วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

“ความเก่ง” ของผู้นำอย่าง Schultz แห่ง Starbucks


“ความเก่ง” ของผู้นำอย่าง Schultz แห่ง Starbucks

ถึงอย่างไร...
ผมก็ยังชื่นชม “ความเก่ง” หรือ ความสามารถ ของ ผู้นำ
อย่าง Schultz แห่ง Starbucks

อย่างที่พวกเราทราบกันดีว่า...
ธุรกิจกาแฟที่แตกต่างและเป็นแบบอย่างของธุรกิจรูปแบบใหม่
อย่าง Starbucks นั้น...
เกิดขึ้นแบบ “ไม่ใช่ความบังเอิญ”

เป็นความสามารถและแนวความคิดของผู้นำแถวหน้าอย่าง Schultz
ผู้ซึ่งมี background ที่แสนรันทดและยากลำบาก
ลองไปหาอ่านดูครับ...ชีวิตตอนเด็กของเขา คือ “แก่น หรือ ราก” (root) ของ Starbucks
ที่มีความโดเด่นมาถึงทุกวันนี้...ในทุกแง่มุม

สิ่งที่บ่งชี้ถึงความสามารถ หรือ “ความเก่ง” ของ Schultz นั้น
ที่ผมชอบมีอยู่ 2 เรื่องใหญ่ๆ ด้วยกัน ได้แก่
๑.     ช่วงการก่อตั้งธุรกิจใหม่ของเขาเอง (แม้ยังไม่ใช่ Starbucks)
๒.     ช่วงเวลาแห่งการ “ตัดสินใจ” ของแต่ละเหตุการณ์สำคัญของ Starbucks




ช่วงการก่อตั้งธุรกิจใหม่ของเขาเอง (แม้ยังไม่ใช่ Starbucks)
ในตอนที่เขาตั้งร้านกาแฟร้านแรกของเขาเองนั้น...
ยังไม่ใช่ Starbucks แต่เป็นชื่ออื่น
ประเด็นสำคัญคือ “ทำไม เขาจึงกล้าหาญชาญชัยขนาดนั้น”...
ที่ลาออก แล้วมาตั้งร้านกาแฟของตนเอง
“วิสัยทัศน์” หรือ Vision คือคำตอบ...
การมองเห็นอนาคตอันสดใส ของธุรกิจขายกาแฟ ในแบบที่คนอื่นๆ(แม้จะทำมานาน) มองไม่เห็น
นึกไม่ออก...
หรือ คาดไม่ถึง
เมื่อเห็น...แล้วเสนอให้... แต่เจ้าของเดิมกลับ “ไม่เข้าใจ”
สิ่งที่เขาต้องตัดสินใจ คือ ....
ออกมา “ทำเอง” เสียดีกว่า
ด้วยปณิธานที่มุ่งมั่นจสร้างความแตกต่างอย่างแท้จริง...
ในธุรกิจร้านกาแฟแบบอิตาเลี่ยนแท้ๆ...
ที่คนอเมริกันยังไม่ซาบซึ้งดีพอ

ช่วงเวลาแห่งการ “ตัดสินใจ” ของแต่ละเหตุการณ์สำคัญของ Starbucks
มีหลายเหตุการณ์ที่ดูเหมือนจะฝืนความรู้สึกของคนทั่วไป
หลายเหตุการณ์ที่มีคนวิจารณ์และไม่เห็นด้วย
แต่ Schultz มักจะตัดสินใจไปใน “ทิศทางตรงกันข้าม” เสมอๆ
เขาเป็น “คนดื้อ” ของสังคม ใช่หรือไม่?
หรือว่า คนในสังคมต่างหาก ที่ไม่กล้าออกนอกกรอบ (?)

ตัวอย่างที่ชัดเจนกรณีหนึ่ง คือ “การเพิ่มร้านกาแฟในระแวกเดียวกัน”
คนทั่วไปวิจารณ์ว่า...
“ไปไม่รอดแน่”...
“มันเป็นการสร้างร้านกาแฟที่มากินตัวเอง(แย่งยอดขายกันเอง)”
“...”
และอีกมากมาย

แต่ Schultz (ที่มองต่าง)...
กลับทำให้คำวิจารณ์ต่างๆนั้น “ผิดหมด” ...
เรียกว่า “หักปากกาเซียน” ทั้งหลายเลยก็ว่าได้

ผลประกอบการของ Starbucks กลับสูงขึ้น...
ร้านเดิมๆที่มีอยู่ก่อน...ก็ยังขายดี...
และขายดีมากขึ้นไปอีก...ด้วยซ้ำ
บริษัทเติบโต...
จนไม่มีอะไรมาหยุดการเติบโตอย่างมากเช่นนี้ได้
จนกระทั่งการเผชิญกับสิ่งภายนอก External factors
อย่าง “ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ” ....
“ความแรง” ของ Starbucks จึงเบาลงมา

..........................................................
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น