จากบทความที่แล้ว...
ที่กล่าวถึง "ข้อจำกัด" ที่เป็นเสมือน "หินถ่วง" ชีวิต...ให้เราเดินช้า ก้าวหน้าช้ากว่าคนอื่นๆ
ครั้งนี้...
ขอนำเสนอ ข้อแนะนำในการ "ปิดจุดอ่อน" หรือ แก้ไขข้อจำกัดทั้ง 10 ประการ ดังกล่าว
เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่รู้ตนเองแล้ว และอยากปรับปรุงชีวิตให้ดีขึ้น ดังนี้
คำแนะนำ ได้แก่
1. แก้ไข - เชื่อมั่นตนเองสูง “มากเกินไป”
• ถาม/ขอข้อเสนอแนะกลับ Feedback
แต่หากคุณยังดื้อ เปล่าประโยชน์ที่จะให้ข้อมูล Feedback
• ขอบคุณคนที่ให้ข้อมูลย้อนกลับ แม้คุณอาจจะไม่เห็นด้วย (แล้วค่อยกลับมาพิจารณา)
• ทำให้แน่ใจว่า คนที่คนคุยด้วย ได้ยินที่คุณพูด (ต้องมีปฏิสัมพันธ์)
2. แก้ไข - เชื่อมั่นตัวเอง “น้อยไป”
· สร้างความกล้าหาญให้กับตนเอง
· มองไปที่จุดแข็งหรือสิ่งที่คุณทำได้ยอดเยี่ยม
· เขียนมันออกมาให้มากที่สุด (หาเพื่อนที่เชื่อใจ/รู้ใจช่วยเขียนก็ได้)
· แล้วอ่านมันทุกวัน
· สร้างความสำเร็จให้เกิดขึ้นกับตนเอง
· ดูความก้าวหน้าในสิ่งที่คุณทำทุกวัน
3. แก้ไข - รับปากทุกเรื่อง ปฏิเสธไม่เป็น
· ให้ระลึกเสมอว่า “ทุกอย่างที่ทำ จะมีเรื่องต่อเนื่องที่ส่งผลกระทบไปเรื่อยๆ”
· ดังนั้น จงระวังการให้คำมั่นสัญญาแบบง่ายๆกับคนอื่น
· อาจต้องพิจารณาเป็นเรื่องๆไป บางเรื่องอาจต้อง Say ‘No!’
· ‘No is not negative!’
4. แก้ไข - ชอบวิจารณ์ คาดหวังสูง ชอบโวยวาย
· ระวังการควาดหวังสูงกับคนอื่นๆ
· อาจใช้วิธีการถามว่า “ความคาดหวังนี้สูงไปหรือไม่?” หากใช่ต้องคุยกัน
· เริ่มมองคนอื่นๆในด้านดีมากขึ้น
· หากจะให้ Feedback ใคร ต้องดูว่าเขาต้องการหรือเปล่า(ในขณะนั้น)
· ต้องคิดเสมอว่า “ฉันไม่ได้ถูกต้องเสมอไป!”
· หากจะให้ Feedback ควรใช้น้ำเสียงที่เป็นมิตรมากขึ้น และ ให้ในเชิงบวกมากกว่า
5. แก้ไข - ชอบเก็บตัว ไม่ชอบไปไหน/คบใคร
· เริ่มที่จะสร้างอารมณ์เชื่อมต่อกับคนอื่นๆมากขึ้น
· พูดคุยกับคนนอกกลุ่มสนิทมากขึ้น
· คิดและถามคำถามที่เกี่ยวกับชีวิตคนอื่นมากขึ้น เช่น เรื่องครอบครัวของเขา
· มองเรื่อง “ความสัมพันธ์กับคน” มากกว่าเรื่องงาน เช่น หยุดพักงานสักพัก เพื่อพูดคุยกับแขก, ส่งเมล์ให้กำลังใจคนอื่นๆบ่อยขึ้น
6. แก้ไข - นิสัยผัดวันประกันพรุ่ง
· ค้นหางานที่คุณชอบเพื่อทำให้สนุกและเสร็จงานนั้นๆได้ด้วยดี (ชีวิตมีงานที่เสร็จสิ้น)
· แม้งานประจำที่ทำ ก็ลองค้นหาบางส่วนที่ทำแล้วคุณสนุกกับมัน (แต่อย่าลืมชีวิตจริงคืองานทุกส่วนสำคัญ)
· ร่วมงานกับคนที่มุ่งงานและทำงานรวดเร็ว เพื่อสร้างมุมมองใหม่ๆ (และกระตุ้นตัวเอง)
· สร้าง passion ในตัวเอง จากงานที่เลือกทำ (ค้นหางานที่ตื่นเต้น)
7. แก้ไข - รู้ไปทุกเรื่อง ชอบเด่นชอบดัง ต้องเหนือคนอื่นๆเสมอ
· จำคำนี้ไว้ “ผู้นำสร้างผู้นำ ไม่ใช่สร้างผู้ตาม”
· ในกลุ่มทำงาน ลองถอยออกมาสักก้าว ฟังความเห็นคนอื่นๆก่อน ดูว่ามีใครเห็นเหมือนคุณหรือไม่ สนับสนุนคนนั้น
· ใช้การกระตุ้นกลุ่มโดยการยิงคำถามไปยังคนต่างๆในกลุ่ม
· ระวังที่จะไปกวนคนอื่นที่กำลังพูดอยู่
· ใช้ “การถาม” มากกว่าการบอกเล่า
· ระวังวิธีคิดที่ว่า มีเพียง “ขาวกับดำ”
· ยอมรับ Feedback มากขึ้น
8. แก้ไข - ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง
· เริ่มเปิดใจรับ ความคิดใหม่ๆ
· แม้จะรู้สึกอึดอัด แต่ควร “คิดบวก” ไว้ก่อน
· พูดคำนี้บ่อยๆ “มาทดลองกันดู”
· เริ่มยอมรับแนวคิดที่แตกต่างจากคนอื่นมากขึ้น คิดว่า “มันอาจจะได้ผลดีกว่าที่คิดก็ได้”
· หากต้องรับแนวคิดใหม่ๆ อย่าด่วนปฏิเสธหรือแสดงอาการ ควรบอกว่า “ขอเวลาในการศึกษาดูก่อน”
9. แก้ไข - ขี้โมโห ไม่เก็บอารมณ์
· จำไว้ว่า “คุณอาจชนะ แต่ไม่ช้าไม่นานจะไม่มีใครเหลืออยู่” (win-lose)
· คิดถึง Win-win situation
· หยุดสักนิดก่อนพูด เมื่อมีความเห็นไม่ตรงกับคนอื่น
· หัดพูดคำว่า “ขอโทษ” “ผมพลาด” “ผมคิดว่าคุณถูก”
· เมื่อมีอารมณ์เกิดขึ้น ให้ออกไปพักสักครู่ แล้วคิดถึงผลได้ผลเสียหากแสดงออกอย่างรุนแรง
10. แก้ไข - ขึ้นกับอารมณ์ความรู้สึก ปล่อยตัวปล่อยใจไปกับอารมณ์
· คิดเอาไว้เสมอว่า สิ่งที่คุณแสดงออก อาจไม่ใช่ความคิดสร้างสรรค์ และการพูดโดยไม่คิดอาจจะกระทบความรู้สึกคนอื่นๆ
· หากคุณพบว่าคนอื่นไม่ใช้ความคิดของคุณ ให้ประเมินว่า...
· ๑. สื่อสารไม่ดี ๒. เวลาไม่ใช่ ๓. คุณคิดผิด
· หากไม่ถึงเวลาของความคิดนั้น จงพักมันก่อน
· ไปทำสิ่งที่เริ่มต้นไว้แล้ว ให้สำเร็จ
· เมื่อมีไอเดียใหม่เกิดขึ้น เขียนลงกระดาษแล้วเก็บไว้สักสัปดาห์ มาดูใหม่ว่าไอเดียนั้นยังเจ๋งอยู่หรือไม่
หวังว่าคงจะใช้ประโยชน์ได้ดี...
นำชีวิตคุณให้ก้าวเดินได้เร็วขึ้น..จนอาจถึงกันวิ่งได้อย่างตัวปลิวเลยก็เป็นได้
สำหรับผมแล้ว...
รู้ตัวเองชัดเจนขึ้น รู้ข้อจำกัด (ซึ่งค่อนข้างตรงจริงๆ หลังการทำแบบสอบถาม)
และตั้งใจแน่วแนะว่า...
“จะโยนหินถ่วงชีวิตออกไปให้ได้มากที่สุด” ครับผม.
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ
Note: Thanks the excellent concept (OPC), information and examination from Professor Flip Flippen, a Great Psychotherapist in the world, I think.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น