วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

“กฎทอง” ในการสร้างนวัตกรรม ตอนที่ 2 - The Golden Rules of Innovation - #2


“กฎทอง” ในการสร้างนวัตกรรม ตอนที่ 2 - The Golden Rules of Innovation - #2

จากที่กล่าวไว้ในครั้งที่แล้วถึง ...
“วิธีการสร้างนวัตกรรม” หรือ “กฎทอง” ในการสร้างนวัตกรรม
ของ Alen West จำนวน 8 วิธี หรือ แนวทางของกรอบวิธีคิด
ครั้งนี้ขอลงรายละเอียดให้ชัดเจนมากขึ้นในแต่ละวิธี ดังนี้
-Think Strategic – คิดเชิงกลยุทธ์
แน่นอนว่า...
วิธีเดียวกัน แต่คนละช่วงเวลา...อาจใช้ไม่เกิดผล
การหาวิธีที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงเวลา...ย่อมต้องดีกว่า
เช่นเดียวกัน...
ผู้บริหารองค์กร จะต้องหาวิธีที่จะทำให้ “ทรัพยากรขององค์กร” เหมาะสมกับการแข่งขัน
สามารถสร้างความได้เปรียบกับองค์กรได้
ในสถานการณ์ที่โลกเปลี่ยนแปลงรวดเร็วเช่นนี้
องค์กรที่รู้เท่าทัน...แล้วปรับเปลี่ยนตนเอง(กลยุทธ์)สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง
ย่อมสามารถ “ชนะในเกมส์” ได้

-Think Different – คิดให้แตกต่าง
องค์กรต้อง “ตั้งคำถาม” กับตนเองตลอดเวลา
มิเช่นนั้น ก็จะต้องเป็นฝ่ายตามคู่แข่งเสมอ
การตั้งคำถามก็เพื่อหาความแตกต่างที่องค์กรจะสร้างได้
เพื่อตอบโจทย์การแข่งขัน
เช่น คำถามเกี่ยวกับ “ทำไม?” เพื่อเปิดประเด็นสร้างความเข้าใจในสถานการณ์ต่างๆ
และเพื่อค้นหาว่าอะไรที่จะตอบสนองสิ่งที่ยังขาดได้

-Think Customer benefit – คิดถึงผลประโยชน์ที่จะตกแก่ลูกค้า
อะไรคือความต้องการของลูกค้า?
อะไรคือ ประโยชน์หรือคุณค่าที่แท้จริง ที่องค์กรจะเสนอให้กับลูกค้า?
คำถามต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นการคิดถึง “ลูกค้า” เป็นอันดับแรก
เพื่อนำไปสู่การทำนวัตกรรมใหม่ๆให้เกิดขึ้นในองค์กร



-Think Detail – คิดลงรายละเอียด
ภาพที่เปรียบเทียบคือ...
“การเดินทางที่ได้เร็ว มาจากการรู้รายละเอียดของเส้นทางที่แจ่มชัดที่สุด”
ในการสร้างนวัตกรรมก็เช่นเดียวกัน
การวางแผนในรายละเอียด ถือเป็นเรื่องสำคัญของการสร้างนวัตกรรม
ต้องมีการทำแนวทาง(protocol)ที่มีรายละเอียดและมีความเฉพาะเจาะจงในแต่ละเรื่อง

-Think Internal – คิดถึงภายในองค์กร
เรื่องนี้ก็มีการเน้นกันมากขึ้นในปัจจุบัน
โดยเฉพาะเรื่องการ “สร้างบรรยากาศ” ในการทำงานภายในองค์กร
โดยมุ่งที่จะตอบโจทย์การทำธุรกิจในระยะยาว หรือ long-term
และมุ่งที่จะป้องกันความผิดพลาดจากภายใน
โดยการมุ่งเน้นหาประเด็นภายในองค์กร(internal issues)

-Think Knowledge – คิดเน้นด้านความรู้
จงจำไว้ว่า... “ความรู้ คือ พลัง” (Alen West กล่าวไว้)
ความอยู่รอดขององค์กรนั้น ขึ้นกับ องค์กร “ฉลาด” แค่ไหน...
ฉลาด หรือ การมีความรู้ที่เพียงพอในด้านต่างๆ
Market Intelligence เป็นต้น
นวัตกรรมก็จะเกิดจากพื้นฐานความรู้เหล่านี้
การค้นหาว่า “ความรู้” อะไรที่จำเป็นต่อการสร้างนวัตกรรม
(เช่น นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์)

-Think People – คิดเรื่องที่เกี่ยวกับ “มนุษย์”
การที่องค์กรมี “คนที่ใช่” (Right people)
และคนเหล่านี้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
นับเป็นองค์กรที่ได้เปรียบในการสร้างนวัตกรรม
ความต่างขององค์กรที่ “ทำอะไรก็ได้” (Can do) กับองค์กรอื่นๆ คือ...
การพัฒนา “ทรัพยากรมนุษย์” นั่นเอง

-Think Thin – คิดให้ “ลีน” (Lean)
จุดเน้นของเรื่องนี้คือ... “ความไว” หรือ Speed
ในการตอบสนองสิ่งต่างๆ
การสร้างนวัตกรรมจึงต้องมุ่งที่จะทำอะไรที่รวดเร็วมากขึ้น
ได้ประสิทธิภาพสูงขึ้นนั่นเอง

...........................................................................
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

“กฎทอง” ในการสร้างนวัตกรรม ตอนที่ 1 - The Golden Rules of Innovation - #1


“กฎทอง” ในการสร้างนวัตกรรม ตอนที่ 1 - The Golden Rules of Innovation - #1

นวัตกรรมเป็น “กระบวนการ” ที่จำเป็นมากในธุรกิจปัจจุบัน
เพิ่มได้นั่งคุยกับนักสร้างกลยุทธ์ท่านหนึ่งของไทย พบว่า...
ธุรกิจไทยส่วนใหญ่ ทำได้เพียง “นวัตกรรมทางผลิตภัณฑ์” หรือ product innovation
ไม่ค่อยได้มุ่งทำเรื่อง process innovation หรือ “นวัตกรรมด้านกระบวนการ” เท่าใดนัก

จริงๆแล้ว ...
นวัตกรรม ยังมีอีกหลายรูปแบบ...
ไม่ว่าจะเป็น นวัตกรรมด้านแผนธุรกิจ... Business innovation
นวัตกรรมด้านกลยุทธ์... Strategy innovation
นวัตกรรมด้านการบริการ... Service innovation
นวัตกรรมด้านการออกแบบ... Design innovation
นวัตกรรมด้านการสร้างแบรนด์... Branding innovation
เป็นต้น



ประเด็นที่สำคัญกว่าเรื่องประเภทของนวัตกรรม ก็คือ...
มันสร้างอย่างไร?...
เอาง่ายๆก็คือ...มี 2 ขั้นตอน ได้แก่
กระบวนการแยกออก หรือ Divergence
และ กระบวนการรวมตัวเข้าใหม่ หรือ Convergence
ไม่รู้ว่า กล่าวอย่างนี้แล้วจะโดนว่า...
“พี่...พูดน่ะมันง่าย..ทำสิ..มันยากนา..”
ก็ถูก...
แต่ก็ต้องรู้จักกรอบการทำเป็น “กรอบการคิด” ด้วย...
จึงจะ “เดินได้เร็วและถูกทาง”

มีแนวคิดจาก Alen West ซึ่งกล่าวถึงเรื่องนวัตกรรม และ การสร้างนวัตกรรมไว้น่าสนใจ
อย่างที่กล่าว...เรื่องสร้างนั้น สำคัญกว่า...
ครั้งนี้จึงนำเสนอ “วิธีการสร้างนวัตกรรม” หรือ “กฎทอง” ในการสร้างนวัตกรรม
ของ Alen West จำนวน 8 วิธี หรือ แนวทางของกรอบวิธีคิด ได้แก่
-Think Strategic
-Think Different
-Think Customer benefit
-Think Detail
-Think Internal
-Think Knowledge
-Think People
-Think Thin
น่าสนใจมากครับ...

ประเด็นที่ต้องใส่ใจคือ...
นวัตกรรม ไม่ใช่เรื่องทำง่ายๆ...ใครๆก็ทำได้...
แต่เป็นเรื่องที่ต้องเข้าใจสภาพการณ์ต่างๆทั้งภายนอกและภายใน...
รวมทั้ง ความสามารถขององค์กรที่จะ “ปรับ” กระบวนการให้เป็นนวัตกรรม
เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

ครั้งหน้าจะลงรายละเอียดแต่ละวิธีครับ...
ว่ามีมุมคิดอย่างไร

………………………………………
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

ระยะเสี่ยง 7 ช่วงในธุรกิจ - The seven crises in the life cycle of Growing Enterprise


ระยะเสี่ยง 7 ช่วงในธุรกิจ - The seven crises in the life cycle of Growing Enterprise

เป็นประเด็นที่นักกลยุทธ์และที่ปรึกษาธุรกิจ Rodney Overton ได้สรุปออกมา
จากประสบการณ์ด้านการดูแลให้คำปรึกษาทางธุรกิจ
ในหนังสือ Business planning made simple
โดย Rodney มองว่า...
ธุรกิจในแต่ละช่วงชีวิต มันคงไม่มีแค่เพียง...
การเติบโต และ การล้มเหลว
แต่มันมีเรื่องที่ต้องรู้ และจัดการ...เพื่อรักษาความอยู่รอด
หรือแม้กระทั่ง ทำให้ธุรกิจเติบโตไปได้เรื่อยๆ
หรืออีกมุมหนึ่งก็คือ...
วงจรชีวิต(Life Cycle)ของธุรกิจ ขึ้นสูงตลอดไป

Rodney ได้สรุป “ระยะเสี่ยง” ไว้ 7 ด้านด้วยกัน ได้แก่

  1. The Start-up stage - ระยะเริ่มต้นธุรกิจ
  2. The Cash crisis stage – ระยะเสี่ยงด้านตัวเงินสดในมือ
  3. The Delegation crisis stage – ระยะเสี่ยงด้านการหามือดีมาช่วยงาน
  4. The Leadership crisis stage – ระยะเสี่ยงในด้าน “ผู้นำรุ่นใหม่”
  5. The Finance crisis stage – ระยะเสี่ยงที่เกี่ยวกับการลงทุน
  6. The Prosperity crisis stage – ระยะเสี่ยงในช่วงการโตสุดขีด
  7. Management-Succession crisis – ระยะเสี่ยงในเรื่อง “ตัวตายตัวแทน” 




·       The Start-up stage
มีเรื่องที่ต้องทำมากมาย...
การจดทะเบียนบริษัท...การเลือกชนิดของธุรกิจที่จะทำ...หาจุดคุ้มทุน...
หาเป้าหมาย/กำไรคาดหวัง...
หาว่าอะไรจะสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ หรือ การบริการ
ตั้งนโยบายต่างๆ – พนักงาน และ ลูกค้า เป็นต้น

·       The Cash crisis stage
ต้องจ่ายสิ่งต่างๆมากมาย...
ค่าจ้างแรงงาน ค่าเช่า ค่าวัตถุดิบต่างๆ
เงินสดถูกใช้ไปตลอดเวลาและมากขึ้นเรื่อยๆ

·       The Delegation crisis stage
ธุรกิจเจริญรุ่งเรือง แต่ “เวลา” ของแต่ละวันมีเท่ากัน 24 ชั่วโมง...
ดูเหมือนว่าเวลาไม่พอเสียแล้วกับงานต่างๆที่กำลังไปได้สวย
“ใคร?” คือคนที่จะได้รับมอบหมายงานแต่ละส่วนไปทำ(Delegate)
จะหาคนอย่างนี้ได้ที่ไหน?
ได้มาแล้ว เขาจะทำงานได้อย่างใจเราเพียงไร?

·       The Leadership crisis stage
เมื่อธุรกิจเจริญแบบสุดๆ แน่นอนว่า “ผู้สร้างธุรกิจ” ย่อมต้องมีอาการ “เหนื่อย”
พลังที่ใช้ไปอย่างมากมาย เริ่มจะเหือดหายไป
เริ่มจะสูญเสียพลังขับเคลื่อนธุรกิจและวิสัยทัศน์
“ใคร?” จะช่วยนำพาบริษัทไปต่อไป

·       The Finance crisis stage
กำไรเห็นเป็นตัวเงินที่ชัดเจนมากขึ้น
ธุรกิจแข็งแรงมากขึ้น แต่สิ่งที่ตามมาคือ...
กำไรที่ได้มาจะถูกใช้จ่ายไปกับการเติบโตของบริษัท เช่น...
ซื้อของเข้ามาในโกดัง
จ่ายหนี้ที่ยืมเงินมา
และที่สำคัญ ความต้องการที่จะ “ขยายธุรกิจ” ทำให้เกิดประเด็นเรื่อง “สภาพคล่อง” ตามมา

·       The Prosperity crisis stage
ช่วงที่ธุรกิจโตแบบสุดขีด มีความมั่งคั่ง ร่ำรวย
ดูเหมือนทุกอย่าง “ลงตัว” แต่...
ความเสี่ยงย่อมมีอยู่เสมอ
โอกาสเผชิญกับ “ปัญหา” ก็ย่อมต้องมี หรือ เกิดขึ้นได้ “แทบทุกเรื่อง”
โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับตัวของ “ผู้สร้างธุรกิจ” เอง
เริ่มพึงพอใจกับธุรกิจ
เริ่มที่จะผ่อนคลาย ไม่มุ่งมั่นเหมือนตอนต้น
และที่สำคัญอีกเรื่องคือ...
พนักงานที่อยู่มานาน มีความสามารถ จะถูก “ซื้อตัว” ไปอยู่กับที่อื่นๆ

·       Management-Succession crisis
เดินทางมาไกล...คนก็ต้องคิดถึงเวลาที่ต้องพักผ่อน หรือ “ให้รางวัล” กับชีวิต เมื่อพบความสำเร็จ
แต่พบว่า ไม่มีลูกหลานที่จะมารับสืบทอดงานธุรกิจ
ธุรกิจก็จะตกอยู่ในช่วงวิกฤติอีกเช่นกัน

...................................................
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555

“แรงคน” ... เครื่องยนต์ที่แท้จริงของธุรกิจ – People Power


“แรงคน” ... เครื่องยนต์ที่แท้จริงของธุรกิจ – People Power

หากเอ่ยชื่อนี้ Richard Branson ...
หลายคนคงรู้จักชื่อนี้ดี...
และ อีกหลายคนที่รู้จัก “ตัวตน” ของเขาในหลายๆมุม โดยเฉพาะมุมที่มักจะแตกต่างจากชาวบ้าน(CEO หรือ เจ้าของธุรกิจคนอื่นๆ)
เขาคือ ผู้ก่อตั้ง Virgin ... ไม่ว่าจะเป็นสายการบิน ค่ายเพลง และอื่นๆอีกมากมาย

เรื่องหนึ่งที่ผมชอบ เกี่ยวกับความคิด หรือ ประโยคของ Richard คือ...
เรื่อง “แรงคน” หรือ People Power…
‘good people are not just crucial to a business, they are the business’
ได้คนดีมาใช้งาน...ไม่เพียงได้ปัจจัยที่สำคัญยิ่งยวดต่อธุรกิจ...แต่...
พวกเขาเหล่านั้น ถือเป็น “ธุรกิจ” เองเลยก็ว่าได้
...เป็น product ของธุรกิจ
...เป็น process ของธุรกิจ
...เป็น ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะทำให้ธุรกิจ “อยู่ได้” นั่นเอง



Richard มองว่า...
สิ่งที่จะสร้างความแตกต่างได้จากคู่แข่ง...
ก็คือ ... “พนักงาน” หรือ คนในองค์กร นั่นเอง
โดยเฉพาะ “ทัศนคติ” หรือ Attitude ที่จะลูกค้าจะต้องสัมผัส
รวมไปถึง...
คนเหล่านี้ที่สามารถสร้าง “ความต้องการ” ของลูกค้า ที่จะซื้อสินค้า หรือ ใช้บริการขององค์กร
นี่ถือเป็นสิ่งที่สำคัญและสร้างความแตกต่างได้

อีกมุมหนึ่งของ Richard ได้กล่าวไว้ว่า...
“คน” หรือ พนักงานนั้น ...เหมือน “ดาบสองคม” ...
อาจจะ “สร้าง” หรือ “ทำลาย” องค์กรได้พอๆกัน
(Make or Break)

ดังนั้น...
สิ่งหนึ่งที่เขามองว่า...เป็น “ตัววัด” ความสำเร็จในเรื่องคน ก็คือ...
“ความภูมิใจ” ในองค์กรหรือธุรกิจที่พนักงานทำงานอยู่
โดยเฉพาะ Richard ให้ความสำคัญไปที่ “ระดับผู้นำองค์กร” (Leaders)
ซึ่งเขาได้เน้นอย่างชัดเจนว่า...
‘A bad leader can destroy a business very quickly!’
ผู้นำที่ “ไม่เป็นงาน(ไม่เก่ง)” ทำลายธุรกิจได้ในพริบตา
ดังนั้น ผู้นำที่เขาอยากได้คือ...
ผู้นำที่รู้จัก “ลูกน้อง” เป็นอย่างดี....
รู้ทั้งจุดแข็ง และ จุดอ่อน ของลูกน้องทุกคน
และต้อง “ฟัง” ลูกน้องให้เป็น...
โดยเฉพาะการรับฟังประเด็นหรือปัญหาต่างๆแบบจากปากลูกน้องโดยตรง
(Face-to-face is key!)

จึงไม่แปลกที่ Virgin เติบโตอย่างเด่นชัด
พนักงานทำงานอย่างโดดเด่น...
รวมถึงตัว Richard Branson เองที่ดูจะทำเป็นตัวอย่างได้อย่างดียิ่ง

.....................................................................
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ