วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

BRANDZ model: รูปแบบในการประเมิน “คุณค่าของตราสินค้า” Brand Equity

BRANDZ model: Brand Equity Model
รูปแบบในการประเมิน “คุณค่าของตราสินค้า” Brand Equity

ทุกคนต่างรู้ดีว่า “คุณค่าของตราสินค้า” Brand Equity นั้น จะนำธุรกิจไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่ยงยืนและยาวนาน เพราะการทำสิ่งนี้ เปรียบเสมือนการเข้าไปนั่งอยู่ในทั้ง “สมอง” และ “จิตวิญญาณ” ของลูกค้านั่นเอง

รูปแบบในการประเมิน “คุณค่าของตราสินค้า” นั้นมีหลายรูปแบบให้ใช้
ครั้งนี้ขอเสนอรูปแบบง่ายๆตัวหนึ่ง ซึ่งก็คือ... ‘BRANDZ model’
เป็นรูปแบบที่แสดงถึง “ความแข็งแกร่งของตราสินค้า” ขององค์กร ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนด้วยกัน ในการสร้างคุณค่าตราสินค้าขึ้นมา และแต่ละขั้นตอนก็เกี่ยวเนื่องกัน ไล่จากข้างล่างขึ้นไปข้างบน ตามลำดับ
  1.      การนำเสนอ Presence
  2.      ความสำคัญ Relevance
  3.        การทำงาน Performance
  4.       ข้อได้เปรียบ Advantage
  5.       ความผูกพัน Bonding

สรุปง่ายๆได้ว่า...
             ทีมการตลาดจะต้องนำเสนอสินค้าหรือบริการต่อลูกค้าเป้าหมาย(Presence) เพื่อให้ลูกค้ารู้ถึงตราสินค้าที่มีความสำคัญของเรา(Relevance) โดยทำให้ลูกค้าเห็นว่าสินค้าของเราทำงานอย่างไร(Performance) และมีประโยชน์ต่อลูกค้าอย่างไรบ้าง มีความแตกต่างจากคู่แข่งขันอย่างไร(Advantage) ซึ่งหากเดินมาถึงจุดนี้ ก็คาดหวังต่อไปว่า ลูกค้าจะมีความผูกพันในตราสินค้าที่เรานำเสนอ(Bonding) จนทำให้เกิดการจดจำในสมองและจิตใจ ถึงขนาดที่ว่าเมื่อนึกอยากจะซื้อสินค้ากลุ่มนี้เมื่อไร ลูกค้าจะระลึกนึกขึ้นมาได้ถึงตราสินค้าของเราและหาซื้อสินค้าของเรามาใช้
อีกประเด็นที่สำคัญคือ...
รูปแบบตัวนี้ ทำให้เราประเมินลูกค้าบางคนว่าอยู่ที่จุดกึ่งกลางหรือไม่?
เพราะลูกค้าในกลุ่มตรงกลางนี่แหล่ะ ที่เป็นประเด็น เนื่องจากลูกค้ายังไปไม่ถึงจุดสุดยอดของปิระมิด ซึ่งยังไม่มีความผูกพันกับตราสินค้าที่เรานำเสนอ
ดังนั้น การบ้านคือ ทำอย่างไรจะทำให้ลูกค้าที่ตำแหน่งตรงกลางนี้ เคลื่อนขึ้นไปที่ยอดปิระมิด ไปเป็นลูกค้าที่มีความผูกพันกับตราสินค้าของเรา
นั่นแสดงว่า...
ทีมการตลาดต้องออกโปรแกรมหรือกิจกรรมที่เหมาะสม เพื่อกระตุ้นลูกค้าตรงกลางปิระมิด ให้เคลื่อนตัวขึ้นไปที่ยอดปิระมิดให้ได้ เช่น การทำการส่งเสริมการตลาดต่างๆ เป็นต้น

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น