วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

หลักในการ “เรียนรู้” Learning – มุมทางฝั่ง “ผู้เรียน” บ้าง


หลักในการ “เรียนรู้” Learning – มุมทางฝั่ง “ผู้เรียน” บ้าง

เมื่อกล่าวกันในเรื่อง “การสอน” ไปแล้ว...
คงต้องว่ากันในอีกมุม...คือ มุมของ “การเรียน”
ซึ่ง “การเรียนรู้” หรือ Learning นั้น มันก็มีหลักเหมือนกัน...
โดยไม่ว่าจะเป็นผู้สอนหรือผู้เรียน...ก็ควรต้องรู้หลัก “การเรียนรู้” นี้...
เพื่อให้กระบวนการ “สร้างคน” รุ่นใหม่ เกิดสัมฤทธิ์ผล

ในเรื่อง “การเรียนรู้” นี้ ผมขอยกหลักที่ผมค่อนข้างชอบและเห็นด้วยมากล่าวกัน
โดยเป็นหลักของ Les Donaldson & Edward E. Scannell
มีหลักการเรียนรู้ 5 ข้อด้วยกัน ได้แก่
1.    การเรียนรู้ต้องเริ่มที่ “ตัวผู้เรียนเอง”
2.    ผู้เรียนแต่ละคน มีความสามารถเรียนรู้ “ไม่เท่ากัน”
3.    การเรียนรู้ เป็นกระบวนการ “ต่อเนื่อง”
4.    การเรียนรู้ เกิดได้โดยการกระตุ้นทางประสาทสัมผัส
5.    การใช้ “สิ่งเสริมแรง” จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ดีขึ้น
 


·       การเรียนรู้ต้องเริ่มที่ “ตัวผู้เรียนเอง”
แน่นอนว่า...
การเรียนรู้ต้องเกิดขึ้นที่ “ตัวผู้เรียนเอง” ... คือต้องกระทำด้วยตัวเอง
ผู้สอนมีหน้าที่ในการ “สร้างบรรยากาศ” และสภาพแวดล้อมให้ “เอื้อ” ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
การเรียนรู้โดยตัวผู้เรียนเองนี้...เป็นการ “สะสม” ทั้งเรื่องความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ต่างๆ
รวมถึงทัศนคติที่จะเกิดการปรับเปลี่ยนหรือไม่ ก็ขึ้นกับการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
ดังนั้น...
จึงต้องเข้าใจว่า...มันมีความแตกต่างไปในแต่ละคน

·       ผู้เรียนแต่ละคน มีความสามารถเรียนรู้ “ไม่เท่ากัน”
ดังที่กล่าวไว้ในข้อแรกว่า...
การเรียนรู้มีความแตกต่างในแต่ละคน
ดังนั้น...
แต่ละคนจึงเรียนรู้ได้ “ไม่เท่ากัน”
ตรงนี้มีมุมมองไปที่ “ความสามารถ” ในการเรียนรู้
หรือในบางท่านก็ลงรายละเอียดไปถึงขั้นที่ว่า...
เพราะแต่ละคนมี “แบบแผนในการที่จะเรียนรู้” แตกต่างกัน...
ดังนั้น บางคนจึงยากที่จะเรียนรู้ให้ได้ดี...เพราะมี “อุปสรรค” จากวิธีคิด/แบบแผนการคิดนั่นเอง

·       การเรียนรู้ เป็นกระบวนการ “ต่อเนื่อง”
การเรียนรู้เป็น “กระบวนการ” ซึ่งนั่นก็หมายถึงว่า...
มันจะต่อเนื่องไปเรื่อยๆ...
และอาจจะมองได้สองด้าน คือ...
กระบวนการแบบเป็นทางการ และ แบบไม่เป็นทางการ
เช่น การเรียนรู้จากเพื่อน การเรียนรู้จากหัวหน้า เป็นต้น

·       การเรียนรู้ เกิดได้โดยการกระตุ้นทางประสาทสัมผัส
การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ ต้องผ่านประสาทสัมผัสของร่างกาย
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ...
แล้วจึงเข้าสู่กระบวนการต่างๆ (เช่น ประมวลผลต่อไป)

·       การใช้ “สิ่งเสริมแรง” จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ดีขึ้น
อาจจะต้องมี “ตัวช่วย” เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ความอยากที่จัเรียนรู้...
หรือเกิดการเรียนรู้ที่เร็วมากขึ้น
โดยสิ่งที่สำคัญคือ...
ตัวช่วย หรือ สิ่งเสริมแรง ที่ทำให้ผู้เรียน “รู้สึกดี” แล้วมีการปฏิบัติซ้ำๆในกระบวนการเรียนรู้

..........................................................
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น