วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Glocalization คำศัพท์ที่บางท่านยังไม่คุ้นเคย...แต่ควรจะต้องรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ Product Development

Glocalization คำศัพท์ที่บางท่านยังไม่คุ้นเคย...แต่ควรจะต้องรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ Product Development

ผมว่าทุกคนจะคุ้นเคยกันดี
กับคำว่า “โลกาภิวัฒน์” หรือ Globalization
ซึ่งก็ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องนำไปพิจารณา



ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภาพนอก External Analysis
ในส่วนการจัดการกลยุทธ์ Strategic Management

แต่มีอีกคำหนึ่ง...
ที่ผมว่าหลายคนอาจจะยังไม่คุ้นเคย
คือคำว่า “Glocalization”
ซึ่งยังไม่แน่ใจว่าจะแปลให้ตรงคำจำกัดความและครอบคลุมความหมายได้อย่างไร(?)


หากดูจากรากศัพท์แล้ว...
ก็คงเดาไม่ยากว่า มากจากคำว่า...Global- และ Local- นั่นเอง




คำว่า Global- คงหมายถึง ภาพกว้างแบบครอบคลุมทั้งโลก
หรือ การกระจายออกไปเพื่อให้ครอบคลุมทั้งโลก



ส่วนคำว่า Local- ก็หมายถึง ภาพที่จำเพาะเจาะจงไปที่พื้นที่ใด พื้นที่หนึ่ง
เช่น หมู่บ้านหนึ่ง อำเภอหนึ่ง จังหวัดหนึ่ง หรือ อาจหมายถึง ประเทศใดประเทศหนึ่งก็ได้(ในทางธุรกิจ)

ดังนั้น...
โดยความหมายของ “Glocalization” นั้น
ก็จะหมายถึง การสร้างการเติบโตของธุรกิจหรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อกระจายออกไปขายทั่วโลก
โดยยึดเอาความเป็นท้องถิ่น(วัฒนธรรมท้องถิ่น/วัฒนธรรมของประเทศที่จะส่งไปขาย) เป็นตัวตั้งในการวิเคราะห์และพัฒนาสินค้าหรือรูปแบบโมเดลธุรกิจ

บางท่านก็ว่า... “Glocalization” เกิดมานานแล้ว ใช้โมเดลนี้มาเป็นช่วงเวลาเกิน 30 ปี
บางท่านก็ว่า...โมเดลนี้ เกิดมาจากบริษัท Honda (โดยส่วนตัวผมเองไม่แน่ใจนะครับ)

ยังไงก็ตาม...
ผมว่า เอาตรงประเด็น “แนวความคิด” ของโมเดล “Glocalization” ไปใช้ดีกว่า
ที่มาอย่างไร หรือ จะเกิดมานานแค่ไหน...อันนี้ไม่ใช่ประเด็นสำคัญนัก

มีตัวอย่างหนึ่งที่ทางฝรั่งได้วิเคราะห์ถึงการนำไปใช้ของโมเดลนี้ ได้แก่




การที่บริษัทสร้างผลิตภัณฑ์ที่คุณภาพสูงขึ้นมา เพื่อขายไปยังประเทศที่พัฒนาแล้ว
แล้วหลังจากนั้น ก็ทำการพัฒนารูปแบบใหม่(จากสินค้าเดิม)
ที่มุ่งเป้าหมายไปขายในประเทศอื่นๆ(กระจายสินค้าให้ครอบคลุมทั่วโลก)
โดยในกระบวนการพัฒนาสินค้าใหม่ ก็นำเอา “ความเป็นท้องถิ่นของประเทศที่ต้องการจะขายสินค้า” มาประกอบในกระบวนการ
เพื่อให้ได้สินค้าที่ตอบสนองความต้องการจริงของประเทศนั้นๆ




....
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น