วิวัฒนาการของ คำว่า “นวัตกรรม”
– Innovation meaning
หากใครได้ศึกษาเรื่องของ “นวัตกรรม” ในช่วงก่อนๆ
คงจะรู้ว่า...
นวัตกรรม หมายถึง “กระบวนการ” ของการทำสิ่งใหม่
แต่มาปัจจุบัน...
จะเห็นว่า...การให้ความหมายของคำนี้...
“เปลี่ยนไป”
ในงานวิจัยปัจจุบัน...
หรือ แม้แต่การสนทนากันทั่วไปในชีวิตประจำวันที่ท่านประสบอยู่
ความหมายของนวัตกรรมก็มีการใช้กันหลายรูปแบบ..หลายความหมาย
มีการให้ความหมายของ คำว่า “นวัตกรรม” แบบกว้างขึ้นไปอีก...
ไม่เพียงแค่กระบวนการแบบอดีตแล้ว...
ไม่ว่าจะฝรั่งหรือไทยเรา...
ดูเหมือนความหมายของนวัตกรรม จะครอบคลุมทั้ง
“กระบวนการ” หรือ...
“วัตถุ” (Object) บางอย่างที่เป็นสิ่งใหม่ไปแล้วด้วย
บางครั้งเราจะพบว่า...
นวัตกรรมยังใช้มุมมองด้าน “ผู้บริโภค” ในการให้ความหมายเสียด้วยซ้ำ
โดยหมายถึง...
“สิ่งที่ผู้บริโภคมองว่าใหม่” (เอากันเข้าไป)
อย่างนี้...
เวลาจะไปนำเสนอ หรือ สนทนากับคนอื่น...
เราอาจจะต้องคุยกันก่อนว่า...
“เรา” กำลังจะคุยนวัตกรรมในลักษณะไหน(Context)
เพื่อจะได้เข้าใจตรงกัน
มิฉะนั้นแล้ว...
ปัญหาเรื่อง “การสื่อสาร” (Communication)
ที่ว่าเป็นปัญหาใหญ่ของสังคม
ก็คงจะ “ใหญ่” มากขึ้นอีกเป็นแน่แท้
นี่จะว่าไปแล้ว...
หากไปคุยกับคนอายุสัก 50
กว่าๆขึ้นไป...
คงจะสนุกน่าดู...
เพราะท่านทั้งหลาย(ที่อาจจะไม่ค่อยได้ติดตามกระแสที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วในปัจจุบัน)
อาจจะไม่รู้จักคำว่านวัตกรรมด้วยซ้ำ...
แต่หากบอกท่านว่า “นวกรรม” แล้ว...
ท่านจะร้อง “อ๋อ” ขึ้นมาได้
ทำไมน่ะหรือ...
ก็เพราะสมัยท่านนั้น...มีการใช้คำว่านวกรรมนั่นสิครับ...
ก็คงเหมือนยุคแรกของคำว่า “โลกาภิวัฒน์”...
(Globalization)
ท่านที่อายุมากหน่อย (รวมผู้เขียนด้วย)
คงจำได้ว่า...
เราเริ่มใช้คำว่า “โลกานุวัฒน์” ...
มาก่อนคำนี้นั่นเอง
...............................
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น