วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การจะโค้ช (Coaching) ให้สัมฤทธิ์ผล...ต้องใช้เวลาและความเข้าใจ


การจะโค้ช (Coaching) ให้สัมฤทธิ์ผล...ต้องใช้เวลาและความเข้าใจ

‘Coaching is the art of giving back’
โค้ช คือ ศิลปะของการให้ย้อมกลับ(อะไรมากมาย)
ชอบประโยคนี้จังครับ...
เป็นข้อคิดจาก Dr Tracey B. Weiss
ว่าไปแล้ว การ “โค้ช” หรือ Coaching นี่ก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญเรื่องหนึ่งในปัจจุบัน
มีการพูดกันเยอะ...
มีการ(พยายาม)ทำเรื่องโค้ชก็มาก...หลายองค์กร
ผู้จัดการก็มักจะต้องรับบทบาทหน้าที่ของ “โค้ช” ไปในตัว...
แต่เรื่องนี้ “น่าห่วง” ครับ...
น่าห่วงตรงที่...หากผู้จัดการไม่เข้าใจในเรื่อง “การโค้ช” หรือ “ไม่เต็มใจ” ที่จะ(รับภาระ)โค้ช...
ก็อาจจะเป็นผลเสียมากกว่าจะได้ “ผลดี” ...



ประเด็นที่อยากจะนำเสนอในตอนนี้คือ...
อะไรคือสิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจและปฏิบัติ ในการทำการโค้ช Coaching
1.    Coaching ไม่ได้ทำแล้วจบในครั้งเดียว
โดยเฉพาะเรื่องแนวคิดหรือพฤติกรรมนั้น...
มันคงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ชั่วข้ามคืน หรือ พูดคุยกันเพียวครั้งสองครั้งแล้วมันจะเกิดการเปลี่ยนแปลง
ต้องใช้เวลา หรือ จะเรียกว่า ต้อง “ลงทุนในด้านเวลา” ก็น่าจะพูดได้
การโค้ชนั้น...
ต้องมีทั้งการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน การเชื่อถือกันและกัน การเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ การวางแผนการปฏิบัติเพื่อปรับปรุงในหลายๆด้าน...ฯลฯ
จึงต้องใช้เวลานานพอควร ที่จะเห็นผล

2.    Coaching ต้องใช้เวลามาก โดยเฉพาะการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน (Relationship)
เรื่องนี้คงจะเป็นแบบเดียวกันทั่วโลก คือ...
ไม่มีใครหรอก ที่จะยอมปฏิบัติตามคนที่เขาไม่ชอบหรือไม่เชื่อถือ (Trust)
ดังนั้น...
ความสัมพันธ์ต้องมาก่อน...และต้องใช้เวลา
สิ่งสำคัญ คือ...ความซื่อตรงต่อกัน
และ..
ความใส่ใจ (With heart)

3.    Coaching มักเป็นการ “ใช้คำถาม” (Asking) มากกว่าจะมานั่ง “บอกเล่า” (Telling)
โค้ชที่ดี...คือ นักฟังที่ดี
การใช้คำถาม...แล้ว “ฟัง” คือ ทักษะที่โค้ชที่ดีต้องมี
เพื่อประโยชน์ต่อคนที่กำลังถูกโค้ช...ในการพัฒนาความสามารถ (เช่น ด้านการวิเคราะห์สถานการณ์)
การที่ใช้วิธี “การบอก” ไปเสียทุกเรื่อง...
จะส่งผลให้ไม่เกิดการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงมากเท่าที่ควร...
หรือ มากตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

4.    Coaching ไม่ใช้สูตรสำเร็จในการแก้ไขทุกเรื่อง
ไม่ใช่ทุกเรื่องจะใช้การโค้ชได้อย่างสำเร็จ...
หรือไม่ใช่ทุกเรื่องที่การโค้ชจะนำมาซึ่งความสำเร็จหรือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้
ตัวอย่างเช่น...
คนที่ถูกโค้ชนั้น...ในบางครั้งก็มีความเป็นตัวตน(ของตนเอง-อัตตา)
ทำให้เกิดปฏิบัติตามเป็นไปได้อย่างช้าหรือ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้(เพราะเขาไม่ทำตามที่เราโค้ช)
เช่นนี้...
ผลการโค้ชก็คงไม่ได้ดังเป้าหมายมากนัก
หรือหลายๆเรื่อง...โดยเฉพาะเรื่องที่ใหย่ๆและซับซ้อน...
คงไม่สามารถใช้การโค้ชเพียงอย่างเดียวในการแก้ไข

โดยสรุปแล้ว...
การโค้ช Coaching เป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องใช้เวลา(ลงทุน)
และต้องอยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน
รวมถึงต้องเข้าใจข้อจำกัดบางอย่างของการ Coaching ด้วย
เพื่อให้การโค้ชเกิดผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ

.........................................................
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น