วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555

คำแนะนำสำหรับ “ธุรกิจใหม่” New Business จาก “แจ๊ค” Jack Welch...ตอนที่ 2

คำแนะนำสำหรับ “ธุรกิจใหม่” New Business จาก “แจ๊ค” Jack Welch...ตอนที่ 2

Jack Welch ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ และ นำการสร้าง “องค์กรแห่งการเรียนรู้” Learning organization
และเป็น CEO คนที่ 8 ของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง GE ของอเมริกา
ได้ให้คำแนะนำในการสร้างความสำเร็จของธุรกิจใหม่ไว้อย่างน่าสนใจ
โดยครั้งที่แล้ว...
ได้กล่าวถึง... หลักการที่ 1
คือ... การเริ่มต้นด้วยการ “ทุ่มเทอย่างจริงจัง” และเลือกใช้คนที่เก่งที่สุดในการจัดการบริหาร




ครั้งนี้ขอกล่าวเพิ่มเติม(จากคำแนะนำของ Jack) อีก 2 หลักการ ได้แก่...



หลักการที่ 2 คือ ต้องสื่อสารออกไปให้ “เด่นและดัง” สุดๆ...
แน่นอนว่า...การเริ่มธุรกิจใหม่นั้น ยังมีคนหลายคนที่ขาดความเชื่อมั่น(ว่าจะไปรอดหรือไม่?)
ซึ่งบางคนก็สำคัญต่อการมอบ “งบประมาณ” ในการทุ่มทุนสร้างกับธุรกิจใหม่นี้


ดังนั้น...
ผู้บริหารและผู้รับผิดชอบธุรกิจใหม่ จะต้อง “สื่อสารให้ชัดเจน”
และต้อง “โน้มน้าว” ผู้หลักผู้ใหญ่ให้เชื่อและทุ่มเทกับสิ่งนี้ร่วมกัน


ในเชิงเทคนิคแล้ว...การประชาสัมพันธ์ต่างๆ อาจจำเป็นต้องใช้ “หน้าม้า” ในการสร้างความเชื่อถือ
การสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ ต้องทำอย่างจริงจัง
และหวังผลสัมฤทธิ์ให้สูง

หลักการที่ 3 คือ... ต้อง “มอบอำนาจ” ในการจัดการผู้จัดการธุรกิจใหม่นี้ “มากพอ”


อาจจะบอกเป็นสูตรตายตัวไม่ได้ว่าต้องให้อำนาจ หรือ ให้อิสระในการบริหารจัดการ มากน้อยเพียงใด(?)
ส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับวิธีการบริหารของผู้นำเบื้องบน Leadership


การเฝ้าดูห่างๆ...คอยให้กำลังใจ และสนับสนุน “ไม่มากไม่น้อย”
โดยต้องจับตาดูอย่างต่อเนื่อง...ของผู้บริหารระดับสูงนั้นก็มีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจใหม่นี้
และ ผู้จัดการธุรกิจใหม่เอง...ก็ต้องเข้าใจว่า “ความท้าทาย” มันมีอยู่ตลอดเวลา


ในการสร้างความสำเร็จของธุรกิจใหม่...
ผู้บริหารระดับสูง อาจจะไม่ได้สนับสนุนอย่างมากพอที่ควรจะเป็น...


แต่ผู้จัดการธุรกิจใหม่นี้ก็ต้อง “พิสูจน์ตัวเอง” ให้เป็นที่ประจักษ์ว่า...
“มันสำเร็จได้จริงๆ”...
หรือ...
สุดท้ายแล้ว หากธุรกิจใหม่เกิด “โชคร้าย”...ไม่สำเร็จตามที่คาดหวัง
ผู้จัดการธุรกิจใหม่...ก็ต้อง “ยอมรับความจริง” มันไม่สำเร็จ


แต่หากธุรกิจใหม่นี้ “ประสบผลสำเร็จ” ได้จริง...ตามคาดหวัง...
ความสำเร็จที่ได้รับ ถือว่า “ยิ่งใหญ่” มากทีเดียว...
สมกับความเชื่อมั่น..ศรัทธา...การต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆนานา


มันเป็น “ความภูมิใจ” ของผู้ที่ชอบความท้าทาย และ คนที่มีความสามารถ(เก่ง)อย่างแท้จริงนั่นเอง

............
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2555

คำแนะนำสำหรับ “ธุรกิจใหม่” New Business จาก “แจ๊ค” Jack Welch...ตอนที่ 1

คำแนะนำสำหรับ “ธุรกิจใหม่” New Business จาก “แจ๊ค” Jack Welch...ตอนที่ 1

ในวงการธุรกิจ หรือ การจัดการบริหาร...
หากใครไม่รู้จัก “แจ๊ค เวลช” หรือ Jack Welch แล้วล่ะก็...
ต้องบอกว่า.. “เชย...อย่างแรง!”

Jack Welch คือ CEO คนที่ 8 ของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง GE ของอเมริกา
ผู้สร้างความ “มั่งคั่ง” ให้กับ GE อย่างมากมาย
และ เป็นคนแรกๆที่สร้าง “องค์กรแห่งการเรียนรู้” Learning organization
(ปัจจุบันเขามีมหาวิทยาลัยด้วยนะ ลองหารายละเอียดใน internet ดูครับ)

ในด้านการสร้างความเติบโตให้กับองค์กร โดยการ “สร้างธุรกิจใหม่” นั้น
แจ๊คก็ถือว่าเป็นโมเดลที่ดี...


บางธุรกิจเขา “ต้องดิ้น” เพื่อให้ผู้หลักผู้ใหญ่ยอมรับ...
แล้วพิสูจน์สิ่งนั้น จนสร้างความสำเร็จได้อย่างยาวนาน
เขามีแนวคิดอย่างไรนั้น ลองมาติดตามดูกันครับ...





หลักการที่ 1 คือ... เริ่มต้นด้วยการ “ทุ่มทุนสร้าง”...ทุ่มเทให้มาก ใช้มือดีที่สุด(คนเก่งที่สุด)



หากองค์กรต้องการความสำเร็จ...
องค์กรต้องทุ่มเทตั้นแต่เริ่มงาน หรือ เริ่มก่อร่างสร้างธุรกิจใหม่นี้



และต้องใช้ “คนที่เก่งที่สุด” ที่ถือว่ามือดีที่สุดในการทำงาน
คนๆนั้น ต้องกระตือรือร้นมากที่สุดที่จะสร้างธุรกิจใหม่นี้ให้เกิดความสำเร็จ

*เรื่องนี้ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ...
เคยเจอองค์กรที่จะสร้างแนวทางธุรกิจใหม่ และคาดหวังความสำเร็จอย่างล้นเหลือ...
แต่พบว่า...
ไปรับคนมาทำงานนี้โดยที่ยังไม่แน่ใจเลยว่า เขาคือ “คนที่ใช่” หรือไม่(?)
และยังพบว่า คนที่อยู่ในส่วนงานใหม่นี้...
ขาดความต้องการในความสำเร็จอย่างแท้จริงของส่วนงานใหม่



แน่นอนว่า...ตอนคุยกันนั้น คงไม่มีใครบอกว่าตนเองไม่ชอบที่จะทำงานนี้...มาทำงานนี้ก็แค่ได้เงินเดือนมากๆ



สิ่งสำคัญคือ...คนที่เป็นผู้นำ จะรู้ได้ไงว่า...
“ใครคือตัวจริง” ใครคือคนที่ใช่..และคนนั้นมีความกระตือรือร้นมากพอที่จะผลักดันและต่อสู้กับอุปสรรคเพื่อความสำเร็จของธุรกิจใหม่



ขนาด Jack มือระดับ CEO ตัวจริง ยังต้องวิ่งเพื่อจะฝ่าอุปสรรคเพื่อธุรกิจใหม่เลยครับ


!!!!!

...............ครั้งหน้าพบกันในตอนที่ 2 ครับผม............. ******

.....
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

“การมอบหมายงาน” Delegation... ทักษะที่สำคัญของ “ผู้จัดการคนเก่ง”

“การมอบหมายงาน” Delegation... ทักษะที่สำคัญของ “ผู้จัดการคนเก่ง”

นอกจากการวางแผนกลยุทธ์...ที่จำเป็นต้องทำให้ดีและถูกต้องแล้วนั้น
การนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ก็เป็นเรื่องสำคัญ “ไม่แพ้กัน”
นั่นก็คือ Implementation

หากลงรายละเอียดในเรื่อง “การปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์”
เรามักจะได้ยินคำว่า “มอบหมายงาน” หรือ Delegation
ระหว่าง “เจ้านาย” กับลูกน้อง





“เจ้านาย” ในที่นี้ หมายถึง “ผู้จัดการ” Manager เป็นสำคัญ
เพราะมีหน้าที่โดยตรงในการทำให้แผนกลยุทธ์สำเร็จตามเป้าหมาย
ซึ่งแน่นอนว่า เจ้านายคนเดียว คงทำเองได้ไม่สำเร็จ
การที่ต้องมอบหมายงานให้ลูกน้องไปทำจึง “จำเป็น” และ “ต้องทำให้ถูกต้อง”

ในทางปฏิบัติแล้ว...
เรามักได้ยินบ่อยๆว่า “ถูกโยนงาน” (งานถูกโยนมาให้ลูกน้อง)...
ซึ่งผมว่ามีทั้ง “จริงและไม่จริง”



ลูกน้องก็มีหลายแบบ...ดังนั้น คงต้องดูในรายละเอียดว่า การมอบหมายงานดังกล่าว
มี “ขั้นตอน” ที่ถูกต้องแล้วหรือไม่ (?) ... เป็นต้น



สิ่งที่จะบอกได้ว่าเป็นการโยนงานใส่ลูกน้องจริงๆนั้น
จะต้องมีภาพของการขาดการตามงาน Follow หรือ การสอนงาน Coach ที่ดีพอ



เพราะว่ากันตามจริงแล้ว...
การมอบหมายงานนั้น...เจ้านายก็ยังต้องเป็นคน “รับผิดชอบงาน” ทั้งหมด
ยังมีอำนาจและหน้าที่ที่จะต้องทำงานให้ “สัมฤทธิ์ผล” Result-focus
ดังนั้น...เจ้านายต้องมีการตามงาน ควบคุมงาน สอนงาน ประชุมติดตามงานเป็นระยะๆ เป็นต้น

ซึ่งตรงประเด็นที่กล่าวมานั้น...
ต้องทำอย่างเหมาะสม...เพื่อไม่ให้เกิดภาพของการ “จับผิด” ในการตามงาน
(ซึ่งลูกน้องบางคน มักจะ “ดักคอ” เจ้านายไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว)
ว่ากันตามหลักการแล้ว...
การมอบหมายงานลักษณะนี้...ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่จะเพื่อความสัมพันธ์
และ “ความเชื่อถือ” Trust ระหว่างเจ้านายกับลูกน้องได้ด้วยเหมือนกัน

สิ่งหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกับการมอบหมายงาน คือ...
เจ้านาย หรือ ผู้จัดการ จะต้องมีสัดส่นของเวลาในการจัดการวางแผนงานและควบคุมงานมากขึ้น
และมากกว่าการทำงานด้วยตัวเอง



ก็แน่นอนว่า...ท่านคือผู้จัดการ ไม่ใช่พนักงาน “กองหน้า” แบบเดิมแล้ว
ทักษะที่ต้องมีและใช้มากขึ้นก็คือ “ทักษะการบริหารจัดการบุคคล” นั่นเอง
ไม่ว่าจะเป็น...
การมอบหมายงาน และควบคุมงานให้สำเร็จ(ผ่านคนอื่นๆ)
การสอนงาน
การวางแผนงานและกลยุทธ์
การประชุมในระดับการจัดการองค์กร Management meeting
เป็นต้น

สุดท้าย ขอทิ้งประเด็นไว้ว่า...
อย่าสับสนระหว่าง “การมอบหมายงาน” Delegation
กับ “การมอบอำนาจ” Empowerment
เพราะสองเรื่องนี่ไม่เหมือนกัน

............................
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

ฝ่ายบุคคลที่สร้างความสำเร็จ...จะร่วมวางแผนในกลยุทธ์ตั้งแต่เริ่มต้น HRD


ฝ่ายบุคคลที่สร้างความสำเร็จ...จะร่วมวางแผนในกลยุทธ์ตั้งแต่เริ่มต้น HRD

ธุรกิจนั้น...
ขาดไม่ได้เลยก็คือ “ฝ่ายจัดการบุคคล”
หรือ ในสมัยใหม่ มักจะเรียกว่า “ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์” หรือ HR (Human Resource)

อันนี้ก็น่าสนใจว่า...
องค์กรบางองค์กร อาจมี “ฝ่ายบุคคล”...
แต่บางองค์กรจะมี “ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์”
ดูได้จาก “งานที่ทำ” หรือ ผลลัพธ์ของงานก็น่าจะเป็นคำตอบที่ดีว่า...
องค์กรนั้นๆ ควรตั้งชื่อฝ่ายนี้ว่าอย่างไร (?)



ในการจัดการเชิงกลยุทธ์นั้น...
ว่ากันตามจริงแล้ว...องค์กรต้องมีฝ่ายทรัพยากรมนุษย์...
ที่ต้องมีบทบาทหน้าที่ในการ “ร่วมวางแผนกลยุทธ์” ตั้งแต่เริ่มต้น
เพราะว่าธุรกิจจะดำเนินงานไปอย่างราบรื่นจนถึงความสำเร็จได้นั้น...
ก็ขึ้นอยู่กับ “คนทำงาน” นั่นเอง...

แม้แผนกลยุทธ์ส่วนอื่นๆอาจดู “เข้าท่า” ...
แต่หากการวางแผนด้าน “กำลังคน” รวมถึงบทบาทหน้าที่งาน “ไม่เข่าท่า” แล้ว...
ก็คงต้องพยากรณ์กันได้เลยตั้งแต่ต้นว่า...

ไม่สำเร็จ หรือ ไม่ได้ตามเป้าหมายดั่งที่วางแผนไว้

มีคำสองคำที่แตกต่างกัน คือ...
HRM หรือ Human Resource Management
และ...
HRD หรือ Human Resource Development
ดูว่าคำแปลก็คงพอรู้ว่า “น้ำหนัก” ของงานจะแตกต่างกัน

HRD ก็จะต้องทำงานเชิงรุก (Proactive) มากกว่า...
ซึ่งก็อย่างที่กล่าวมาข้างต้น นั่นคือ...ต้องเข้าไปมีส่วนในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ “ตั้งแต่ต้นทาง”


ส่วน HRM ก็น้ำหนักของงานก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบธุรกิจ...
ในการจัดการบริหารคนในองค์กร เช่น...
การรับคนเข้าทำงาน Interview
การดูแลในส่วนรายละเอียดของงานแต่ละงาน JD
การจัดการด้านเงินเดือน
เป็นต้น

..............
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ