วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การทำงานในรูปแบบ “ทีมเครือข่าย” หรือ Virtual Team...ตอนที่ 1


การทำงานในรูปแบบ “ทีมเครือข่าย” หรือ Virtual Team...ตอนที่ 1

เมื่อกล่าวถึงเรื่อง “การทำงานเป็นทีม” หรือ Team working
สิ่งที่ต้องเข้าใจคือ...
คนทำงานแต่ละคนต้องมีงานอะไรบางอย่างที่ “ต้องช่วยกันทำ” (Collaborate)
หากไม่มีสิ่งที่ต้องทำร่วมกัน...ก็ไม่ต้องใช้ “ทีม” ในการทำงาน


ประเด็นที่น่าสนใจ คือ คำว่า “เครือข่าย” หรือ Virtual (บางคนใช้คำว่า “เสมือน” แต่ผมว่าอาจจะเข้าใจและนึกภาพยากไปหน่อย จึงขอใช้คำว่า “เครือข่าย” แทนในบทความนี้ครับ)
ประเด็นนี้เป็นการสร้างการร่วมทำงานของคนกลุ่มหนึ่งซึ่งไม่สามารถมาทำงานในที่แห่งเดียวกันได้
แต่จำเป็นที่จะต้องทำงานร่วมกันให้บังเกิดผลลัพธ์...ดังนั้น...
จึงต้องอาศัย “ตัวช่วย” ในการทำงานระหว่างหัวหน้าทีมกับลูกทีม และ ระหว่างลูกทีมด้วยกันเอง

“ตัวช่วย” ที่กล่าวมาข้างต้น ก็ใช้กันได้หลายรูปแบบ
ที่เห็นได้ชัดเจน คือ...
การใช้การประชุมผ่านวีดีโอทางไกล VDO conference
หรือ การใช้อินเทอร์เน็ต Internet
เป็นต้น

การใช้การทำงานในรูปแบบ “ทีมเครือข่าย” หรือ Virtual Team นี้...
มักพบในองค์กรที่มีการทำงานข้ามพื้นที่ ซึ่งอยู่ค่อนข้างไกลกัน
อย่างเช่น...
องค์กรต่างชาติที่มีบริษัทลูกหรือบริษัทสาขาอยู่ในต่างประเทศหลายๆแห่ง
เช่น บริษัทแม่อยู่ที่อเมริกา...บริษัทลูกอยู่กระจายหลายแห่งทั่วโลก (ไทย จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เวียดนาม)
เป็นต้น
ดังนั้น การทำงานที่จะต้องมาเจอกันตลอดเวลาย่อมเป็นไปไม่ได้...
การประสานงาน สั่งงาน ตามงาน ประเมินงาน จึงต้องใช้การสื่อสารกันผ่านการทำงานแบบ “ทีมเครือข่าย” นี้ จึงจะทำงานได้รวดเร็วกว่า สมบูรณ์แบบมากกว่า และ สำเร็จได้จริง

สิ่งที่ต้องรู้และทำให้เกิดขึ้น เพื่อให้ “ทีมเครือข่าย” ประสบผลสำเร็จนั้น มีดังนี้
1.    Leader – ผู้นำ และ ผู้จัดการ จะต้องมีภาวะผู้นำ Leadership และ การทำงานที่สอดคล้องกับ การทำงานในรูปแบบ “ทีมเครือข่าย”
2.    Trust – ต้องสร้าง “ความเชื่อ” ระหว่างกัน ทุกระดับ ซึ่งทำได้ยากกว่าการทำงานแบบพบกันหรือเห็นหน้ากัน
3.    Working tools – ต้องมีการใช้ “เครื่องไม้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ” ช่วยในการทำงานแบบนี้
4.    Communication and Feedback – การสื่อสารและการส่งข้อมูลย้อนกลับ จะต้องทำอย่างมีประสอทธิภาพและต้องมีประสิทธิภาพมากกว่าการทำงานแบบพบเห็นหน้ากัน
5.    Decision making – กระบวนการตัดสินใจเอง ก็มีความแตกต่างกันกับการทำงานแบบอื่น

โดยสรุป จะเห็นว่า การทงานแบบ “ทีมเครือข่าย” ก็เป็นรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจ
และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับองค์กรลักษณะต่างๆได้ หลายรูปแบบ

ครั้งหน้าจะลงรายละเอียดของลักษณะสำคัญของ “ทีมเครือข่าย” ดังที่กล่าวทิ้งประเด็นไว้ข้างต้น

.......................................................
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น