องค์กรเพื่อการ “ร่วมประสาน” - Matrix
Organization
หลายสัปดาห์ก่อนมีอีเมล์เข้ามาถามเกี่ยวกับ
“Matrix Organization”
ซึ่งผมมีบทความฉบับเก่าๆที่เขียนไว้นานแล้ว
ที่กล่าวถึงข้อดีของการจัดการแบบนี้
ก่อนอื่นเลยต้องขอ “ขอบคุณ”
อย่างมากที่อ่านบทความผมแล้วมีคำถามส่งกลับมา
เชื่อว่า...จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านท่านอื่นๆด้วยครับผม
ผมขอใช้คำไทยๆเกี่ยวกับ Matrix Organization ว่าเป็น...
องค์กรเพื่อการ
“ร่วมประสาน” ก็แล้วกันนะครับ
เพราะภาพที่เราเห็นจากการทำแบบนี้ จะมี
การร่วมงาน การประสานงาน การเกี่ยวพันกัน ตลอดเวลา
ซึ่งจะว่าไปแล้วผมว่า
ไม่ว่าองค์กรเล็กหรือใหญ่...ก็ทำ Matrix
ได้ทั้งนั้น
แต่รูปแบบของ Matrix
ต่างหากครับ ที่ “เป็นประเด็น”
บางรูปแบบของ Matrix
นั้น...ก็มีรูปแบบการทำงานร่วมกันของแต่ละฝ่าย
หรือที่คุ้นกันในคำว่า ‘Cross functional team’
แบบนี้ผมก็ว่าเป็น Matrix...
หรือบางรูปแบบ Matrix ก็ทำการร่วมประสานเฉพาะส่วนการจัดการที่ Middle management
ซึ่งก็หมายถึงว่า
คนทำงาน(ระดับแถวหน้า)จะมีหัวหน้าระดับกลาง(ผู้จัดการแผนก)ดูแลอยู่หลายคน
อันนี้ก็แบบหนึ่ง...
หรือ อย่างที่ P&G ในยุคของ A.G. Lafley(อดีต CEO) ก็มีการใช้รูปแบบ Matrix
โดยการให้ทุกแผนกงาน (เช่น การตลาด การบัญชี
เป็นต้น) นั่งใกล้ๆกัน...
เพื่อประสานงาน พูดคุยกันทันที เมื่อมี
“ประเด็น” ที่ต้องจัดการหรือประสานงานในขั้นตอนต่อเนื่องกัน
ผลดี ก็คือ...
-งานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นเลิศ
-งานเกิดความรวดเร็วและถูกต้อง
(ไม่ต้องตามแก้ไขกันบ่อยๆ)
-เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกันมากขึ้น
(Trust)
เพราะคุยกันมากขึ้น
-องค์กรมีการทำงานในรูปแบบ Team-working ประสานงานกันง่าย
รวดเร็ว สอดคล้อง
หรือบางตำราก็ตั้งต้นที่ “ฝ่ายการตลาด”
ในการทำ Matrix
ซึ่งเรียกกันว่า “Total Integrated Marketing”
ดูจากชื่อก็น่าจะเห็นภาพว่า...
เป็นการทำการตลาดแบบ
“บูรณาการองค์รวม”
ซึ่งดูแนวทางลึกๆแล้วก็จะเห็นว่า เป็นการ
“ร่วมประสาน” ระหว่างหน่วยงานต่างๆในองค์กรเช่นเดียวกัน
อีกรูปแบบหนึ่งที่ผมว่าไม่ค่อยมีใครทำเท่าไร...
จะว่าเป็นเรื่องใหม่ก็ใช่...
จะว่าเป็นเรื่องที่ “สำเร็จได้ยาก”
ก็ใช่เช่นกัน
นั่นคือ...การสร้าง
“นวัตกรรม” กลยุทธ์ หรือ Strategy Innovation
(ไม่ได้เขียนผิดนะครับ
เพราะมันมีความแตกต่างจากคำว่า Strategic Innovation...ไม่เหมือนกันนะครับ)
เป็นการ “แต่งตั้ง”
กลุ่มงานสร้างสรรค์ ในรูปแบบ “ร่วมประสาน” หรือ Matrix(Creative)
group ขึ้นมา เพื่อค้นหา “นวัตกรรม” ให้กับองค์กร
ชื่อเฉพาะของกลุ่มคือ Discovery
group (กลุ่มค้นหาสิ่งใหม่ๆนั่นเอง)
การทำ Matrix แบบนี้ผมว่าน่าสนใจมาก...เพราะเป็นการทำให้องค์กรมีนวัตกรรมเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
ต่อไปในอนาคต...
เพียงแต่อย่างที่บอกครับว่า... “ทำยาก” เนื่องจากต้องอาศัย “ความร่วมมือสูงสุด”
จากระดับสูง
และจากระดับผู้จัดการ
และจากระดับคนปฏิบัติงาน
และจากคนนอกหรือที่ปรึกษาด้วย
เรียกได้ว่า “ความร่วมมือ 360 องศา” เลยทีเดียว
ก็อย่างว่าครับ...ของที่ทำยากก็ย่อมยั่งยืนมากกว่าเป็นธรรมดา
ดังนั้น ...
หลายองค์กรก็มีความอยากที่จะทำ Matrix
organization
ซึ่งก็ต้องเริ่มทำ...แม้จะเริ่มความสำเร็จจากจุดหรือกลุ่มเล็กๆในองค์กร
เพราะความสำเร็จเล็กๆนั่นล่ะครับ...
จะขยายผลสู่ความสำเร็จทั้งองค์กรได้ในอนาคต
(หากยังยืนหยัดสู้ต่อไปได้...สู้กับอุปสรรคและผลลัพธ์ที่อาจจะมาช้าในบางครั้ง)
..................................
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น