วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

“วงจรชีวิต” ผลิตภัณฑ์ PLC กับ “นวัตกรรม” Innovation

วงจรชีวิต ผลิตภัณฑ์ PLC กับ “นวัตกรรม” Innovation

ผลิตภัณฑ์ Product แต่ละตัว...
เปรียบได้เหมือน สิ่งที่มี “ชีวิต” ...
ที่ต้องมี “วงจร” ชีวิต หรือ Life Cycle
เรื่องนี้...
คนที่อยู่ในวงการธุรกิจทราบดี...
ที่เรามักเรียกว่า “วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์” Product Life Cycle (PLC)

หากมองภาพใหญ่ๆ กว้างๆแล้ว...
การจัดการกับ PLC นี้ เรามักจะเห็นใน 2 รูปแบบ ได้แก่...
หนึ่ง... การทำให้ PLC นั้น “ยาวขึ้น”
สอง... การทำให้ PLC นั้น “สั้นลง” หรือ “สิ้นสุดลง”




ว่ากันที่ประเด็นที่สองก่อนเลย...
การทำให้ PLC “สั้นลง” หรือ “สิ้นสุดลง” นั้น...
หากเราสังเกตดู... ก็จะพบว่า...
มักจะเกิดกับผลิตภัณฑ์ที่ “เล่นกับอารมณ์” ของคนซื้อ หรือ ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์
ตัวอย่างเช่น...
ผลิตภัณฑ์ที่เล่นเรื่อง การออกแบบ หรือ ดีไซน์  Design
อย่าง เสื้อผ้า สินค้าแฟชั่น หรือ...
สินค้าที่เอาเรื่องการออกแบบเข้าไปเป็นองค์ประกอบ
(เช่น มือถือ หรือ อุปกรณ์อิเล็คโทรนิกบางรุ่น เป็นต้น)
การทำให้วงจรชีวิต PLC สั้นลง ก็เพื่อ...
ดึงอารมณ์ของคนใช้ให้อยู่กับแบรนด์อย่างต่อเนื่อง...
และ ยอมให้ “น้องใหม่(รุ่นดีไซน์ล่าสุด)” ได้เกิดในวงการ นั่นเอง

ส่วนในประเด็นที่หนึ่ง...
การทำให้ PLC “ยาวขึ้น”....
มักพบในผลิตภัณฑ์ที่มี “ต้นทุน” สูง
เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้การ “ลงทุน” ในงานวิจัยมาก
อย่าง ยา Medicine วัคซีน Vaccine เป็นต้น
พวกนี้ ทำขึ้นมาเพื่อหวังการทำธุรกิจแบบยาวๆ...
ขายได้ในปริมาณมากๆ (Volume สูง)
ดังนั้น...
จึงต้องมี “กระบวนการ” ในการ “ยืด” วงจรชีวิตให้ยาวนานที่สุด
ซึ่งส่วนมากจะทำกันในช่วงท้ายของระยะเติบโตเต็มที่ Maturity
(ปรกติ PLC มี 4 ระยะ ได้แก่...
เริ่มต้น Introduction à เติบโต Growth à โตเต็มที่ Maturity à ถดถอย Decline)

กระบวนการที่ว่านั้น...
คือ การทำนวัตกรรม Innovation นั่นเอง
หากใช้หลักการของนวัตกรรม ก็จะโตต่อไปได้ดีและนานพอ...
แต่หารใช้หลักการอื่น เช่น “ขอแค่ให้ใหม่ขึ้นก็พอ” ...
อันนี้ก็อาจจะไม่ได้ผล
เหตุผลก็เพราะ...ตัวผลิตภัณฑ์ที่ถูกจัดการนั้น “ไม่ตอบโจทย์”...
หรือ ไม่ได้ผลอย่างที่กล่าวอ้างนั่นเอง

หากเป็นคำพูดที่เกี่ยวข้องกับ “การตลาด” Marketing แล้ว...
คงจะคุ้นๆกับคำว่า...
กลยุทธ์ “ทะเลสีคราม” Blue Ocean Strategy
ก็คงเป็นหลักการคล้ายๆกับใช้หลักนวัตกรรม...
แต่รายละเอียดอาจจะมีมากกว่า
ลองศึกษารายละเอียดปลีกย่อยดูครับ

.............................
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด

อ๋อ ครับผม

วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

“คู่หู คู่สร้าง” นวัตกรรม Radical Innovation

คู่หู คู่สร้าง นวัตกรรม Radical Innovation

อย่างที่เราทราบดี...
เก่งคนเดียวนั้นคงหายาก...
ถึงจะมี... ก็คงจะเหนื่อยไม่เบาในการสร้างความสำเร็จ
ยิ่งเป็นการสร้างนวัตกรรมแบบจริงจัง หรือ Radical innovation แล้ว
ยิ่งต้องมีองค์ประกอบที่เหมาะสม

บริษัทที่ประสบความสำเร็จด้านนวัตกรรม...
มักกล่าวถึงองค์ประกอบสำคัญอยู่ 2 ส่วน
เรียกว่าเป็น “คู่หู คู่สร้าง” ความสำเร็จทางนวัตกรรม
ได้แก่...
หนึ่ง... คนที่มีแนวคิดดีๆ (Good Ideas generator)
สอง... คนที่เห็นโอกาส (Opportunity Recognizer)

คนที่มีแนวคิดดีๆ (Good Ideas generator)
คนที่มีแนวคิด... มีมากมาย...
แต่คนที่มีแนวคิด “ดีๆ” นี่สิ...หายาก
แล้วต้องเป็นแบบไหน...ที่เรียกว่า “ดีๆ” ???
แนวคิดดีๆนั้น...
สำหรับทางนวัตกรรมแล้ว
ต้องเป็นแนวคิด “ใหม่”...
ซึ่งหมายถึง...ต้องสร้างความแตกต่างจากสิ่งเดิมๆ
จะเรียกกันว่าเป็นแนวคิด “นอกกรอบ” ก็คงได้
หรือ out-of-the-box idea
ต้องเป็นแนวคิด “ใหญ่” ....
ซึ่งหมายถึง...ต้องสร้างสิ่งที่ได้ประโยชน์อย่างมาก
ต่อสังคมส่วนมาก

การจะได้มาในสิ่งเหล่านี้...
มันต้องมี “กระบวนการ”
เช่น องค์กรต้องมีแนวนโยบายที่จะสนับสนุนการสร้างนวัตกรรม
หรือ องค์กรต้องกำหนดทิศทางให้พนักงานร่วมกันคิด...
เพื่อเปลี่ยนแปลงองค์กรจากเดิม
เป็นต้น

คนที่เห็นโอกาส (Opportunity Recognizer)
คือคนที่มองภาพได้กว้าง
มองเห็นถึงหลายแง่มุม เช่น...
มุมมองทางด้านการตลาด ด้านสังคม เป็นต้น
และแน่นอนว่า...ต้องมองเห็นภาพองค์กรภายในอย่างชัดเจน
เป็นคนที่ “พร้อม” ที่จะให้การสนับสนุน “แนวคิดดีๆ” ...
เพื่อให้เกิดสำเร็จเป็นรูปธรรมได้จริง
บางครั้ง คนกลุ่มนี้คือ ผู้บริหารระดับกลาง หรือ ระดับสูง
ที่มีความพร้อมในด้านตำแหน่งและอำนาจการตัดสินใจ
บางครั้ง ก็เป็นนักการตลาด หรือ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ...
ที่มองเห็นและสามารถประเมิน “ศักยภาพ” ของตลาดได้ดี
เมื่อเข้าใจตลาด...
ก็ย่อมง่ายกว่า ที่จะวาง “แนวคิดดีๆ” ให้สัมพันธ์ไปกับ...
“ความต้องการ” ของตลาด

....................


หนังเรื่องหนึ่งที่อาจจะสอดคล้องกับประเด็นนี้...
หนังไทยแท้ๆ อย่างเรื่อง “โหมโรง” นี่ใช่เลย
“สอน” ซึ่งเป็นพระเอกของเรื่อง...
มีแนวคิดดีๆ...ในการเล่นระนาดเอก “รูปแบบใหม่”
ที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร
เมื่อมาเจอกับ “สมเด็จฯ” ท่าน....
ฟังครั้งแรกก็รู้เลยว่า... “ดังแน่” !
เพราะการเล่นที่ไม่เหมือนใคร...
ท่านใช้คำว่า “ทางระนาดแหกคอก...แปลกดี...ข้าชอบ”
เท่านั้นล่ะครับ...
“คู่หู คู่สร้าง” นวัตกรรมที่แท้จริงก็นำพา “แนวคิดดีๆ”
ไปสู่ความสำเร็จอย่างสูงสุด

.............................
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ครับผม