกรรม - Drivers of Innovation?

รายงานล่าสุดฉบับหนึ่งทางด้านนวัตกรรมที่น่าสนใจมากๆ...
คือ รายงานที่สำรวจองค์การในมาเลเซีย Malaysia
Malaysia Innovation Climate Survey 2009
ซึ่งทำร่วมกับ Microsoft Innovation Centre
(เอ๊ะ...ทำไมที่ประเทศไทยไม่มี ?????)
ถึงแม้ไม่ได้ทำในประเทศไทยโดยตรง(ซึ่งจริงๆแล้วควรจะมี)
คิดว่า “ผล” ที่ออกมาน่าจะประยุกต์ใช้ได้บ้าง...
และเชื่อว่ามันใช้ได้จริงๆด้วย



 ปัจจัยที่ขับเคลื่อน หรือ Drivers ของนวัตกรรม...
จากรายงานนี้...
3 อับดับแรก ได้แก่...
ลูกค้า หรือ ผู้ใช้ Customers
เทคโนโลยี Technology
และ คู่แข่งขัน หรือ การแข่งขัน Competitors
จะว่าไปแล้ว...
ดูให้ดีอีกที...มันเป็น “ปัจจัยภายนอก” External Factors ทั้งสามประเด็น
กล่าวอย่างนี้...
ยังไงก็คงทิ้งประเด็นที่เป็นปัจจัยภายในไม่ได้อยู่ดี
โดยเฉพาะประเด็นทางด้าน “บุคลากร” ขององค์การ...
ที่หมายถึงทั้ง “ตัวผู้นำ” เอง และ “พนักงาน”
(ลองนึกถึง ในกรณีของ Google เป็นตัวอย่าง)

ในประเด็นของ “เทคโนโลยี” แล้วคงอธิบายได้ไม่ยากนัก
ประเด็นที่น่าสนใจกว่า คือ...
ประเด็นด้าน “ลูกค้า” และ “คู่แข่ง”

ในประเด็นของ “ลูกค้า” หรือ Customers นั้น...
มีข้อสรุปง่ายๆว่า...
มันเป็นเรื่องของ Market driven...
หรือ... การทำธุรกิจแบบ “มุ่งตลาด” นั่นเอง
ดังนั้น...จึงมีข้อเสนอว่า...
ในเชิงนโยบายหรือการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม...
ต่อการสร้างนวัตกรรมนั้น...
ควร “กระตุ้น” ให้ผู้ใช้หรือลูกค้า...
มีความต้องการ Demand นวัตกรรมมากขึ้น...
และ มีความเชี่ยวชาญในการใช้นวัตกรรมมากขึ้นด้วย
(ในระดับชาติ ก็คงต้องเป็นรัฐบาลที่ต้องกำหนดนโยบายดังกล่าว)

ในประเด็นของ “คู่แข่ง” ในเกมส์การแข่งขันทางธุรกิจ
ข้อเสนอ คือ...
ต้องมีสภาพการแข่งขันที่มากพอ Strong Competition
ที่จะกระตุ้นให้แต่ละองค์การ “พยายาม” สร้างนวัตกรรม...
เพื่อให้สามารถแข่งขันได้กับรายอื่นๆในธุรกิจ

จะว่าไปแล้ว...
ผลของรายงานนี้...
กำลังจะบอกว่า...
“ปัจจัยภานนอก” (โดยเฉพาะในสามประเด็นข้างต้น)
คือ “ตัวกำหนด” หรือ ตัวขับเคลื่อน...
ที่ไม่เพียงแต่เรื่องนวัตกรรมเท่านั้น...
แต่คงเป็นสิ่งที่สำคัญในการ “ขับเคลื่อน” ปัจจัยภายในขององค์การด้วยเช่นกัน
และดูเหมือนจะเป็น “องค์ประกอบร่วม” ที่สำคัญมากทีเดียว

.........................................
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ครับผม


การหยุดนิ่ง ก็คือ “การถอยหลัง” นั่นเอง – ในมุมของนวัตกรรม Innovation

การหยุดนิ่ง ก็คือ “การถอยหลัง” นั่นเอง – ในมุมของนวัตกรรม Innovation

คิดว่ามีนักคิดนักวิเคราะห์ รวมถึงนักวิจัย...
ของแต่ละประเทศ...
มองประเทศของตนเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆทั่วโลก...
แล้วสรุปออกมาว่า..
อะไรคือจุดแข็งของประเทศตน...เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ...
และที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า...ในปัจจุบัน...
มีการกล่าวถึง “นวัตกรรม” ของแต่ละประเทศ...
เพื่อการแข่งขันได้ในเศรษฐกิจโลก

ไม่แน่ใจนักว่า...
ที่นี่..ประเทศไทย...เรามีการกล่าวถึงกันมากแค่ไหน...
และที่สำคัญ... “มากเพียงพอหรือไม่(?)”...
กับการเปลี่ยนแปลงเพื่อ “ชนะ” ในการแข่งขัน...
แม้จะวัดกันแค่ใน AEC ที่ชอบพูดกัน(เหลือเกิน)...
แต่ที่แน่ๆ...
มาเลเซีย(Malaysia)...กำลัง “รุก” หนักในเรื่องนี้...
ที่สำคัญอีกอย่างคือ...
มาเลเซียอยู่ในอันดับที่สูงกว่าเรา(มาก)ในเรื่อง “นวัตกรรม”



มีรายงานเกี่ยวกับอันดับด้าน “นวัตกรรม” ของประเทศทั่วโลก..
(มาจากหลายๆรายงานอ้างอิง)...
พบว่าประเทศเอเชีย Asian countries ...
กลุ่มที่ติดอันดับใน TOP 10 ...
ได้แก่...
Japan… Singapore…Hong Kong…. Taiwan…
และรวมถึง South Korea (ในบางรายงาน)
ประเทศที่ใกล้เคียงประเทศไทยมาก อย่าง Malaysia ...
อยู่ในลำดับช่วง 25-30 ...
แล้วประเทศไทยอยู่ตรงไหน??????
เราอยู่ที่ประมาณ 60 … L
(มากกว่า 2 เท่าแน่ะ เจ้าประคู้ณ!)
ส่วน Viet Nam จ่ออยู่ติดๆกับประเทศไทย แถวๆ 70...
ตามมาด้วย Indonesia และ Philippines

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า...
นวัตกรรม INNOVATION คือ หนึ่งในเรื่องสำคัญที่สุด...
ในการสร้างความสามารถในการแข่งขัน...
ในทุกระดับ....
ระดับประเทศ...ระดับองค์การ...ระดับบุคคล

ด้วยเหตุจากรายงานข้างบน...
นักคิดและนักวิจัยของมาเลเซีย...
ออกมาวิพากษ์ วิจารณ์ และเสนอแง่มุม...
ทั้งในระดับประเทศและระดับล่างๆลงมา...
ถึงความสำคัญของการเตรียมและสร้างสิ่งต่างๆ...
ที่จะอำนวยต่อการมีนวัตกรรม...

สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจและขบคิดคือ...
เขามีหลักคิดอย่างหนึ่งว่า...
“หากหยุดนิ่ง...ก็คือ การถอยหลัง” ...
แน่นอนว่า...
มีการเสนอว่าจะสร้างนวัตกรรมเพื่ออันดับที่สูงขึ้น...
ไปสู่ TOP 10 ให้ได้
(คงไม่ได้มองเพียงอันดับ แต่มองประโยชน์ที่จะได้จริงๆด้วย)
แต่สิ่งที่คิดมากกว่านั้นคือ...
หากยังคงอยู่นิ่ง...หรือแม้แต่ทำน้อยเกินไป...
คงต้องหล่นจากอันดับช่วง 25-30...ลงไปอย่างแน่นอน...
เพราะประเทศที่อยู่ลำดับล่างๆ... “คงจะ” ตีตื้นขึ้นมาในลำดับต้นๆ

คำถามก็คือ...
ประเทศไทยที่อยู่ลำดับที่ 70...
ล่างลงไปจากมาเลเซียและกลุ่มประเทศ TOP 10...
เราได้ “เตรียม” หรือ สร้าง หรือ (แม้แต่) คิด...
ที่จะใช้นวัตกรรม Innovation เพื่อการแข่งขัน...
มากเพียงพอแล้วหรือยัง?

.........................................
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ครับผม