หัวใจของการสื่อสาร คือ
“การสนทนา” - Communication vs Conversation
เรามักจะพูดกันบ่อยๆว่า...
เรากำลัง “สื่อสาร” กันอยู่ หรือ Communication
จะว่าไปก็พูดถูก...เพียงแต่...
เรา “เข้าใจจริงๆ”
หรือไม่ว่า...เรากำลังสื่อสารจริงหรือไม่?
หรือเป็นแค่ “การพูด” หรือ การคุย...เท่านั้น(?)
จริงๆแล้ว...
มีคำอยู่ 2 คำ
ที่คล้ายๆกัน...ได้แก่
Communication หรือ
“การสื่อสาร”
Conversation หรือ
“การสนทนา”
ดูจะคล้ายกันมาก...ประเด็นคือ...
อะไรคือความแตกต่างที่เราควรรู้ (?)
ปรมาจารย์ Alan Barker ได้กล่าวถึงเรื่อง
“ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ”
โดยให้ภาพที่ชัดเจนว่า...
การสนทนานั้น คือ “หัวใจ”
ของการสื่อสาร
โดยในองค์การนั้น...เราจะพบเห็นการสนทนาอยู่ทุกที่ทุกเวลา
เรียกได้ว่าเป็น “โครงข่าย” หรือ Network
ของการสนทนา
เต็มไปหมด...
การพูดคุยกัน...
การประชุม...
การนำเสนองาน...
โดยการสนทนานั้น...จะเป็นการให้ข้อมูล แนวคิด
และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน
ซึ่งนั่นหมายถึง...
การสนทนาจะต้องประกอบด้วย...“การพูด”
และ “การฟัง”
หากไม่ฟัง..ก็ย่อมไม่ใช่การสนทนา...
และแน่นอนว่า...ก็ไม่ใช่การสื่อสาร
ส่วน “การสื่อสาร” นั้น...จะให้ภาพที่ใหญ่กว่า
คือ...
การสื่อสารต้องมี “ความเข้าใจร่วมกัน” หรือ Shared
Understanding
( โดยรากศัพท์ของ
Communication นั้น มาจากคำว่า
“Shared”)
และ การสื่อสารนั้น ต้องเกิดในบริบทที่ใหญ่และมีความซับซ้อนมากกว่าการสนทนา
ต้องมีบริบท หรือ Context รองรับการสื่อสารด้วย...
เช่น ต้องมีสถานการณ์รอบรับในแต่ละการสื่อสาร
(ซึ่งหมายถึง บริบททางสังคม เช่น สภาพในชั้นเรียน
และ ห้องประชุมนั้น ย่อมแตกต่างกัน)
หรือ ต้องมีสภาพแวดล้อมของการสื่อสาร (ที่ไม่เหมือนกัน)
หรือแม้แต่วัฒนธรรมที่อาจจะแตกต่างกันไป
เป้าหมายของการสื่อสาร คือ...
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ทำการสื่อสาร
ที่จะทำให้เกิด “ความเข้าใจร่วมกัน” (Shared Understanding) และ ความหมายที่ได้ความเข้าใจตรงกัน (Match meanings)
.............................................
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ