วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ระยะเสี่ยง 7 ช่วงในธุรกิจ - The seven crises in the life cycle of Growing Enterprise


ระยะเสี่ยง 7 ช่วงในธุรกิจ - The seven crises in the life cycle of Growing Enterprise

เป็นประเด็นที่นักกลยุทธ์และที่ปรึกษาธุรกิจ Rodney Overton ได้สรุปออกมา
จากประสบการณ์ด้านการดูแลให้คำปรึกษาทางธุรกิจ
ในหนังสือ Business planning made simple
โดย Rodney มองว่า...
ธุรกิจในแต่ละช่วงชีวิต มันคงไม่มีแค่เพียง...
การเติบโต และ การล้มเหลว
แต่มันมีเรื่องที่ต้องรู้ และจัดการ...เพื่อรักษาความอยู่รอด
หรือแม้กระทั่ง ทำให้ธุรกิจเติบโตไปได้เรื่อยๆ
หรืออีกมุมหนึ่งก็คือ...
วงจรชีวิต(Life Cycle)ของธุรกิจ ขึ้นสูงตลอดไป

Rodney ได้สรุป “ระยะเสี่ยง” ไว้ 7 ด้านด้วยกัน ได้แก่

  1. The Start-up stage - ระยะเริ่มต้นธุรกิจ
  2. The Cash crisis stage – ระยะเสี่ยงด้านตัวเงินสดในมือ
  3. The Delegation crisis stage – ระยะเสี่ยงด้านการหามือดีมาช่วยงาน
  4. The Leadership crisis stage – ระยะเสี่ยงในด้าน “ผู้นำรุ่นใหม่”
  5. The Finance crisis stage – ระยะเสี่ยงที่เกี่ยวกับการลงทุน
  6. The Prosperity crisis stage – ระยะเสี่ยงในช่วงการโตสุดขีด
  7. Management-Succession crisis – ระยะเสี่ยงในเรื่อง “ตัวตายตัวแทน” 




·       The Start-up stage
มีเรื่องที่ต้องทำมากมาย...
การจดทะเบียนบริษัท...การเลือกชนิดของธุรกิจที่จะทำ...หาจุดคุ้มทุน...
หาเป้าหมาย/กำไรคาดหวัง...
หาว่าอะไรจะสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ หรือ การบริการ
ตั้งนโยบายต่างๆ – พนักงาน และ ลูกค้า เป็นต้น

·       The Cash crisis stage
ต้องจ่ายสิ่งต่างๆมากมาย...
ค่าจ้างแรงงาน ค่าเช่า ค่าวัตถุดิบต่างๆ
เงินสดถูกใช้ไปตลอดเวลาและมากขึ้นเรื่อยๆ

·       The Delegation crisis stage
ธุรกิจเจริญรุ่งเรือง แต่ “เวลา” ของแต่ละวันมีเท่ากัน 24 ชั่วโมง...
ดูเหมือนว่าเวลาไม่พอเสียแล้วกับงานต่างๆที่กำลังไปได้สวย
“ใคร?” คือคนที่จะได้รับมอบหมายงานแต่ละส่วนไปทำ(Delegate)
จะหาคนอย่างนี้ได้ที่ไหน?
ได้มาแล้ว เขาจะทำงานได้อย่างใจเราเพียงไร?

·       The Leadership crisis stage
เมื่อธุรกิจเจริญแบบสุดๆ แน่นอนว่า “ผู้สร้างธุรกิจ” ย่อมต้องมีอาการ “เหนื่อย”
พลังที่ใช้ไปอย่างมากมาย เริ่มจะเหือดหายไป
เริ่มจะสูญเสียพลังขับเคลื่อนธุรกิจและวิสัยทัศน์
“ใคร?” จะช่วยนำพาบริษัทไปต่อไป

·       The Finance crisis stage
กำไรเห็นเป็นตัวเงินที่ชัดเจนมากขึ้น
ธุรกิจแข็งแรงมากขึ้น แต่สิ่งที่ตามมาคือ...
กำไรที่ได้มาจะถูกใช้จ่ายไปกับการเติบโตของบริษัท เช่น...
ซื้อของเข้ามาในโกดัง
จ่ายหนี้ที่ยืมเงินมา
และที่สำคัญ ความต้องการที่จะ “ขยายธุรกิจ” ทำให้เกิดประเด็นเรื่อง “สภาพคล่อง” ตามมา

·       The Prosperity crisis stage
ช่วงที่ธุรกิจโตแบบสุดขีด มีความมั่งคั่ง ร่ำรวย
ดูเหมือนทุกอย่าง “ลงตัว” แต่...
ความเสี่ยงย่อมมีอยู่เสมอ
โอกาสเผชิญกับ “ปัญหา” ก็ย่อมต้องมี หรือ เกิดขึ้นได้ “แทบทุกเรื่อง”
โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับตัวของ “ผู้สร้างธุรกิจ” เอง
เริ่มพึงพอใจกับธุรกิจ
เริ่มที่จะผ่อนคลาย ไม่มุ่งมั่นเหมือนตอนต้น
และที่สำคัญอีกเรื่องคือ...
พนักงานที่อยู่มานาน มีความสามารถ จะถูก “ซื้อตัว” ไปอยู่กับที่อื่นๆ

·       Management-Succession crisis
เดินทางมาไกล...คนก็ต้องคิดถึงเวลาที่ต้องพักผ่อน หรือ “ให้รางวัล” กับชีวิต เมื่อพบความสำเร็จ
แต่พบว่า ไม่มีลูกหลานที่จะมารับสืบทอดงานธุรกิจ
ธุรกิจก็จะตกอยู่ในช่วงวิกฤติอีกเช่นกัน

...................................................
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น