วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อะไร คือ “ตัวขับเคลื่อน” สำคัญของนวัตกรรม - Drivers of Innovation?

อะไร คือ “ตัวขับเคลื่อน” สำคัญของนวัตกรรม - Drivers of Innovation?

รายงานล่าสุดฉบับหนึ่งทางด้านนวัตกรรมที่น่าสนใจมากๆ...
คือ รายงานที่สำรวจองค์การในมาเลเซีย Malaysia
Malaysia Innovation Climate Survey 2009
ซึ่งทำร่วมกับ Microsoft Innovation Centre
(เอ๊ะ...ทำไมที่ประเทศไทยไม่มี ?????)
ถึงแม้ไม่ได้ทำในประเทศไทยโดยตรง(ซึ่งจริงๆแล้วควรจะมี)
คิดว่า “ผล” ที่ออกมาน่าจะประยุกต์ใช้ได้บ้าง...
และเชื่อว่ามันใช้ได้จริงๆด้วย



 ปัจจัยที่ขับเคลื่อน หรือ Drivers ของนวัตกรรม...
จากรายงานนี้...
3 อับดับแรก ได้แก่...
ลูกค้า หรือ ผู้ใช้ Customers
เทคโนโลยี Technology
และ คู่แข่งขัน หรือ การแข่งขัน Competitors
จะว่าไปแล้ว...
ดูให้ดีอีกที...มันเป็น “ปัจจัยภายนอก” External Factors ทั้งสามประเด็น
กล่าวอย่างนี้...
ยังไงก็คงทิ้งประเด็นที่เป็นปัจจัยภายในไม่ได้อยู่ดี
โดยเฉพาะประเด็นทางด้าน “บุคลากร” ขององค์การ...
ที่หมายถึงทั้ง “ตัวผู้นำ” เอง และ “พนักงาน”
(ลองนึกถึง ในกรณีของ Google เป็นตัวอย่าง)

ในประเด็นของ “เทคโนโลยี” แล้วคงอธิบายได้ไม่ยากนัก
ประเด็นที่น่าสนใจกว่า คือ...
ประเด็นด้าน “ลูกค้า” และ “คู่แข่ง”

ในประเด็นของ “ลูกค้า” หรือ Customers นั้น...
มีข้อสรุปง่ายๆว่า...
มันเป็นเรื่องของ Market driven...
หรือ... การทำธุรกิจแบบ “มุ่งตลาด” นั่นเอง
ดังนั้น...จึงมีข้อเสนอว่า...
ในเชิงนโยบายหรือการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม...
ต่อการสร้างนวัตกรรมนั้น...
ควร “กระตุ้น” ให้ผู้ใช้หรือลูกค้า...
มีความต้องการ Demand นวัตกรรมมากขึ้น...
และ มีความเชี่ยวชาญในการใช้นวัตกรรมมากขึ้นด้วย
(ในระดับชาติ ก็คงต้องเป็นรัฐบาลที่ต้องกำหนดนโยบายดังกล่าว)

ในประเด็นของ “คู่แข่ง” ในเกมส์การแข่งขันทางธุรกิจ
ข้อเสนอ คือ...
ต้องมีสภาพการแข่งขันที่มากพอ Strong Competition
ที่จะกระตุ้นให้แต่ละองค์การ “พยายาม” สร้างนวัตกรรม...
เพื่อให้สามารถแข่งขันได้กับรายอื่นๆในธุรกิจ

จะว่าไปแล้ว...
ผลของรายงานนี้...
กำลังจะบอกว่า...
“ปัจจัยภานนอก” (โดยเฉพาะในสามประเด็นข้างต้น)
คือ “ตัวกำหนด” หรือ ตัวขับเคลื่อน...
ที่ไม่เพียงแต่เรื่องนวัตกรรมเท่านั้น...
แต่คงเป็นสิ่งที่สำคัญในการ “ขับเคลื่อน” ปัจจัยภายในขององค์การด้วยเช่นกัน
และดูเหมือนจะเป็น “องค์ประกอบร่วม” ที่สำคัญมากทีเดียว

.........................................
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ครับผม


การหยุดนิ่ง ก็คือ “การถอยหลัง” นั่นเอง – ในมุมของนวัตกรรม Innovation

การหยุดนิ่ง ก็คือ “การถอยหลัง” นั่นเอง – ในมุมของนวัตกรรม Innovation

คิดว่ามีนักคิดนักวิเคราะห์ รวมถึงนักวิจัย...
ของแต่ละประเทศ...
มองประเทศของตนเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆทั่วโลก...
แล้วสรุปออกมาว่า..
อะไรคือจุดแข็งของประเทศตน...เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ...
และที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า...ในปัจจุบัน...
มีการกล่าวถึง “นวัตกรรม” ของแต่ละประเทศ...
เพื่อการแข่งขันได้ในเศรษฐกิจโลก

ไม่แน่ใจนักว่า...
ที่นี่..ประเทศไทย...เรามีการกล่าวถึงกันมากแค่ไหน...
และที่สำคัญ... “มากเพียงพอหรือไม่(?)”...
กับการเปลี่ยนแปลงเพื่อ “ชนะ” ในการแข่งขัน...
แม้จะวัดกันแค่ใน AEC ที่ชอบพูดกัน(เหลือเกิน)...
แต่ที่แน่ๆ...
มาเลเซีย(Malaysia)...กำลัง “รุก” หนักในเรื่องนี้...
ที่สำคัญอีกอย่างคือ...
มาเลเซียอยู่ในอันดับที่สูงกว่าเรา(มาก)ในเรื่อง “นวัตกรรม”



มีรายงานเกี่ยวกับอันดับด้าน “นวัตกรรม” ของประเทศทั่วโลก..
(มาจากหลายๆรายงานอ้างอิง)...
พบว่าประเทศเอเชีย Asian countries ...
กลุ่มที่ติดอันดับใน TOP 10 ...
ได้แก่...
Japan… Singapore…Hong Kong…. Taiwan…
และรวมถึง South Korea (ในบางรายงาน)
ประเทศที่ใกล้เคียงประเทศไทยมาก อย่าง Malaysia ...
อยู่ในลำดับช่วง 25-30 ...
แล้วประเทศไทยอยู่ตรงไหน??????
เราอยู่ที่ประมาณ 60 … L
(มากกว่า 2 เท่าแน่ะ เจ้าประคู้ณ!)
ส่วน Viet Nam จ่ออยู่ติดๆกับประเทศไทย แถวๆ 70...
ตามมาด้วย Indonesia และ Philippines

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า...
นวัตกรรม INNOVATION คือ หนึ่งในเรื่องสำคัญที่สุด...
ในการสร้างความสามารถในการแข่งขัน...
ในทุกระดับ....
ระดับประเทศ...ระดับองค์การ...ระดับบุคคล

ด้วยเหตุจากรายงานข้างบน...
นักคิดและนักวิจัยของมาเลเซีย...
ออกมาวิพากษ์ วิจารณ์ และเสนอแง่มุม...
ทั้งในระดับประเทศและระดับล่างๆลงมา...
ถึงความสำคัญของการเตรียมและสร้างสิ่งต่างๆ...
ที่จะอำนวยต่อการมีนวัตกรรม...

สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจและขบคิดคือ...
เขามีหลักคิดอย่างหนึ่งว่า...
“หากหยุดนิ่ง...ก็คือ การถอยหลัง” ...
แน่นอนว่า...
มีการเสนอว่าจะสร้างนวัตกรรมเพื่ออันดับที่สูงขึ้น...
ไปสู่ TOP 10 ให้ได้
(คงไม่ได้มองเพียงอันดับ แต่มองประโยชน์ที่จะได้จริงๆด้วย)
แต่สิ่งที่คิดมากกว่านั้นคือ...
หากยังคงอยู่นิ่ง...หรือแม้แต่ทำน้อยเกินไป...
คงต้องหล่นจากอันดับช่วง 25-30...ลงไปอย่างแน่นอน...
เพราะประเทศที่อยู่ลำดับล่างๆ... “คงจะ” ตีตื้นขึ้นมาในลำดับต้นๆ

คำถามก็คือ...
ประเทศไทยที่อยู่ลำดับที่ 70...
ล่างลงไปจากมาเลเซียและกลุ่มประเทศ TOP 10...
เราได้ “เตรียม” หรือ สร้าง หรือ (แม้แต่) คิด...
ที่จะใช้นวัตกรรม Innovation เพื่อการแข่งขัน...
มากเพียงพอแล้วหรือยัง?

.........................................
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ครับผม