วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Lateral Thinking – การคิด “คิดแนวข้าง” เพื่อสร้างสิ่งใหม่ๆ

Lateral Thinking – การคิด “คิดแนวข้าง” เพื่อสร้างสิ่งใหม่ๆ

ครั้งที่แล้วว่ากันในเรื่อง “ความคิดสร้างสรรค์” Creativity
ซึ่งจะไปสัมพันธ์กับ การคิดแบบสร้างสรรค์ Creative thinking
ทำให้นึกถึงแนวความคิดหนึ่งที่มีส่วนเกี่ยวข้องกัน คือ...
“การคิดแนวข้าง” หรือ Lateral Thinking

ช่วงหลายๆปีที่ผ่านมา...
เป็นยุดของการอ้างอิง “ความคิด” Thinking อยู่เยอะมาก
ไม่ว่าจะเป็น...
Systemic thinking
Analytic thinking
Creative thinking
และอีกมากมาย แล้วแต่จะตั้งชื่อกันไป ซึ่งรวมถึง Lateral thinking นี่ด้วย


หากจะกล่าวกันถึง Lateral thinking นี้ ต้องพาดพิงไปถึง Creative thinking ด้วย
เพราะมันคล้ายๆกัน หรือ มีส่วนที่อ้างอิงกันและกันอยู่
คนที่คิดเรื่องนี้ คือ Edward De Bono
ท่านอาจารย์ได้กล่าวถึง Creative thinking ว่า มีอันตราย หรือ ปัญหาได้
อย่างเช่น คนที่มีแนวความคิดสร้างสรรค์อย่างเดียว อาจจะขึ้นอยู่กับอารมณ์ความรู้สึกมากเกินไปในการคิดให้เกิดสิ่งใหม่ๆที่สร้างสรรค์ออกมา...
หรือ อาจจะมุ่งอยู่กับความคิดสร้างสรรค์นั้นๆจนไม่มองมุมอื่นๆที่อาจสร้างสรคค์น้อยกว่าแต่มีประโยชน์มากกว่า...
หรือ การให้ความคิดสร้างสรรค์นั้นๆออกมา ทำให้คนๆนั้นกลายเป็นพวกที่มีอัตตาตัวตนสูงมาก จนไม่ฟังใครเลยก็เป็นได้
หรือที่น่ากลัวคือ...เมื่อเอาความคิดสร้างสรรค์ไปใช้ได้สักพัก พอเกิดประเด็นปัญหาขึ้นมา ก็อาจจะเลิกกลางคันเลยก็เป็นได้
แต่ถึงอย่างไรท่านอาจารย์เองก็แนะนำว่า...
แนวความคิดทั้งสองนั้น (Creative thinking และ Lateral thinking) ต้องใช้ “เสริมซึ่งกันและกัน”

โดยหลักการแล้ว “คิดแนวข้าง” Lateral thinking นั้นมีประโยชน์มากกว่า
เพราะนอกจากจะตั้งอยู่บน เทคนิคและทักษะในการสร้างความคิดแล้ว
ยังต้องมีเรื่อง “เจตคติ” กำกับด้วย เช่น...
เจตคติในการตระหนักว่า “การยึดติดกับมุมมองที่ตายตัว” นั้น มีอันตราย
เจตคติในการตระหนักว่า “การกักขังทางแนวความคิด” นั้น มีอันตราย
เจตคติที่ต้องตระหนักถึง “ความจำเป็น” ที่จะต้องหาวิธีสำหรับทำสิ่งต่างๆในแบบที่ “ต่างไปจากเดิม”
เจตคติในการตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างการคิดแนวข้างกับการคิดแนวตั้ง
เป็นต้น

การคิดแนวตั้ง
จะเกี่ยวข้องกับการประมวลผลและคิดคำนวณ
และมุ่งที่จะนำแนวคิดต่างๆ(ที่ได้มา) ไป “ปฏิบัติจริง”
นั่นย่อมแสดงว่า...การคิดแนวตั้ง ต้องอาศัย การคิดแนวข้าง ในการ “สร้างแนวคิดที่มีประสิทธิผล” ให้ก่อนนั่นเอง
การคิดแนวข้าง
เกี่ยวข้องกับการจัดแบบแผน การสร้างทางเลือก และ วิธีการที่จะใช้ในการแก้ปัญหา
นั่นคือ จะเลือกแนวความคิดต่างๆ(ที่มีประสิทธิผล)

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า แนวคิดทั้งสอง (การคิดแนวตั้งและคิดแนวข้าง) เป็นสิ่งจำเป็น และจะต้องใช้เสริมกันในการปฏิบัติจริง

ในประเด็นสุดท้าย... หากเราตั้งว่า ความคิดสร้างสรรค์ คือ บริบทกว้างๆ Context
การคิดแนวข้าง Lateral thinking อาจเป็นเครื่องมือตัวหนึ่งในการสร้างแนวคิดใหม่ๆที่สร้างสรรค์ในการจัดการงานหรือแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิผล
แต่คงต้องบอกว่า “การหาแนวทางสร้างสรรค์” ในบริบทกว้างๆนี้ อาจจะมีเครื่องมืออื่นๆที่นำมาใช้ได้เหมือนกัน
และเชื่อว่าในอนาคตก็คงมีคงพัฒนา “เครื่องมือ” ออกมาใช้กันอีกหลายตัวอย่างแน่นอนครับ

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

สนใจอ่านเรื่อง Lateral thinking เพิ่มเติมในรายละเอียด
อ่านได้ที่หนังสือ “คิดแนวข้างสำหรับนักบริหาร” แปลและเรียบเรียงโดย ยุพา รักไทย และ ธนิกานต์ มาฆะศิรานนท์ ของสำนักพิมพ์ Expernet

1 ความคิดเห็น:

  1. ยังไงก็วนๆอยู่ในเรื่อง ความคิดสร้างสรรค์ Creativity อยู่ดีนั่นแหล่ะครับ

    ตอบลบ