“Organizational conflict” หรือ Cultural clash
เมื่อองค์กรจำเป็นที่จะต้องรวมตัวกัน ตัวอย่างเช่น จากการที่ Adidas ไปซื้อบริษัท Salomon หรือ Reebok เข้ามา ย่อมมีโอกาสที่จะเกิด “ความขัดแย้ง หรือ conflict or Clash” กันได้เป็นธรรมดาอยู่แล้ว...
ต่างคน ต่างเก่ง...
· Adidas เก่งเรื่องการผลิต
· อีกองค์กร เก่งเรื่องการตลาด
มุมคิดหรือวิธีการทำงานหรือแม้แต่วัฒนธรรมองค์กรที่ปลูกฝังกันมายาวนาน ย่อมแตกต่างกันอย่างมาก
ดังนั้น...
สิ่งที่ผู้บริหารต้องทำคือ...
๑. การจัดโครงสร้างขององค์กรใหม่ ให้เห็นทิศทางที่ชัดเจน Shape of direction เพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อตัวทีมผู้บริหารงานว่า สามารถจัดการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นมาได้เป็นอย่างดี
๒. การจัดการกระจายกำลังพลได้อย่างเหมาะสม และให้อำนาจในการจัดการอย่างเต็มที่ในคนที่เลือกแล้วว่าจะให้ทำงานสำคัญ Empowerment
๓. “การสร้างองค์การให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้” เป็น LO&KM organization (LO=Learning organization, KM=Knowledge Management)
LO=Learning organization เป็นการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรใหม่ (Culture) เพื่อให้ทุกคนชอบที่จะเรียนรู้และแบ่งปันความรู้ต่อกัน (Sharing)
KM=Knowledge Management คือการที่แต่ละคน/แต่ละฝ่าย สามารถทำงานได้ดี แล้วได้องค์ความรู้(Knowledge)ออกมาจากการทำงาน แล้วสามารถแบ่งปันความรู้ไปสู่หน่วยงานอื่นๆในองค์กรได้(Share) เพื่อเป้าหมายให้องค์กรสำเร็จร่วมกัน
ตัวอย่างของการทำ LO&KM ได้แก่
๑. Jack Welch แห่ง GE
เป็นคนหนึ่งที่สามารถเป็นวัฒนธรรมองค์กรได้สำเร็จอย่างสูง นำพา GE ไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ LO และเกิดผลการดำเนินงานที่สำเร็จอย่างมากมาย
ซึ่งการทำแบบนี้ สิ่งที่ตามาที่สำคัญคือ Jack ได้สร้างผู้บริหารที่จะขึ้นมานำองค์กรอย่างมากมาย (Successors) ทำให้องค์กรสำเร็ยอย่างยาวนาน
๒. A.G.Lafley แห่ง P&G
เป็น CEO ที่เข้ามารับงานช่วงที่องค์กรตกต่ำมากที่สุด แม้บุคลิกของ Lafley จะเป็นคนท่ำไม่พูด ดูเงียบๆ แต่ความมุ่นมั่นของเขา ก็สามารถนำพาองค์กรกลับมายิ่งใหญ่ได้อีกครั้งหนึ่ง
สิ่งที่เขาทำ มี 2 สิ่งหลักๆ ได้แก่
-ให้พนักงานมุ่งไปที่ลูกค้าเป็นแกนหลัก Customer
-การสร้างนวัตกรรม Innovation จะต้องออกมาจากทุกคน ไม่ใช่แค่เพียงหน่วยงาน R&D โดยนวัตกรรมที่สำคัญที่สุดคือ “มาจากลูกค้า” นั่นเอง ดังนั้น ทุกคนต้องลงไปอยู่ฝใช้ชีวิตกับลูกค้า
-และสิ่งที่เขาทำเป็นรูปธรรมมากๆในการสร้างองค์กร LO ภายใน ได้แก่ การบริหารแบบ Matrix คือ ไม่มีผนังกั้นห้องทำงาน ทุกคนต้องนั่งรวมกัน เพื่อจะได้คุยกันมาขึ้น เช่น การตลาดนั่งใกล้กับบัญชี เพื่อสร้างโอกาสคุยกัน เป้าหมายเดียวกันคือ สร้างความพอใจกับลูกค้า ละที่สำคัญคือ ลดความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานได้ด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น