วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556

3C กับองค์กรที่สร้างนวัตกรรม - Organizational Innovation


3C กับองค์กรที่สร้างนวัตกรรม - Organizational Innovation

เมื่อพูดถึงนวัตกรรม...
ทั้งในเชิงธุรกิจ และ ไม่ใช่ธุรกิจ
การมองแค่ระดับบุคคล...คงไม่พอ!
คงจะต้องมองภาพใหญ่กล่าวนั้น คือ “ระดับองค์กร” Organization
จึงจะเกิดผลลัพธ์ที่มากขึ้นและกว้างขวางขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสำเร็จ...
หรือความสามารถในการแข่งขัน Competitiveness

Organizational Innovation โดยนิยามหรือความหมายจาก Holt(1983)
คือ...
กิจกรรมที่เกิดขึ้นจากความพยายามและการทำงานร่วม(Joint) ของบุคคลกับองค์กร
เพื่อที่จะรับเอาความรู้ใหม่(adopting New Knowledge)และสร้างความสำเร็จร่วมกัน




แต่การนวัตกรรมในระดับองค์กร...
ก็มีปัจจัยสำคัญหลายเรื่องที่ต้องใส่ใจ...
ไม่ยาก ไม่ง่าย...
เพียงแต่ต้อง “ให้ความร่วมมือ” และ “ใช้เวลา”

มีงานวิจัยหลายงานที่กล่าวถึงปัจจัยองค์ประกอบสำคัญ
จริงๆแล้วมีหลายปัจจัยองค์ประกอบ...
ณ ที่นี่ อยากจะกล่าวถึงปัจจัยหลักๆ 3 เรื่อง ...
ได้แก่ 3C ....
-Climate บรรยากาศแวดล้อม(ในองค์กร)
-Culture วัฒนธรรม(องค์กร)
-Creativity ความสร้างสรรค์(ของพนักงานในองค์กร)

ทั้ง 3 ปัจจัยนี้...รวมกันอยู่ในเรื่องของนวัตกรรมองค์กร หรือ...
พูดง่ายๆว่า 3 เรื่องที่จะสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรนวัตกรรม นั่นเอง

หากเอา 3 เรื่องมารวมกัน จะได้เป็น...
Climate เป็นตัวกระตุ้นนวัตกรรม...
ร่วมกับ Culture เป็นสิ่งที่สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม...
ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสรรค์ Creativity ของพนักงานแต่ละคน
นั่นเอง.

Climate บรรยากาศแวดล้อม(ในองค์กร)
ประเด็นสำคัญสำหรับเรื่องนี้ คือ...
“ตัวผู้นำ” องค์กร Leader หรือ Manager
ที่จะต้องทำทั้งในรูปแบบ เช่น การฝึกฝน อบรม ให้กับพนักงาน
และ ในสถานการณ์/เรื่องอื่นๆ...
เช่น สร้างสิ่งแวดล้อมให้เกิดการกระตุ้นพนักงาน ให้ได้ทดลอง
หรือ การส่งเสริม ชื่นชม คนที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เป็นต้น
(ตัวอย่างที่น่าสนใจศึกษา คือ กรณีของ Google)

Culture วัฒนธรรม(องค์กร)
เรื่องวัฒนธรรมเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา...
แน่นอนว่า ต้องเริ่มจากผู้นำ โดยเฉพาะในเรื่องนโยบาย...
วิสัยทัศน์ พันธกิจ ที่จะสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบนวัตกรรม
รวมถึงการแสดงออกที่เป็นแบบอย่างของผู้นำและฝ่ายบริหารเอง
เพื่อกระตุ้นพนักงานให้แสดงพฤติกรรมที่ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมในองค์กร
เช่น ...
วัฒนธรรมการชื่นชมคนที่กล้าทำสิ่งใหม่ๆ (กล้าเสี่ยง)
กำหนดแนวทางในการสร้างสิ่งใหม่ๆ
ตัวอย่าง...
-ให้ใช้เวลาบางส่วนของงานไปศึกษาสิ่งใหม่ๆได้ เช่น ที่ Google ปฏิบัติ
-ให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างแผนกต่างๆ(เช่น การตลาด กับ บัญชี)
เพื่อให้มีมุมมองใหม่ๆ และกระตุ้นกันและกัน
รวมถึงลดความขัดแย้งในงาน...
เช่น ที่ P&G สร้างนวัตกรรมสำเร็จมาแล้ว

Creativity ความสร้างสรรค์(ของพนักงานในองค์กร)
หากสองอย่างแรกเริ่มต้นได้ดี...
ส่วนที่สามนี้ก็คงเกิดขึ้นตามกันไป
อย่าลืมว่า...
“ความคิดสร้างสรรค์” ไม่ใช่นวัตกรรม...
แต่เป็น “ชนวน” สำคัญ...
ที่จะก่อให้เกิดนวัตกรรมได้สำเร็จ

..........................................................
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556

การประเมินผลด้วยสิ่งที่ไม่ใช่เกณฑ์ทางการเงิน หรือ Non-financial evaluation


การประเมินผลด้วยสิ่งที่ไม่ใช่เกณฑ์ทางการเงิน หรือ Non-financial evaluation

แน่นอนว่า...
การประเมินอะไรก็ตาม...ด้วย “ตัวเลข”
เช่น การประเมินด้วยรูปแบบทางการเงินในผลประกอบการ
ย่อมทำให้เกิดความชัดเจน...ง่ายที่จะเข้าใจ...
และสื่อสารกันได้ชัดเจนทั่วถึง (เข้าใจตรงกัน)



แต่การใช้เพียงตัวเลขหรือตัวเงินอย่างเดียวคงไม่สมบูรณ์เท่าใดนัก
เพราะการประกอบธุรกิจหรือแม้แต่การทำงานอะไรก็ตาม
มันมีส่วนที่เรียกว่า “กระบวนการ” หรือ process
อยู่ในระหว่างกิจกรรมต่างๆ ก่อนจะถึงผลลัพธ์
หรือ...
มันมีส่วนที่อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับการขายไปถึงตัวลูกค้าโดยตรงอยู่ในระบบเสมอ
เช่น ฝ่ายทรัพยากร ฝ่ายวิชาการ อื่นๆที่ออกแนวแบบนี้...
กลุ่มเหล่านี้ คงจะเอาตัวเงินมาวัดค่อนข้างยากสักหน่อย
หากจะมีการกำหนดให้มีการวัดหรือประเมินด้วยตัวเงินกับคนเหล่านี้...
ก็คงมีความรู้สึกตอบสนองในทางที่ไม่บวกนัก
การใช้การวัดด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ตัวเงิน จึงถือว่าจำเป็น...

หากคนที่เคยจำความโด่งดังของเครื่องมือที่ชื่อ...
Balance Scorecard (BSC) ได้...
คงจำได้ว่า...
มีการเน้นในการใช้ตัวชี้วัดประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลอยู่ 2 ด้านด้วยกัน
คือ...
ด้านการเงิน และ ด้านที่ไม่ใช่การเงิน
หากใครยังจำไม่ได้...ก็ลองศึกษารายละเอียดดู
จะได้แนวคิดที่ดีมากๆ...
และยังคงมีการใช้หรือประยุกต์ใช้ในลักษณะนี้อยู่ในปัจจุบัน

การประเมินในส่วนที่ไม่ใช่ตัวเงินนั้น...
ที่น่าสนใจและเท่าทันสถานการณ์ คือ...
การวัดที่ “นวัตกรรม” Innovation นั่นเอง
โดยมีการมองใน 2 มุม ....
ว่ากันง่ายๆก็คือ...
ทางด้านผลิตภัณฑ์ Product และ...
ทางด้านกระบวนการ Process
โดยด้านผลิตภัณฑ์ก็มักดูที่การออกผลิตภัณฑ์ใหม่สู่ตลาด
การปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของตลาด เป็นต้น
ส่วนด้านกระบวนการก็ คือ...
การวัดที่การใช้กระบวนการใหม่ๆในการผลิตสินค้าหรือบริการ
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพดีขึ้น...หรือ ลดขั้นตอนต่างๆ
โดยอาจจะวัดที่ “จำนวน” ของกระบวนการที่มีการปรับเปลี่ยนดังกล่าวว่า...
มีจำนวนเท่าใด เป็นต้น

.............................................................
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ