วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

Recognition program – สิ่งหนึ่งที่ได้ผลดีในเรื่องการสร้างแรงขับในการทำงาน Motivation

Recognition program – สิ่งหนึ่งที่ได้ผลดีในเรื่องการสร้างแรงขับในการทำงาน Motivation

ทุกคนทำงานให้กับองค์กร ย่อมมีความคาดหวังหรือความต้องการที่หลากหลาย
ส่วนมากหรือน้อยแล้วแต่มุมคิดของแต่ละคน...รวมถึงประสบการณ์ที่ผ่านๆมาอีกด้วย
คนเข้าใจโลกมากขึ้น..ความคาดหวังก็น้อยลง..จะเรียกว่า “ปลง” ก็คงไม่เชิง
เรียกว่า “ไม่ติด” น่าจะดีมากกว่า...

ในการบริหารงานนั้น...
มีการวิจัยอยู่หลายเรื่องที่องค์กรทั่วโลกเอาผลงานวิจัยมาใช้กับในองค์กร
อย่างเช่นเรื่อง การรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรนานๆ หรือ Retention นี่ก็เป็นเรื่องที่คุยกันเยอะในปัจจุบัน
ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับเรื่อง การสร้างแรงขับในการทำงาน Motivation หรือ Passion
หรือแม้แต่ที่เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ คือ การสร้างความรักและผูกพันกับองค์กร Engagement ก็แทบจะเรียกว่าในปัจจุบันนี้ Engagement มีบทบาทมากกว่าเรื่อง การจัดการ “คนเก่ง” หรือ Talent

อย่างผลงานวิจัยขององค์กรที่มีชื่อเสียงมากๆอย่าง Gallup (มีองค์กรที่ใช้ผลงานของ Gallup มากมายทั่วโลก) ก็ได้สรุปสิ่งที่ทำให้พนักงานมี “แรงขับ” ในการทำงาน และ อยู่กับองค์กรได้นาน ซึ่งเรื่องหนึ่งที่สำคัญคือ...
“การให้คำชื่นชม การประกาศเกียรติ การระลึกถึงความดีความเก่ง การให้รางวัลกับคนทำดี” อีกหลายความหมาย คือ เรื่อง Recognition program นั่นเองครับ

หากจะเอาแบบง่ายๆ คือ อย่าง “การให้คำชื่นชม” นี่ก็เป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายมากสำหรับหัวหน้างาน ที่จะทำกับลูกน้อง ทั้งในระหว่างการทำงานและหลังงานเสร็จสิ้น
แต่จะเห็นว่า “ถูกละเลย” กันมาก ในการบริหารงาน...
ผมคิดว่า..หลายๆครั้ง หรือหลายคนที่ทำงานนั้น...ไม่ได้ต้องการรางวัลอะไรยิ่งใหญ่มากมาย
เพียงแค่ “คำชม” หรือ “คำขอบคุณ” ก็เพียงพอแล้ว สำหรับบางครั้งของการทำงานในองค์กร
แต่ในชีวิตจริงแล้ว เรื่องนี้ถูกละเลยอย่างมาก...



ตัวอย่างหนึ่งที่ผมชอบ และพบที่อเมริกา คือ...
การทำ Recognition program ของ McDonald’s
เขาเลือก “ผู้จัดการที่ทำงานได้ดีที่สุด ในการจัดอันดับแล้ว 1% ของอเมริกา” เอารูปและคำชื่นชมมาพิมพ์ลงใน กระดาษรองถาดสำหรับใช้ในร้านทุกร้าน...
สุดยอดครับ...
เป็นการประกาศคำชื่นชมที่ให้ทุกคนรับรู้ได้อย่างดีและถี่มากๆครับ...
ทุกครั้งที่พนักงานขายหยิบกระดาษรองถาดมาใช้รองถาดอาหาร...จะเห็นทุกครั้ง...ลองคิดว่า เด็กหยิบกระดาษกี่ครั้งในแต่ละวัน (?)
ทุกครั้งที่ถาดอาหารถูกเสิร์ฟไปที่คนกิน...คนกินจะเห็นรูปภาพและการโปรโมทการทำ Recognition program บนกระดาษรองถาด..ทุกคนที่มากิน Mc (ซึ่งส่วนมากก็น่าจะชอบแบรนด์ Mc อยู่แล้ว)
ทุกครั้งที่ใครก็ตาม(พนักงานหรือคนกิน) เอาถาดไปเททิ้งที่ถังขยะ..ก็จะต้องจับกระดาษรองถาดเพื่อเขี่ยเศษอาหารทิ้งไป...ก็ต้องเห็นสิ่งที่ทำการสื่อสารอย่างแน่นอน

ผมเองชอบวิธีการนี้นะครับ...
เหมือนเป็นความตั้งใจขององค์กรที่จะประกาศคุณความดีของคนเหล่านี้ต่อคนกิน
และยังได้เรื่องการสื่อสารไปสู่คนกินด้วยว่า..Mc เต็มไปด้วยคนที่ทำงานเพื่อลูกค้าอย่างเต็มความสามารถ
เรื่องสุดท้ายก็คือ...
ผมว่าวิธีนี้ ก็เป็นการสร้างแรงขับ Motivation ให้กับพนักงานระดับล่างๆด้วยว่า...พวกเขาต้องเติบโต และสามารถเติบโต ไปเป็นเหมือนกลุ่มคนที่ได้รับการยกย่องดัวกล่าวได้เช่นกัน
สักวันหนึ่ง... “ฉันจะเป็นคนๆนั้น”...

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

IMC - episode II: case จากการทำสื่อสารการตลาดของ Direct selling ใน USA

IMC episode II: case จากการทำสื่อสารการตลาดของ Direct selling ใน USA

ครั้งที่แล้วเขียนเรื่องหลักการทำการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ หรือ แบบครบวงจร IMC ไป
วันนี้ยังอยู่ที่อเมริกา...ได้อ่านหนังสือพิมพ์ตอนเช้า USA-TODAY
พบตัวอย่างที่น่าสมใจ...และอยากเขียนภาคสองของ IMC

เป็นการทำการสื่อสารทางการตลาดของกลุ่มธุรกิจ Direct Selling หรือ Network Marketer หรือที่บ้านเราเรียกกันง่ายๆว่า “ขายตรง” นั่นแหล่ะครับ



เขาใช้วิธีการทำการประชาสัมพันธ์ PR โดยทำเป็นรูปเล่ม จำนวน 32 หน้า โดยมีแทรกโฆษณา Advertising มาพร้อมในคราวเดียวกันเลย และใช้สอดแทรกเข้าไว้ในหนังสือพิมพ์ USA Today ซึ่งถือว่าเป็นการส่งสารไปสู่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายโดยตรงได้ด้วย Direct Marketing
ลองพลิกเข้าไปดูอีกทีว่ามีการเสนอโปรโมชั่นอะไรหรือเปล่า Promotion หรือ Campaign
โอ...โล่งอกไป..ไม่มีการให้ข้อเสนออะไร
(นึกว่าพี่จะเล่นทีเดียว เอาหมดทุกประเด็น!)

ทั้งหมดมี 32 หน้า...
ผมว่าใครได้อ่านจนจบนี่...ใจมันจะพองมากเลย... ว่า “น่าทำ” ดีเหลือเกิน!

มีหลายประเด็นที่ผมถือว่าเขาทำได้ดี เก่งมากในการสื่อสาร...ได้แก่
จั่วหัวน่าสนใจมาก...
The original Social Business Model
“ต้นแบบในการสร้างรูปแบบการทำธุรกิจทางสังคม”...
ฮือ...อ่านแล้วรู้สึกอยากค้นหา อยากรู้ว่ามันเป็นอย่างไร และรู้สึกดีมากเวลาในคำว่า “ทางสังคม” หรือ “เพื่อสังคม”...คือ ดูเป็นคนดี น่าคบหา ประมาณนั้น...

Imagine your future with the world’s #1 Direct Seller
Be your best, with the Best!
จินตนาการอนาคตของท่านสิคะ หากท่านไปกับเรา ผู้ที่เป็นอันดับหนึ่งของโลกในด้านธุรกิจขายตรง
เป็นคุณในแบบที่ดีที่สุด กับเราผู้ที่เป็นบริษัทที่ดีที่สุด
ดูโอเวอร์นะครับ...แต่ผมชอบมากๆ(ในฐานะนักการตลาดแล้วชอบสุดๆครับผม)
เมื่อคุณอยากเป็น “ที่สุด” แน่นอนครับ ต้องไปหาและอยู่กับ “ที่สุด” คุณจึงจะได้ในสิ่งที่คุณต้องการ!

ตอนนี้ยิ่งสำคัญ...เพราะมีผลต่อการ “ตัดสินใจ” อย่างมาก
คือ..
การให้เหตุผลว่า “ทำไมคุณควรออกมาเป็นเจ้านายตนเอง”
Why you should be an entrepreneur?
มีทั้งหมด 7 ข้อด้วยกัน ได้แก่
๑.     ทำงานนี้ ชีวีปลอดภัยแน่นอน
(ไม่ต้องกังวลว่าใครจะมาไล่ออกจากงาน)
๒.    ทำเงินได้มากกว่า
๓.    เป็นอิสระ
๔.    คุณสามารถค้นพบ “ศักยภาพที่ซ่อนอยู่” ของคุณ
๕.    สร้างเป็นอาชีพที่สองของชีวิต
(ตรงนี้เน้นไปที่พวกกลุ่มเกษียญ Baby Boomers)
๖.    เป็นอาชีพที่ไม่ต้องขาย แต่เป็นการแบ่งปัน
(มุ่งไปที่ประเทศที่กำลังพัฒนา ฝรั่งบอกว่าประเทศที่กำลังพัฒนามักไม่ชอบพนักงานขายและการโฆษณา แต่ชอบที่จะเชื่อเพื่อนๆหรือคนที่เคยใช้สินค้า ซึ่งก็คือลูกค้าด้วยกัน)
๗.   ชีวิตคือสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าที่คุณคิด
การทำธุรกิจตนเอง คือ การเขียนประวัติศาสตร์ของเราเอง เขียนความสำเร็จให้จารึกไว้บนโลกใบนี้

สุดท้าย คือ ตัวเลขสถิติที่น่าสนใจมากๆคือ...
นักธุรกิจขายตรงจำนวน 16.1 ล้านคนในอเมริกาที่ทำ Direct selling
กับ 28.33 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีในธุรกิจของ Direct selling
ดูแล้วธุรกิจนี้น่าจะขยายตัวไปได้อีกมากและรวดเร็วนะครับ...

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

IMC “สู้กันให้สุดๆ” ทางการสื่อสารการตลาด...

IMC “สู้กันให้สุดๆ” ทางการสื่อสารการตลาด...

พูดถึงการตลาดแล้ว...
เรื่องหนึ่ง ที่ถือว่าค่อนข้างใหม่พอสมควร..ที่นักการตลาด “ต้องรู้” ... นักธุรกิจ “ควรรู้”
คือ..เรื่อง “การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ” หรือ IMC (=Integrated Marketing Communication)

จริงๆจะว่าไปแล้ว มันก็เกี่ยวพันกันไปหมดในเรื่องการตลาด
เราเคยพูดถึง 4P ของการทำส่วนผสมทางการตลาด หรือ Marketing Mix (ได้แก่ Product, Price, Place, Promotion)
ต่อมาเราก็พูดกันถึงการตลาดอีกด้านหนึ่ง คือ 4C (ได้แก่ Customer Values, Cost, Convenience, Communication)
ซึ่งพอมาลงรายละเอียดในแง่ของ “การสื่อสารทางการตลาด” ก็มีคนทำให้มันละเอียดหรือน่าสนใจเพิ่มขึ้น จนมาเป็น IMC (=Integrated Marketing Communication) สำหรับการตลาดในปัจจุบัน

คงเป็นเพราะเหตุแบบนี้กระมัง.. ที่คนชอบพูดว่า “การตลาดนั้น ดิ้นได้
แต่ก็มีนักการตลาดบางท่านก็บอกว่า...ไม่ว่ามันจะแตกออกไปมากมายขนาดไหน มันก็ยังคงอยู่บนฐานความรู้อันเดียวกัน คือ 4P นี่ล่ะครับ...
(โดยส่วนตัวแล้ว เห็นด้วยครับผม)

IMC (=Integrated Marketing Communication) กับ 5 รูปแบบที่ต้องผสมผสานให้ลงตัวที่สุด
๑.    การโฆษณา Advertising
ตรงประเด็นนี้ก็ชัดเจน คือ การสร้างรูปแบบการโฆษณา แล้วโฆษณาสื่อสารสิ่งต่างๆไปสู่กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เช่น โฆษณาผ่านทางทีวี วิทยุ อินเทอร์เน็ต ซึ่งการโฆษณาในส่วนมากจะใช้ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงมาก จึงจำเป็นที่จะต้องประเมินว่าจะใช้การโฆษณาในช่วงใด อย่างไร และผลลัพธ์ที่ต้องความคาดหวังไว้ได้ตามเป้าหมายหรือไม่(?)

๒.    การประชาสัมพันธ์ Public Relation
เป็นการให้ข้อมูลที่มากขึ้น ละเอียดขึ้น โดยผ่านทางสื่อต่างๆที่กว้างมากกว่าการโฆษณา เช่น ลงหนังสือ หรือหนังสือพิมพ์ สร้างใบโบรชัวร์ขึ้นมาให้ข้อมูล ทำแผ่นพับ หรือ ผ่านทางอินเตอร์เน็ตก็ได้
ผมเอาตัวอย่างที่ผมพึ่งเจอ แล้วชอบ ประทับใจมากๆในการสื่อสารข้อมูลและประชาสัมพันธ์ตรงไปถึงลูกค้าอย่างแนบเนียนและแน่นอน คือ...
การให้ข้อมูลทางโภชนาการของ SUBWAY ในกระดาษเช็ดปาก ที่ไม้เพียงข้อมูลของตนเอง แต่ยังให้ข้อมูลเปรียบเทียบกับคู่แข่ง คือ McDonald และ Burger-King อีกด้วย
ต้องบอกว่า...สุดยอดครับผม!




๓.    การตลาดทางตรง Direct Marketing
เป็นการสื่อสารทางการตลาดอีกทางหนึ่งที่พบได้บ่อยมากๆ เช่น ใช้การโทรศัพท์ไปถึงตัวลูกค้าเลยโดยตรง การส่งไปรษณีย์ไปถึงบ้าน การส่งแคตาล็อกไปให้ถึงบ้าน
พบเห็นได้มากในพวกธุรกิจสินค้าทั่วไปจากห้างสรรพสินค้าและ Retails ต่างๆ
หรือพวกธนาคารและโทรศัพท์ที่โทรไปหาเราโดยตรง
ข้อควรจำ คือ... ระวังการไปรบกวนความเป็นส่วนตัวของลูกค้านะครับ... อาจเป็น “ดาบสองคม”

๔.    การทำโปรโมชั่น หรือ ส่งเสริมการตลาดและการขาย Promotion
เป็นการสื่อสารไปพร้อมๆกับการนำเสนอ “ข้อเสนอ” ที่เอื้อประโยชน์ให้กับลูกค้า
เช่น สื่อสารว่า เป็นช่วงครบรอบ ๒๐ ปีของบริษัท จึงลดราคาพิเศษสำหรับลูกค้าที่เข้ามาซื้อของในช่วงสัปดาห์เฉลิมฉลอง เป็นต้น
ตรงนี้ก็สามารถคาดหวังในแง่การขายและการตลาดเพิ่มเติมได้ด้วย เช่น คาดหวังว่า ทำตรงนี้ไปแล้ว ลูกค้าจะซื้อของมากขึ้น หรือ ซื้อของถี่ขึ้น เป็นต้น

๕.    การใช้พนักงานขาย Personal Selling
ประเด็นนี้ใช้มากขึ้นมาก จะเห็นว่าจะมีพนักงานขายที่ให้ข้อมูลสินค้าก่อนซื้อมากขึ้น ไม่ใช่พนักงานขายแบบเดิมๆที่จ้องแต่จะขายสินค้าอย่างเดียว โดยไม่มองประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ
จึงต้องมีการฝึกอบรม Training พนักงานขายมากขึ้น เพื่อสามารถสื่อสารทางการตลาด โดยเฉพาะ “ข้อความสำคัญทางการตลาด” Core Messages ไปสู่ลูกค้าคาดหวัง เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจในสินค้า แล้วตัดสินใจซื้อ รวมไปถึงคาดหวังว่าพนักงานจะให้ข้อมูลที่ถูกต้องจนทำให้ลูกค้าใช้สินค้าได้อย่างตรงวัตถุประสงค์ ได้ผลดี แล้วกลับมาซื้อซ้ำในที่สุด

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

Cultural clash or Organizational conflict ทำไงดี เมื่อสององค์กรลงเรือลำเดียวกัน

Organizational conflict” หรือ Cultural clash
เมื่อองค์กรจำเป็นที่จะต้องรวมตัวกัน ตัวอย่างเช่น จากการที่ Adidas ไปซื้อบริษัท Salomon หรือ Reebok เข้ามา ย่อมมีโอกาสที่จะเกิด “ความขัดแย้ง หรือ conflict or Clash” กันได้เป็นธรรมดาอยู่แล้ว...
ต่างคน ต่างเก่ง...
·         Adidas เก่งเรื่องการผลิต
·         อีกองค์กร เก่งเรื่องการตลาด

มุมคิดหรือวิธีการทำงานหรือแม้แต่วัฒนธรรมองค์กรที่ปลูกฝังกันมายาวนาน ย่อมแตกต่างกันอย่างมาก
ดังนั้น...
สิ่งที่ผู้บริหารต้องทำคือ...
๑. การจัดโครงสร้างขององค์กรใหม่ ให้เห็นทิศทางที่ชัดเจน Shape of direction เพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อตัวทีมผู้บริหารงานว่า สามารถจัดการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นมาได้เป็นอย่างดี
๒. การจัดการกระจายกำลังพลได้อย่างเหมาะสม และให้อำนาจในการจัดการอย่างเต็มที่ในคนที่เลือกแล้วว่าจะให้ทำงานสำคัญ Empowerment
๓. “การสร้างองค์การให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้” เป็น LO&KM organization (LO=Learning organization, KM=Knowledge Management)
LO=Learning organization เป็นการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรใหม่ (Culture) เพื่อให้ทุกคนชอบที่จะเรียนรู้และแบ่งปันความรู้ต่อกัน (Sharing)
KM=Knowledge Management คือการที่แต่ละคน/แต่ละฝ่าย สามารถทำงานได้ดี แล้วได้องค์ความรู้(Knowledge)ออกมาจากการทำงาน แล้วสามารถแบ่งปันความรู้ไปสู่หน่วยงานอื่นๆในองค์กรได้(Share) เพื่อเป้าหมายให้องค์กรสำเร็จร่วมกัน
ตัวอย่างของการทำ LO&KM ได้แก่
๑.     Jack Welch แห่ง GE
เป็นคนหนึ่งที่สามารถเป็นวัฒนธรรมองค์กรได้สำเร็จอย่างสูง นำพา GE ไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ LO และเกิดผลการดำเนินงานที่สำเร็จอย่างมากมาย
ซึ่งการทำแบบนี้ สิ่งที่ตามาที่สำคัญคือ Jack ได้สร้างผู้บริหารที่จะขึ้นมานำองค์กรอย่างมากมาย (Successors) ทำให้องค์กรสำเร็ยอย่างยาวนาน
๒.     A.G.Lafley แห่ง P&G 
เป็น CEO ที่เข้ามารับงานช่วงที่องค์กรตกต่ำมากที่สุด แม้บุคลิกของ Lafley จะเป็นคนท่ำไม่พูด ดูเงียบๆ แต่ความมุ่นมั่นของเขา ก็สามารถนำพาองค์กรกลับมายิ่งใหญ่ได้อีกครั้งหนึ่ง
สิ่งที่เขาทำ มี 2 สิ่งหลักๆ ได้แก่
-ให้พนักงานมุ่งไปที่ลูกค้าเป็นแกนหลัก Customer
-การสร้างนวัตกรรม Innovation จะต้องออกมาจากทุกคน ไม่ใช่แค่เพียงหน่วยงาน R&D โดยนวัตกรรมที่สำคัญที่สุดคือ “มาจากลูกค้า” นั่นเอง ดังนั้น ทุกคนต้องลงไปอยู่ฝใช้ชีวิตกับลูกค้า
-และสิ่งที่เขาทำเป็นรูปธรรมมากๆในการสร้างองค์กร LO ภายใน ได้แก่ การบริหารแบบ Matrix คือ ไม่มีผนังกั้นห้องทำงาน ทุกคนต้องนั่งรวมกัน เพื่อจะได้คุยกันมาขึ้น เช่น การตลาดนั่งใกล้กับบัญชี เพื่อสร้างโอกาสคุยกัน เป้าหมายเดียวกันคือ สร้างความพอใจกับลูกค้า ละที่สำคัญคือ ลดความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานได้ด้วย

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

“ส้มตำอเมริกา” Marketing strategy and Management

“ส้มตำอเมริกา” Marketing strategy and Management

Issues: ส่วนมากอาหารไทยต่างแดนก็รู้กันว่า “รสชาติไม่ได้เรื่อง”
อย่างที่อเมริกานี่ผมก็ไปกินมาหลายรัฐครับ... ดูไม่จืดจริงๆ
ทั้งเรื่อง รสชาติ “ไม่ผ่าน!
วัตถุดิบที่ปรุงก็ “ไม่ใช่!” อย่างกุ้งที่เอามาทำต้มยำกุ้งที่ร้านหนึ่งที่อินเดียน่า-อเมริกานี่ก็ แข็งเลยครับ
ดังนั้น “ความต้องการของคนกิน” โดยเฉพาะคนเอเชียนี่ ผมว่าคือ “ของจริงๆน่ะมีไหน?”

Targeting: ส่วนใหญ่แล้ว เป้าหมายหลักจะเป็นคนเอเชียเรานี่ล่ะครับ อาจจะมีบ้างที่อาจเลือก segment เป็นฝรั่งที่ชื่นชอบอาหารไทย (ซึ่งตรงนี้ผมว่า โอกาสพลาดสูง เพราะผมเชื่อว่า ฝรั่งที่เคยไปประเทศไทย แล้วกินอาหารไทย เค้ารู้ว่ารสชาติที่แท้จริงคือแบบไหน อาจจะมีบางร้านที่เจ้าของไม่ใช่คนไทย แล้วเลือก segment นี้เข้ามาด้วย)
Positioning: แน่นอนครับ ต้องทำอาหารไทย รสชาติแบบไทย ถูกปากคนเอเชียที่เป็นเป้าหมายลูกค้าหลัก (ยกเว้นบางร้านที่มีเป้าหมายกลุ่มฝรั่ง อาจเลือกที่จะปรับรสชาติบางส่วนให้ฝรั่งกินได้ เช่น ลดความเผ็ดร้อนลงมา-อันตรายมาก!)


Marketing Strategy by 5P –ของร้านอาหารไทยร้านนี้ที่ “เมืองมิเนโซต้า อเมริกา”

Product: ‘Cool!’
“สุดยอด แบบไม่ต้องมีคำบรรยายครับ” คนไทยมากินเอง...ให้เต็มร้อยครับ
Product มาเต็มแบบนี้ เรื่องอื่นๆด้อยลงหน่อยก็ไม่ต้องห่วงแล้วครับ

Price: ‘Wow!’
คิดราคาต่อจาน เหมือนจะแพง เช่น ส้มตำจานนี้ 9$ = 270 บาท แต่.......
ลองดูขนาดจานสิครับ 3 เท่าของเมืองไทย
คิดๆไปก็ได้มุมที่ว่า... 90 บาทเอง(เทียบขนาดอาหารกับเมืองไทย) แต่มากินที่อเมริกา
จึงต้องบอกว่า... “ถูกโคตรๆ!

Place: ‘Who care!’
เจ้าของร้านเป็นคนไทยและองค์ประกอบอื่นๆดีหมด ตรงนี้จึงไม่ต้องห่วงครับ
อยู่มุมไหนซอกไหน ก็มีการตามหากันจนเจอจนได้
ทำเลแกไม่ดีหรอกครับ...แต่อย่างที่บอก “เราจะตามไปกิน!

Promotion: ‘Surprise!’
เจ้าของคนไทย แม่ครัวไทยสองคน... โปรโมทตรงประเด็นนี้ก็กินขาดแล้วครับ
ประกอบกับรสชาติไทยแท้ยิ่งเป็นการ “พูดปากต่อปาก” อย่างดี (Word of mouth)
รูปที่ใช่ตกแต่งร้านก็ แบบไทยๆ เมนูแบบไทยๆ... โดดเด่นคงเอกลักษณ์แบบที่เมืองไทย
ได้ยินเสียงคุยกันแบบไทยๆ ภาษาไทย.. “ใช่แน่ๆ อาหารไทยของแท้!

People: ‘It’s Real!’
เจ้าของคนไทย และ แม่ครัวไทย “ของแท้!


ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการจัดการ ๓ ยุคสมัย - Management Theory

ทฤษฎีการจัดการ ๓ ยุคสมัย
 Management Theory

หากจะแบ่ง “ทฤษฎีการจัดการ” แบบง่ายๆ ก็คงแบ่งได้เป็น ๓ ยุคสมัย
ได้แก่...
๑.    ยุคแรกเริ่ม ที่มุ่งตัวงาน
๒.    ยุคถัดมาหรือยุคกลาง ที่มุ่งตัวคน
๓.    ยุคสมัยปัจจุบัน ที่มุ่งเรื่องหลักการ

http://www.ecotarget.com/wp-content/uploads/2011/05/Management-Planning.jpg


ยุคแรกเริ่ม ที่มุ่งตัวงาน
คนแรกที่เราๆท่านๆน่าจะรู้จักดี... เขาคือ Taylor
ผู้ซึ่งเน้นการหา “One Best Way” ในการทำงาน
มีการใช้หลักของ Incentive system เข้ามาช่วยการทำงาน
ต่อมาคือ Fayol ซึ่งก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่โด่งดังในการพัฒนา “หลักการบริหาร ๑๔ ข้อ” Administrative principle
ตัวอย่าง เช่น
Unity of Direction นโยบายต้องชัดเจน
Division of Work ใช้งานตามความสามารถ
ถัดมาอีกคนที่เราก็รู้จักดี เขาคือ Gantt ผู้พัฒนา Gantt chart ที่ช่วยให้เราทำงานแบบเห็นภาพทั้งแผนงานชัดเจนมากขึ้น
Grilbreth ก็เป็นอีกชื่อที่น่าจะมีคนรู้จักอย่างกว้างขวาง เนื่องจากได้พัฒนาการจัดการ โดยนำหลักการเคลื่อนที่เข้ามาพิจารณา Motion and Time

ยุคถัดมาหรือยุคกลาง ที่มุ่งตัวคน
คนที่เด่นชัดมากคือ Follett ที่เน้นการจัดการโดยมุ่งคน People และเน้นการเป็น Partnership
รวมไปถึง “การมอบอำนาจในการจัดการ” Empower และ “การให้กำลังใจ” Encourage ในการทำงานให้สำเร็จลุล่วง 
อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ การศึกษาที่ฮอว์เธอร์น Haw Thorne study ในเรื่องของ “ความสัมพันธ์ของคน” ซึ่งมุ่งไปที่การเพิ่มผลิตภาพ Productivity และ การสร้างหรือใช้ความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการในการทำงานร่วมกัน Informal Relationship

ยุคสมัยปัจจุบัน ที่มุ่งเรื่องหลักการ
โดยปัจจุบันมักจะไม่ค่อยใช้ชื่อคนกำกับเท่าใดนัก
ที่เด่นๆมักจะเป็น “ตัวหลักการ” เสียมากกว่า
ได้แก่ เรื่อง TQM(การจัดการคุณภาพองค์รวม), Re-engineering (การรื้อปรับระบบใหม่ทั้งหมด),
การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ (LO), การจัดการความรู้(KM)
รวมไปถึงที่ชัดเจนมากๆในปัจจุบันคือ การใช้เทคโนโลยีต่างๆเข้ามาช่วยการทำงาน หรือ Technology-driven นั่นเอง


ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ