วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Holistic Marketing – การตลาดสมัยใหม่ ต้องมองแบบองค์รวม



Holistic Marketing – การตลาดสมัยใหม่ ต้องมองแบบองค์รวม

แนวคิดทางการตลาดมีการพัฒนาหลักการหรือรูปแบบมาอย่างต่อเนื่อง...






ตั้งแต่ หลักการที่มุ่งการผลิต Production concept...
การมุ่งทางด้านผลิตภัณฑ์ Product concept เน้นสร้างผลิตภัณฑ์ที่คุณภาพเป็นเลิศ
การมุ่งการขายเป็นหลัก Selling concept เป้าหมายคือ กำไรสูงสุด จึงเน้นที่การส่งเสริมให้เกิดการขายให้ได้มากที่สุด และ/หรือ มีลูกค้ามากที่สุด
การใช้การตลาดเป็นแกนนำ Marketing Concept การใช้มุมมองว่า ลูกค้าสำคัญที่สุด Customer-centered จึงต้องตั้งเป้าหมายที่จะผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า
จนมาถึง การทำการตลาดแบบมุ่งองค์รวม Holistic Marketing Concept

โดย “การทำการตลาดแบบมุ่งองค์รวม” นั้น ให้ความสำคัญกับทุกส่วน
ทั้งในและนอกองค์กร
‘Everything matters!’

ซึ่งมีองค์ประกอบหลักอยู่ 4 ส่วนด้วยกัน ได้แก่
๑. การตลาดภายในองค์กร Internal Marketing
คือ การทำงานที่มีประสิทธิภาพและเชื่อมโยงกันในทุกส่วน ตั้งแต่ฝ่ายบริหารระดับสูง และ หน่วยงานต่างๆในองค์กร รวมถึงหน่วยงานด้านการตลาดโดยตรง

๒. การตลาดแบบบูรณาการ Integrated Marketing
คือ การมุ่งเน้นไปที่การทำ 4Ps และ/หรือ 4Cs นั่นเอง
Product-Price-Place-Promotion
Customer solution-Cost-Convenience-Communication

๓. การตลาดสร้างความสัมพันธ์ Relationship Marketing
คือ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าแบบระยะยาว ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุดและอาจตรงกับความต้องการของแต่ละคนเลยก็ได้ (CRM=Customer Relationship Management)

๔. การตลาดที่มุ่งรับผิดชอบต่อสังคม Social Responsibility Marketing
คือ การทำธุรกิจที่ต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด นั่นคือ การมองออกไปนอกองค์กร โดยเฉพาะทางด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (Social) และ/หรือ การทำธุรกิจอย่างมีคุณธรรม/จริยธรรม (Ethics) คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อม (Environment) รวมไปถึงการเคารพในกฎหมายของประเทศนั้นๆที่เข้าไปทำธุรกิจ (Legal)

จะเห็นว่า...
ารตลาดนั้นเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ในทุกๆปีที่ผ่านไป
ธุรกิจต้องตามให้ทันกระแส หรือ ทิศทางของอุตสาหกรรม และ ทิศทางของโลก
เพื่อการปรับกลยุทธ์องค์กรและกลยุทธ์ทางการตลาดให้ดีที่สุดและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั่นเอง



ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Lovemarks – ใช่แล้วครับ Lovemarks… ไม่ใช่ make love แน่นอน!



Lovemarks – ใช่แล้วครับ Lovemarks… ไม่ใช่ make love แน่นอน!

เคยได้ยินแต่ Trademark ที่แปลว่า “เครื่องหมายการค้า”
แต่คำนี้สิ “Lovemarks” ฟังแล้วสะดุดหู...แปลกดี...
น่าศึกษานะครับ...

ก็อย่างที่บอกครับ Lovemarks ไม่ใช่ make love
มันต้องเกี่ยวอะไรกับ “กลยุทธ์” อย่างแน่นอน...



Lovemarks นี่เป็นหลักการของ Kevin Roberts ซึ่งเขาพยายามจะสื่อว่า...
การทำเพียงแค่ Trandmark หรือ Brands นั้น... ไม่เพียงพอเสียแล้ว
ธุรกิจต้องเดินไปให้ถึง Lovemarks จึงจะสามารถอยู่ในใจของลูกค้าและเติบโตได้ต่อไปในอนาคต

เขากล่าวถึงการที่ธุรกิจจะต้องปรับตัวเพื่ออนาคต โดยการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า มุ่งเน้นไปที่การเชื่อมต่อธุรกิจกับ “อารมณ์ของลูกค้า” เป็นสำคัญ
หรือจริงๆแล้ว หากจะให้ถูกต้องกับความคิดของ Kevin คือ “อารมณ์ของมนุษย์” people emotion or Human emotion

Kevin ได้สร้างรูปแบบขึ้นมาอันหนึ่ง เรียกว่า “Love/Respect Axis
ซึ่งรูปแบบนี้ใช้ในการประเมินหรือวัดทางด้านอารมณ์และความผูกพันของลูกค้าต่อสินค้า(หรือแม้กระทั่งองค์กรเอง)
จุดที่ดีที่สุด คือ High Love + High Respect ซึ่งนั่นก็คือ จุกที่เรียกว่า “Lovemarks” นั่นเอง
ส่วน Brands จะอยู่ที่จุด Low Love + High Respect ซึ่งตรงนี้ธุรกิจก็พบความสำเร็จได้เหมือนกัน เพียงแต่ที่ Lovemarks คือ ความสำเร็จที่มากกว่าและดีกว่า
(หมายเหตุ-เรื่องที่เกี่ยวข้องกับ Trandmarks จะอยู่ที่จุด Brands นี่เอง)

โดยสรุปคือ หากธุรกิจกำลังดำเนินงานอยู่ในส่วนด้านบน ซึ่งก็คือ ฝั่ง High Respect ก็ถือว่ามีความสำเร็จได้ และที่เป็นประเด็นถัดมา ได้แก่ การเคลื่อนจากจุด Brands ไปสู่จุดที่ดีที่สุด ที่ Lovemarks

เคยรู้สึกหรือเคยพบไหมครับว่า...
Brands บางอย่าง... ดีเหลือหลาย
แต่คนไม่ติด...ไม่ขึ้นเท่าที่ควร...ส่งผลต่อธุรกิจของแบรนด์นั้น
ผมว่านั่นแสดงว่า... Brands นั้น ยังไปไม่ถึง Lovemarks อย่างแน่นอน...
ต้องปรับใหม่หรือสร้างบางส่วนเพิ่มเติม...

แล้วอะไรล่ะที่จะนำไปสู่ Lovemarks ?
คำตอบได้แก่ การทำในเรื่อง 3 เรื่องต่อไปนี้
1. Mystery สร้างความรู้สึกลึกลับ น่าค้นหา
2. Sensuality สร้างความรู้สึกให้หลงใหล ถวิลฝัน
3. Intimacy สร้างความรู้สึกเรื่องผู้หญิงผู้ชาย ความเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ ความลึกซึ้ง




ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Marketing - การแข่งขัน กับ ราคาและต้นทุน



Marketing - การแข่งขัน กับ ราคาและต้นทุน
Competition versus 'Price & Cost'

ในแง่การแข่งขันแล้ว...ต้องมองหลายมุม!

หากมองในมุมของ M. Porter ซึ่งทำเรื่องของกลยุทธ์การแข่งขัน หรือที่เรียกว่า Generic Strategy โดย มีมุมมองทางด้านความได้เปรียบในการแข่งขัน หรือ Competitive Advantage ใน 3 แบบด้วยกัน คือ
๑. เน้นที่ต้นทุน Cost Leadership
๒. เน้นที่ความแตกต่าง Differentiation
๓. เน้นที่จุดใดจุดหนึ่ง Focus (เช่น ตลาดจำเพาะ)

เมื่อธุรกิจเน้นไปที่ต้นทุน Cost ก็ย่อมสามารถเล่นเรื่อง “ราคาต่ำ” ได้ นั่นคือ มักจะเป็นผู้นำในการเข้าสู่สงครามราคา หรือ Red Ocean


แต่เมื่อธุรกิจเน้นไปที่สร้างความแตกต่าง Differentiation อันนี้ยากที่จะเล่นเรื่องราคา เพราะโยดปรกติแล้ว ผู้สร้างความโดดเด่นด้วยความแตกต่างนั้น มักจะต้องแบกรับภาระทางด้านต้นทุนที่สูงกว่ารายอื่นๆ ตัวอย่างเช่น การเน้นความแตกต่างด้านบริการที่ยอดเยี่ยม Excellent Services ซึ่งต้องใช้คน หรือ people เป็นเรื่องสำคัญ ทั้งเรื่องปริมาณคนและคุณภาพของคน นั่นคือ ต้องลงทุนมากขึ้น


และโดยเฉพาะรายใดที่ทำเรื่อง Blue Ocean strategy ก็ยิ่งต้องมีการลงทุนสูงมากตั้งแต่จุดเริ่มต้นในการค้นหาโอกาสใหม่ๆ ไปจนถึงการเปิดธุรกิจมุมใหม่ในอุตสาหกรรม และต้องเตรียมแผนป้องกันพวกที่จะตามมาเลียนแบบด้วย

อีกมุมหนึ่งที่อยากให้มองก็คือ...
มุมปัจจัยภายนอก และ ปัจจัยภายใน (External Factors and Internal Factors)
มุมปัจจัยภายนอก...
· ตรงนี้สามารถใช้รูปแบบของ M. Porter อีกรูปแบบหนึ่งในการวิเคราะห์หรือประเมินอิทธิพลของการแข่งขัน ได้แก่ 5 Forces Model ซึ่งมี 5 ด้านหลัก คือ
๑. ระดับการแข่งขันปัจจุบัน Degree of Existing Rivalry
๒. อุปสรรคสำหรับผู้จะเข้ามาใหม่ Threat of New Entrants
๓. อำนาจต่อรองของผู้บริโภค Bargaining from Consumer
๔. อำนาจของผู้ผลิต Power of Suppliers
๕. สินค้าที่จะเข้ามาทดแทน Substitution Goods


· ประเมินจาก “จำนวนผู้ขายในตลาด”
o โดยดูจากโครงสร้างอุตสาหกรรม 4 ประเภท คือ
§ ตลาดผูกขาด
ผู้ขายในตลาดนี้ แทบจะมีอยู่เพียงรายเดียว ดังนั้น การกำหนดราคาจึงทำได้ตามใจชอบ เรื่องต้นทุนไม่ใช่ประเด็นแล้ว
§ ตลาดกึ่งผูกขาด หรือ ผู้ขายน้อยราย
กำหนดราคาสูงได้เช่นกัน
§ ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
ผู้ขายมุ่งตลาดจำเพาะ ดังนั้น การตั้งราคาก็สามารถทำได้สูง
§ ตลาดแข่งขันสมบูรณ์
ตลาดนี้ผู้ซื้อผู้ผลิตและผู้ขายมีมาก ดังนั้น ราคาจึงเท่ากันหมดทุกรายที่ขายสินค้า เพราะไม่สามารถที่จะมีอิทธิพลกำหนดราคาได้ ประเด็นที่ต้องคิดคือ จะลดต้นทุนได้อย่างไร(ทั้งต้นทุนทางตรงและทางอ้อม) เพื่อความสามารถในการแข่งขัน

· ลักษณะของ “คู่แข่ง” ของธุรกิจของเรา
o แข็งแรง หรือ อ่อนแอ
o ใกล้ชิด หรือ ไกลห่าง (ไกลห่าง คือ มี สายผลิตภัณฑ์มากมายและหลากหลาย)
o ดี หรือ เลว (เลว คือ ไม่เล่นตามกฎกติกา)

มุมปัจจัยภายใน...
อันนี้ดูภายในขององค์กรเราเอง ได้แก่
· โครงสร้างต้นทุน
o ต้นทุนต่ำกว่า...ได้เปรียบ
o ต้นทุนสามารถยืดหยุ่นได้มากกว่า...ได้เปรียบ
o มุ่งเน้น “ความประหยัดด้านต้นทุน – Economic of scale” หรือไม่? ถ้าใช่...ได้เปรียบ
o ต้นทุนมีความสัมพันธ์กับ “คุณภาพ” มากน้อยเพียงใด? ... หากน้อย...ได้เปรียบ

· ความโดดเด่นหรือจุดแข็งของผลิตภัณฑ์หรือบริการ
o มีจุดแข็งหรือข้อได้เปรียบมากน้อยเพียงไร? หากมาก...ได้เปรียบ
o มีเรื่องสิทธิ หรือ สิทธิบัตร หรือ ลิขสิทธิ์หรือไม่? หากมี...ได้เปรียบ
o เรื่ององค์กร กลยุทธ์ โครงสร้าง หรือบุคลากร ได้เปรียบหรือไม่? ต้องประเมินให้ได้อย่างชัดเจน

...............................................................................
อีกมุมมองหนึ่งที่ต้องใช้ประเมิน คือ...
ผู้นำตลาด Market Leader ใช้กลยุทธ์ป้องกัน Defense strategy
ผู้ท้าชิง Market Challenger ใช้กลยุทธ์ท้าชิง Attack strategy
ผู้ตามตลาด Market Follower ใช้กลยุทธ์เลียนแบบ Imitation strategy

...............................................................................
ซุนวู กล่าวไว้ว่า...
“ฝ่ายที่รู้ว่า ควรรบหรือไม่ควรรบ ฝ่ายนั้นชนะ”
...............................................................................

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ริจะเป็น “ผู้บริหาร” ต้องรู้และทำหน้าที่ให้ครบถ้วน...



ริจะเป็น “ผู้บริหาร” ต้องรู้และทำหน้าที่ให้ครบถ้วน...

ผู้บริหาร หรือฝ่ายบริหาร มีหน้าที่ที่ต้องทำหลักๆ ที่เรารู้กันมี 4 อย่าง ได้แก่
๑. วางแผนเป็น Planning
๒. ทำโครงสร้างได้ Organizing
๓. นำพาเด่น Leading
๔. ควบคุมจัดการดี Controlling

วางแผนเป็น Planning
ประเด็นนี้จะเกี่ยวข้องกับเรื่อง “กลยุทธ์” Strategy เป็นหลัก
ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารระดับใด (ระดับสูง ระดับกลาง ระดับล่าง) ก็ต้องเข้าใจและทำกลยุทธ์ในแต่ละระดับ ที่สำคัญต้องสอดคล้องกันด้วยในทุกๆระดับ
และในเรื่องกลยุทธ์นี้ จะเกี่ยวพันกับ 3 เรื่องด้วยกันคือ
-การตั้งเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ Goals
-การวางแผนเชิงกลยุทธ์ Plans
-การควบคุมเชิงกลยุทธ์ Controls

ทำโครงสร้างได้ Organizing
เรื่อง “โครงสร้าง” จะต้องตามหลังการทำกลยุทธ์เสมอ… (อาจารย์แม่-นภาพร ขันธนภา)
สิ่งที่ต้องทำได้แก่
-การออกแบบงาน Jobs Design
-การออกแบบโครงสร้างองค์กร Structure Design
-การเลือกใช้รูปแบบบริหารจัดการ(อำนาจ) Delegation, Decentralization
-การประสานงาน Coordination

นำพาเด่น Leading
ความเป็นผู้นำที่ต้องเน้น 3 ส่วน คือ
-ภาวะผู้นำ Leadership
ใช้ทฤษฎีภาวะผู้นำ เช่น
-ทฤษฎีทางพฤติกรรม Behavior Theory (ของ Ohio State University)
โดยมองสองส่วน คือ คน และ งาน

-การสร้างแรงขับคลื่อน Motivation
ตังอย่างเช่น การใช้ทฤษฎี “ลำดับขั้นของความต้องการ” Needs ของมาสโลว์ Maslow’s Theory

-การจัดการเรื่องประสิทธิภาพงาน Performance

ควบคุมจัดการดี Controlling
ผู้นำต้องเก่งเรื่องการประสานงาน ควบคุม และจัดการทุกสิ่งทุกอย่างในเรียบร้อย มุ่งเข้าใกล้เป้าหมายที่ตั้งไว้ เพื่อประสบความสำเร็จร่วมกันของทีมงานทุกคน
………………………………………………..

สิ่งที่อยากจะเพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญมากๆ คือ
การตัดสินใจ Decision Making
ซึ่งก็เป็นประเด็นหนึ่งที่สำคัญ และพบว่าผู้นำทำการตัดสินใจแตกต่างกัน ผลลัพธ์ก็แตกต่างกัน

ลักษณะการตัดสินใจ 4 แบบ ได้แก่
๑. Directive style
ตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องการข้อมูลที่มากมายอะไร ส่วนมากมักมองผลระยะสั้นๆ
๒. Analytic style
ต้องการข้อมูลมากๆ เนื่องจากการระมัดระวังในการตัดสินใจนั่นเอง
๓. Conceptual style
คิดกว้าง มองทางเลือกไว้หลายๆทาง เพราะมองผลในระยะยาว
แนวนี้มักใช้ในการแก้ปัญหาแนวสร้างสรรค์
๔. Behavioral style
เปิดรับความคิดเห็นหลายๆมุม เพราะพยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้น




ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Differentiation strategy ไม่ต่าง ก็ตาย เลือกเอา?... เมื่อ “ต่าง”... คุณได้ไปต่อ... เชิญ!











เมื่อเอ่ยถึง “การตลาด” หรือ “กลยุทธ์”...
เรื่องหนึ่งที่คุณต้องได้ยินแน่ๆ คือ “ความแตกต่าง” ที่ไม่เหมือนใคร หรือ Differentiation

เมื่อ “ไม่ต่าง”... ธุรกิจไปไม่รอด สุดท้ายก็มะรุมมะตุ้มกัน ด้วย “ราคา” ลดกันให้สนั่น...
สุดปลายทางของสินค้าหรือบรการตัวนั้น ก็ คือ “ออกจากตลาดไป” (อย่างน่าเสียดาย)

ปัญหานี้แก้อย่างไร?
ตอนนี้คงตอบกันง่ายๆแบบหยาบๆว่า ก็ “สร้างความแตกต่าง” นั่นไง!
คำถามคือว่า “แล้วจะทำไง_?”

ครั้งนี้อยากจะให้มุมมองหรือแนวคิดการสร้างความแตกต่างไว้ครับ
“ไม่ต่าง ก็ตาย”...

Differentiation strategy (มองกันเป็นเชิงกลยุทธ์เลย)
มีคนกล่าวว่า...
“นักการตลาด(ที่ดี) ต้องเริ่มจากมุมคิดอย่างมั่นใจว่า ความแตกต่างสร้างได้กับทุกสิ่ง!...”
คิดได้ดั่งนี้ จึงจะไปต่อได้...
ผมเห็นน้องหลายคนไม่มีมุมคิดนี้เลย แล้วจะเล่นกับการตลาดได้ยังไง?
ก็ได้แต่บอกว่า... “เอ็งทำการขายเหมือนเดิมน่ะดีแล้ว นั่นเป็นจุดที่เอ็งเก่ง...”

ความคาดหวังกับ “การสร้างความแตกต่าง” คือ...
-เพื่อให้เกิดคุณค่า (ในสายตาของลูกค้าเป้าหมายนะครับ ไม่ใช่สายตาพวกกันเอง...)
-เพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน (กับคู่แข่งเป้าหมาย)

ตัวอย่าง...
-สินค้าของดิฉัน เน้นการรักษาโรคแบบตรงจุด(เฉพาะโรคเดียว) คือ ได้ผลดีที่สุดกับโรค ก. มีงานวิจัยพิสูจน์มากมาย (คุณค่า)
-ด้วยเพราะสินค้าของดิฉัน “ได้ผลดีที่สุดกับโรค ก.” จึงยังไม่มีสินค้าอื่นๆ ที่รักษาได้แบบนี้ ส่วนมากจะเน้นการรักษาแบบกว้างๆ
เป็นต้น

ในมุมของความคาดหวังกับการสร้างความแตกต่าง “เพื่อให้เกิดคุณค่า” นั้น
มีหลักเกณฑ์ให้พิจารณาดังนี้
-ให้ความสำคัญ Important
-ต้องโดดเด่น Distinctive
-ต้องเหนือกว่า Superior
-เริ่มก่อนคนอื่น Preemptive
-ลูกค้าเป้าหมายต้องซื้อได้ Affordable
-บริษัทต้องทำแล้วได้กำไร Profitable

ในมุมของความคาดหวังกับการสร้างความแตกต่าง “เพื่อให้เกิดเกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน” นั้น มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอยู่ 5 ด้านหลัก ได้แก่




-แตกต่างด้านผลิตภัณฑ์ Product




-แตกต่างด้านบริการ Services
งานด้านบริการจะเกี่ยวพันกับเรื่อง “คน” มากที่สุด (บุคลากรขององค์กรนั่นเอง)




-แตกต่างด้านคน Personnel
มี 6 คำหลักที่เกี่ยวข้องคือ..
-พนักงาน มีความรู้ ความสามารถ และ ทักษะ Competence
-พนักงาน สุภาพ มีความนอบน้อม และ เป็นกันเอง Courtesy
-พนักงาน มีความน่าเชื่อถือ Credibility
-พนักงาน เต็มใจบริการ และสมบูรณ์แบบ Reliability
-พนักงาน ตอบสนองรวดเร็ว รังฟังข้อคิดเห็น Responsiveness
-พนักงาน สื่อสารชัดเจน และมีประสิทธิภาพ Communication

-แตกต่างด้านช่องทางการขาย Channel
มี 2 คำหลักที่เกี่ยวข้องคือ..
-ครอบคลุม Convergence
-มีประสิทธิภาพ Performance

-แตกต่างด้านภาพลักษณ์ Image
มี 2 คำที่เกี่ยวข้องคือ..
-เอกลักษณ์ Identity คือ สิ่งที่บริษัทมุ่งจะทำให้เกิดขึ้น
-ภาพลักษณ์ Image คือ สิ่งที่คนทั่วไปและลูกค้าเป้าหมายรับรู้ได้ในเรื่องเกี่ยวกับบริษัท
แนวคิดคือ “การใช้เอกลักษณ์ในการสร้างภาพลักษณ์”




ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

MKTG – การแบ่งส่วนทางการตลาด แบบ VALS Segmentation System



MKTG – การแบ่งส่วนทางการตลาด แบบ VALS Segmentation System

ในเรื่อง “การตลาด” Marketing...
หัวใจของการตลาดเรื่องหนึ่งที่สำคัญยิ่ง คือ “ STP ”...
ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญ และต้องทำต่อเนื่องกัน ได้แก่
การแบ่งส่วนทางการตลาด หรือ Segmentation
การแบ่งและเลือกกลุ่มตลาด/ลูกค้าเป้าหมาย หรือ Targeting
และการวางตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับตลาด/ลูกค้าเป้าหมาย หรือ Positioning

ในส่วนของ “การแบ่งส่วนทางการตลาด” นั้น...
ส่วนมากมักจะแบ่งตามแบบที่เป็นมาตรฐานคล้ายๆกัน เช่น...
ตามอายุ
ตามเพศ
ตามขนาด
ตามพื้นที่
เป็นต้น

แต่มีการแบ่งอีกแบบหนึ่ง ที่หลายคนอาจไม่คุ้นเคยกันนัก (แต่ดูแล้วมีประโยชน์มากในรายละเอียด) คือ...
การแบ่งส่วนแบ่งทางการตลาดโดยใช้เกณฑ์กลุ่มคนที่มีมุมด้านจิตวิทยาแตกต่างกัน ทำให้แสดงพฤติกรรมออกมาแตกต่างกัน
Psychographic segmentation
โดยวิธีนี้สร้างขึ้นจาก SRI Consulting Business Intelligence เรียกว่า... “VALS Framework”

โดยมีกรอบที่เป็นตัวจัดกลุ่มคนต่างๆด้วยการวัดจาก “การถูกกระตุ้น” Motivation ดังนี้ คือ
กรอบที่หนึ่ง “แนวความคิด” มุ่งเรื่องการมีความรอบรู้และใช้หลักการ
กรอบที่สอง “ความสำเร็จ” มุ่งการเลือกสินค้าหรือบริการที่สะท้อนความสำเร็จมากกว่าคนรอบข้าง
กรอบที่สาม “การแสดงตัวตน” มุ่งเรื่องการแสดงออก มีความหลากหลาย กล้าเสี่ยง เรียนรู้ มีส่วนร่วม



“VALS Segmentation System” ประกอบด้วย 8 กลุ่มหลักๆด้วยกัน ได้แก่
1. กลุ่มคนที่เน้นสินค้าด้านนวัตกรรม Innovators
เป็นคนทันสมัย เชื่อมั่นตนเองสูง High Self-esteem
เปิดใจรัยสิ่งใหม่ๆ ชอบเทคโนโลยี ชอบซื้อสินค้าเฉพาะกลุ่ม ไม่เหมือนใคร เรื่อง “ภาพพจน์” สำคัญมาก Image, Personality
มีกำลังซื้อสูงที่สุด
เช่น iPhone, Apple computer, กาแฟสตาร์บัค

2. กลุ่มคนที่ชอบสินค้าแนวความคิด Thinkers
เป็นคนที่ชอบสินค้าที่กระตุ้นความคิดและอารมณ์ ให้เห็นด้านอุดมคติ ความรอบรู้ ความรับผิดชอบ
สินค้ามีคุณค่าในตัวเอง
มีการศึกษามาก จะเลือกสินค้าก็ต้องดูรายละเอียดเยอะหน่อย
แต่การเลือกซื้อก็พิจารณาหลายประเด็น(คิดเยอะ!) เช่น การใช้งานต้องได้ประโยชน์จริง Functionality ใช้งานได้ทนทาน Durability
เช่น รถอีซูซุ

3. กลุ่มคนที่ชอบสินค้าเน้นสะท้อนความสำเร็จ Achievers
เป็นคนที่ชอบสินค้าที่สะท้อนภาพความสำเร็จ หรือสะท้อนฐานะทางสังคมที่สูงกว่าคนทั่วไป
เรื่องภาพพจน์ก็เป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนกลุ่มนี้ Image
เป็นคนที่เน้นด้านความสำเร็จเป็นที่ตั้ง ดังนั้น กลุ่มนี้จะชอบสินค้าที่ส่งเสริมให้ประหยัดเวลา Time-saving
เช่น รถเบนซ์

4. กลุ่มคนที่ชอบสินค้าที่เน้นการมีประสบการณ์ร่วม Experiencers
เป็นคนที่ชอบสินค้าที่เน้นด้านอารมณ์ เช่น แฟชั่น บันเทิง หรือ การร่วมกิจกรรมสังคม
ชอบสินค้าที่ต้องได้ลอง ท้าทาย มีส่วนร่วมในสินค้า
สินค้าที่เลือกต้องมีภาพ “โดนใจ” “เจ๋งจริง” Cool!
เช่น สินค้าแฟชั่นต่างๆ(เสื้อผ้า แว่นตา) กลุ่มบันเทิง(ภาพยนตร์ สวนสนุก)

5. กลุ่มคนที่ชอบสินค้าแบบเดิมที่ตนเชื่อถือ Believers
เป็นคนที่ชอบสินค้าที่ตนเองพิสูจน์แล้วมาอย่างยาวนาน รักแบรนด์ ไม่เปลี่ยนใจง่ายๆ
การเลือกมักเกี่ยวข้องกับ ครอบครัว ชุมชน ศาสนา หรือ ชาตินิยม
เช่น บุหรี่ น้ำอัดลม

6. กลุ่มคนที่ชอบสินค้าตามกระแสสังคม Strivers
เป็นคนที่ใช้สินค้าตามกระแสสังคม โดยเฉพาะที่มีโมเดลต่างๆใช้(เช่น ดารา นักร้อง) ก็จะใช้ตามโมเดลนั้นๆ
คนกลุ่มนี้จะให้ความสนใจกับสังคมที่ตนอยู่มาก สนใจว่าเพื่อนคิดอย่างไรกับตัวเขาเองเวลาเลือกใช้สินค้า ทำให้มักใช้สินค้าตามที่กลุ่มเลือกใช้(จะได้เข้ากลุ่มได้เนียน)
แต่เนื่องจากเงินมีน้อย จะมักใช้ของถูกหรือของเลียนแบบ
เช่น สินค้าแฟชั่น(ของเลียนแบบ)

7. กลุ่มคนที่ชอบสินค้าที่เน้นใช้งานจริงๆเท่านั้น Makers
เป็นคนที่ไม่ค่อยออกไปไหน มักอยู่ที่บ้านหรือที่ทำงานเท่านั้น ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย
จึงเป็นคนที่ไม่ค่อยซื้อของ จะซื้อเท่าที่จำเป็น
เช่น ของกินของใช้ประจำวัน

8. กลุ่มคนที่ไม่ชอบเปลี่ยงแปลงการใช้สินค้า Survivors
เป็นคนที่มองว่าโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนพวกเขาเองอาจจะตามไม่ทัน คนกลุ่มนี้จึงมุ่งหวังทางด้านความปลอดภัยและไม่เสี่ยง(Safety and security) เช่น คนที่ค่อนข้างสูงวัยหรือเกษียณแล้ว ซึ่งไม่ค่อยชอบอะไรใหม่ๆ ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เพราะของใหม่ๆจะต้องใช้เวลาเรียนรู้มาก(ตัวเองกลับเริ่มเรียนรู้ช้าลง)
จึงมักใช้สินค้าแบบเดิมๆที่เคยใช้ โดยเฉพาะหาก“ลดราคาแล้วล่ะก็...ใช่เลย”

ประเด็นสรุปอีกด้านหนึ่งคือ...
กลุ่มที่ 1-4 ถือว่ามีกำลังซื้อสุง
ส่วนกลุ่มที่ 5-8 มีกำลังซื้อต่ำ


ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด

อ๋อ ขอรับ


picture from http://www.strategicbusinessinsights.com/vals/ustypes.shtml

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เศรษฐศาสตร์ฟาร์มหมู - พื้นฐานสร้างกลยุทธ์




































การผลิตสุกร "เป็นตลาดแข่งขันแบบสมบูรณ์"

ในทางเศรษฐศาสตร์แล้ว... ถือว่า การเลี้ยงสุกรนั้น อยู่ในตลาดแข่งขันแบบสมบูรณ์ โดยมีเงื่อนไขหรือรายละเอียดของการเลี้ยงสุกรคล้ายคลึงกับนิยามของตลาดแข่งขันแบบสมบูรณ์ ดังนี้

๑. ผู้ผลิตสุกรหรือขายสุกร และผู้ซื้อสุกรนั้น มีจำนวนมาก จำนวนการซื้อขายของแต่ละรายมีปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับตลาดทั้งหมด และการเปลี่ยนแปลงปริมาณซื้อขายของผู้ซื้อผู้ขายสุกรรายหนึ่ง จะไม่ส่งผลกระทบต่อราคาตลาดการเลี้ยงสุกร

๒. สุกรมีชีวิตของผู้ผลิตสุกรแต่ละราย มีลักษณะใกล้เคียงกันมากในสายตาผู้ซื้อ แม้จะมีพันธุกรรมแตกต่างกันไปก็ตาม ดังนั้นผู้ซื้อสุกรจะเลือกซื้อกับใครหรือฟาร์มใดก็ได้ในตลาด

๓. ฟาร์มที่เลี้ยงสุกรจะถือว่าเป็นผู้ตามราคา เนื่องจากผู้ผลิตหรือฟาร์มแต่ละรายไม่สามารถมีอิทธิพลต่อราคาของตลาดซื้อขายได้ ราคาสุกรมีชีวิตจะถูกประกาศออกมาจาก "สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ" ซึ่งจะกำหนดจากอุปสงค์และอุปทานของตลาดเป็นหลัก

๔. ผู้ผลิตหรือฟาร์มสุกร ผู้ขายสุกร และผู้ซื้อสุกรนั้น สามารถเข้าออกจากธุรกิจ/ตลาดได้ง่าย เป็นไปอย่างเสรี หากฟาร์มต้องการเพิ่ม ลด เลิกเลี้ยงสุกร ก็สามารถทำได้อย่างเสรี ทำเมื่อใดก็ได้ ทำให้การควบคุมปริมาณยากมาก เนื่องจากเป็นสิ่งมีชีวิตซึ่งให้ผลผลิตที่ไม่แน่นอน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดการป่วยหรือการเกิดโรคระบาดสุกร

๕. ฟาร์มสุกร หรือผู้ขายผู้ซื้อสุกร สามารถเคลื่อนย้ายสุกรไปในที่ต่างๆได้ง่าย และสะดวก

๖. เนื่องจากตัวสุกรมีชีวิตถือว่าเป็นสินค้าที่มีลักษณะที่ไม่แตกต่างกัน ผู้ขายและผู้ซื้อสุกรจึงมีความรู้เกี่ยวกับสุกรและการซื้อขายสุกรในตลาดเป็นอย่างดี

กำไรของฟาร์มหมู
ฟาร์มสุกรจะได้ "กำไรเกินปรกติ" ในกรณีนี้ที่ฟาร์มสุกรนั้นมีรายรับเฉลี่ยที่มากกว่าต้นทุนเฉลี่ยนั่นเอง
กำไรเฉลี่ยต่อหน่วย = รายรับเฉลี่ยต่อหน่วย - ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วย
ซึ่งในทางปฏิบัติแล้ว เมื่อธุรกิจมีกำไรเกินปรกติ จะทำให้มีผู้ผลิต/ฟาร์มสุกรรายใหม่เกิดขึ้นในระบบ เมื่อดูในระยะยาวแล้ว กำไรก็จะปรับลดลงมาใกล้เคียงกับ "กำไรปรกติ" หรือ "จุดคุ้มทุน" ในที่สุด ดังรูปข้างบน ณ จุด E
ซึ่งที่จุดนั้นจะพบว่า MC=MR=AC นั่นเอง

การกำหนดราคาในทางปฏิบัติ
การตั้งราคาโดยทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์นั้นดูเหมือนง่ายตามเงื่อนไขที่มีการตั้งเป็นเกณฑ์ไว้ เช่น การให้ปัจจัยบางอย่างเป็นปัจจัยคงที่ เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงนั้นการตั้งราคาเพื่อให้ได้กำไรสูงสุด(หรือขาดทุนน้อยที่สุด)นั้น มีข้อจำกัดอยู่หลายด้านด้วยกัน...เช่น การที่ฟาร์มสุกรไม่สามารถรู้ข้อมูลด้านต่างๆได้ทั้งหมดอย่างสมบูรณ์ครบถ้วน หรือ บางครั้งในระยะสั้นๆแล้วฟาร์มสุกรอาจจะไม่ได้มุ่งที่จะเอากำไรสูงสุดก็ได้ เป็นต้น

ดังนั้น...
เป้าหมายของการทำฟาร์มเลี้ยงสุกร...
จึงต้องกำหนดที่การได้กำไรอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ในแต่ละเดือนหรือแต่ละชุดสุกรที่ส่งขายตลาด โดยไม่ขาดทุน...
หรือหากขาดทุนก็ให้ขาดทุนในระยะสั้นๆเท่านั้น ...

อ๋อ ขอรับ




วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

7 Multiple Intelligences ความเก่ง 7 ชนิด “พหุปัญญา”

7 Multiple Intelligences
ความเก่ง 7 ชนิด หรือ เรียกว่า “พหุปัญญา” ก็ได้

 เรารู้ว่า...
เมื่อเราทำอะไรที่เราถนัด เรามักจะทำมันได้ดีมากๆ ผลลัพธ์แบบสุดยอด
เหมือนเวลาเราทำงานก็เช่นกัน...
หากเรารู้ความเก่งหริอความสามารถของเราแล้ว
และเราสามารถเลือกทำงานได้ตรงกับความเก่งของเรา
ผลงานที่ออกมาก็คงจะนำพาทีมงาน องค์กร หรือประเทศ ก้าวหน้าไปได้อย่างรุ่งโรจน์

ประเด็นคือว่า...
มีสักกี่คนที่สามารถล่วงรู้จริงๆว่าเรามี “ความเก่ง” อะไรบ้าง?


7 Multiple Intelligences ความเก่ง 7 ชนิด หรือ ที่หลายคนเรียกว่า “พหุปัญญา” นั้น
ประกอบด้วยความเก่งที่พิสูจน์แล้วว่า...
สามารถแยกออกมาเป็น 7 อย่างที่ชัดเจน ได้แก่
1.    ความเก่งด้านภาษา(Linguistic)
ความสามารถในการใช้ภาษา ถ้องคำ สำนวน จับประเด็นหรือใจความสำคัญเก่ง เขียนหนังสือได้ดี การอ่านการเขียนดี
เช่น กวี นักหนังสือพิมพ์ นักกฎหมาย

2.    ความเก่งด้านตรรก-คณิตศาสตร์(Logical-Mathematical)
ความสามารถทางด้านตัวเลข จำนวน การจัดลำดับ ค้นหารูปแบบ สร้างสมมติฐาน ใช้ชีวิตแบบมีเหตุผล
เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักบัญชี นักคอมพิวเตอร์

3.    ความเก่งด้านมิติ(Spatial)
ความสามารถในการคิดเป็นภาพ มองโลกเห็นเป็นภาพต่างๆ จำลองสร้างภาพได้ มีประสาทความไวในการดู สามารถมองเห็นรายละเอียดและจำลอองภาพในสมองได้ดี
เช่น ศิลปิน นักบิน วัศวกร สถาปนิก ช่างภาพ

4.    ความเก่งด้านดนตรี(Musical)
ความสามารถในเรื่องเสียง ทำนอง จังหวะ สามารถผลิตทำนองหรือจังหวะได้ ประสาทหูไวต่อเสียง ร้องเพลงได้ถูกจังหวะ
เช่น Beethoven, Bach

5.    ความเก่งด้านร่างกาย-การเคลื่อนไหว(Bodily-Kinesthetic)
สามารถควบคุมการเลื่อนไหวของร่างกายได้ดี ใช้มือในการหยิบจับหรือกระทำกับสิ่งของได้อย่างคล่องแคล่ง
เช่น นักกีฬา นักประดิษฐ์ ช่างไม้ ช่างตัดเสื้อผ้า ศัลยแพทย์

6.    ความเก่งด้านมนุษยสัมพันธ์(Interpersonal)
เข้าใจผู้อื่น ทำงานกับผู้อื่นได้ดี สังเกตและรับรู้อารมณ์ ความคิด ความปรารถนาของผู้อื่น
เช่น ครู นักบริหาร นักการเมือง นักสร้างเครือข่าย นักไกล่เกลี่ย นักประสานงาน

7.    ความเก่งด้านรู้จิตใจของตนเอง(Intrapersonal)
สามารถแยกสภาพจิตใจและอารมณ์ของตนเองได้ นำความเข้าใจจิตใจของตนปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มักพึ่งพาตนเอง ชอบอิสระเสรี มีวินัยในตนเองสูง ชอบทำงานลำพัง
เช่น พระ นักสอนศาสนา นักแนะแนว นักธุรกิจ Business Owner

มีข้อน่าคิดหรือข้อสังเกต “เพิ่มเติม” คือ
-สามารถเก่งได้หลายอย่างในคนคนเดียวกัน
-สามารถพัฒนาให้ครบทั้ง 7 ด้านได้ (แม้อาจไม่เลิศเลอ)
-คนที่มีครบทั้ง 7 ด้านก็มีอยู่จริงบนโลกนี้
ตัวอย่างคือ Rudoff Steiner
ลองไปดูประวัติของเขาในอินเตอร์เน็ตอีกมีนะครับ
เผื่อจะสร้างกำลังใจให้เราพัฒนาให้ครบทั้ง 7 ด้าน

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ
(อ่านเพิ่มเติมใน Many kinds of Minds: The theory of Multiple Intelligences ศ.ดร. อารี สัณหฉวี ผู้แปล)

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Herzberg’s Motivation – Hygiene Theory...ทฤษฎีสร้างกำลังใจของ “เฮิร์ซเบิร์ก”

Herzberg’s Motivation – Hygiene Theory
ทฤษฎีสร้างกำลังใจของ “เฮิร์ซเบิร์ก”

“การสร้างกำลังใจ” ให้กับคนในองค์กร เป็นเรื่องสำคัญมากๆ
เรามักจะพูดกันว่า “การจัดการคน เป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องสำคัญที่สุด”
“การจัดการเรื่อง คน เป็นเรื่องยากที่สุด”
ซึ่งก็ “จริง”...

ประเด็นคือ “เราจะเลือกใช้หลักการหรือทฤษฎี” ตัวไหนเข้ามาจับ ?
สมัยก่อนเราพูดกันเรื่อง “คนเก่ง” Talent
ต่อมาเราก็พูดกันเรื่อง “ความรักและผูกพัน” Engagement
และก็มีทฤษฎีอยู่อีกเยอะมากในการเลือกใช้

สิ่งหนึ่งที่ผมรับรู้จากประสบการณ์คือ...
มีหลายคนพูดได้ นำเสนอหลักการได้เก่งมาก...แต่พอดูพฤติกรรมหรือการปฏิบัติตัวของคนนั้น
กลับพบว่า...มันไม่เป็นไปตามที่เขาพูด..
เข้าทำนอง “แม่ปูสอนลูกปู” หรือ “ว่าแต่เขา อิเหนาเป็นเอง”...ประมาณนั้น

แต่อย่างไรก็ตาม เราก็คงต้องเรียนรู้หลักการและทฤษฎีเรื่องคนให้เยอะพอ ที่จะเก็บไว้เหมือนดาบประจำตัว
และฝึกใช้ให้คล่อง...เพราเมื่อถึงเวลาที่ต้องใช้จริง...
มันคงพอจะเอาไว้แก้ไขหรือจัดการอะไรบางอย่างให้ลุล่วงไปได้...นั่นเป็นอย่างน้อยที่สุดที่เราต้องการ

เรื่อง “การสร้างกำลังใจ” หรือ การกระตุ้นให้คนทำงาน ลุกขึ้นไปทำอะไรบางอย่างนั้น มีหลายทฤษฎี
ครั้งนี้ผมอยากนำเสนอของ  ทฤษฎีสร้างกำลังใจของ “เฮิร์ซเบิร์ก”
Herzberg’s Motivation – Hygiene Theory
เพราะผมชอบในรายละเอียดและการจัดหมวดของเขา



เฮิร์ซเบิร์ก แบ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อกำลังใจในการทำงาน Motivation at work ออกเป็น 14 ปัจจัยซึ่งสามารถจัดออกเป็น 2 หมวด...
 คือทั้งส่วนที่เป็นความรู้สึกที่ดี(สร้างกำลังใจมากขึ้น) และความรู้สึกที่ไม่ดี(ทำลายหรือบั่นทอนกำลังใจในการทำงาน)

ส่วนที่เป็นความรู้สึกที่ดี(สร้างกำลังใจมากขึ้น) 6 ปัจจัย ได้แก่
1.    Achievement
ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการทำงาน ซึ่งสามารถทำงานได้เรียบร้อย หรือ สามารถแก้ไขปัญหาได้

2.    Recognition
การชื่มชมในสิ่งที่ทำ อาจเป็นคำชมอย่างเดียว หรือ คำชมที่มีรางวัลด้วย

3.    Possibility of growth
การเติบโตในหน้าที่การทำงาน ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับการเพิ่มศักยภาพการทำงาน

4.    Advancement
การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ตำแหน่งหรือสถานภาพสูงขึ้น

5.    Responsibility
การได้รับความรับผิดชอบอย่างชัดเจนและสามารถใช้อำนาจในการจัดการทำงานได้อย่างดีหรือเต็มที่

6.    The Work itself
ตัวงานที่น่าสนใจและทำแล้วมีความสุขกับการทำงานนั้นๆ

ส่วนที่เป็นความรู้สึกที่ไม่ดี(ทำลายหรือบั่นทอนกำลังใจในการทำงาน) 8 ปัจจัย ได้แก่
1.    Company policy and administration
ปัจจัยนี้เกี่ยวเนื่องกับนโยบายขององค์กร โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง “คน”
หรือการจัดการบริหารหรือการจัดสรรบุคลากรในองค์กรเป็นอย่างไร
ดูแล้วมีโอกาสเติบโตไหม ยากง่ายอย่างไร

2.    Supervision - technical
ปัจจัยนี้เกี่ยวข้องกับตัว “เจ้านาย” ที่มีลูกน้อง เจ้านายทุกระดับที่ดูแลพนักงาน โดยดูกันที่การเข้าหาง่ายหรือยาก ความสามารถของเจ้านายเป็นอย่างไร หรือโดยเฉพาะที่เป็นประเด็นมากคือ “เจ้านายมีความยุติธรรมมากแค่ไหน?”

3.    Interpersonal relations
ความสัมพันธ์ของคนในองค์กรในทุกรูปแบบ
เจ้านายกับลูกน้องเป็นอย่างไร หรือกับเพื่อนร่วมงานกันเป็นอย่างไรบ้าง
คุณภาพชีวิตในที่ทำงานก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต้อความรู้สึกและกำลังใจในการทำงาน

4.    Salary
เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับรายได้ในการทำงาน
โดยรวมแล้วรายได้เป็นอย่างไร ไม่ว่าจะเป็น เงินเดือน สวัสดิการ และอื่นๆ

5.    Status
ปัจจัยนี้เป็นมุมมองหรือความรู้สึกในการเปรียบเทียบสถานภาพของตนเองกับคนอื่นๆในองค์กร
อาจเป็นตำแหน่งหรือระดับในองค์กร หรืออาจเป็นการมองในแง่ขนาดขององค์กรเล็กหรือใหญ่

6.    Job Security
ปัจจัยนี้ก็ตรงตัวอยู่แล้วคือ “ความปลอดภัยในการทำงาน” หรือ ทำงานได้อย่างยั่งยืนยาวนานแค่ไหน
มีโอกาสที่จะต้องตกงานหรือต้องเปลี่ยนงานใหม่ มากน้อยเพียงใด

7.    Personal Life
ปัจจัยนี้จะประเมินในประเด็นที่ว่า การทำงานนี้แล้ว ชีวิตส่วนตัวดีหรือพอใจแค่ไหน
มีความเครียดจากการทำงานมากน้อยเพียงใด
การทำงานส่งผลต่อครอบครัวหรือไม่ (เช่น ทำงานหนักจนไม่เคยเห็นหน้าลูกเมีย)

8.    Working Conditions
ปัจจัยนี้เกี่ยวกับลักษณะของที่ทำงาน
มีองค์ประกอบที่ทำให้เราทำงานได้สะดวกมากน้อยเพียงใด (มีห้องทำงาน มีโต๊ะทำงาน เป็นต้น)
ปริมาณงานที่ต้องรับผิดชอบมากน้อยเพียงใด
สิ่งแวดล้อมในการทำงาน ส่งเสริมการทำงานให้ได้ดีหรือไม่ (แสงสว่าง การระบายอากาศ เป็นต้น)

รวมทั้งหมด 14 ปัจจัยใน ทฤษฎีสร้างกำลังใจของ “เฮิร์ซเบิร์ก” (Herzberg’s Motivation – Hygiene Theory) ลองนำไปพิจารณาและลองปรับใช้ดูครับ น่าจะทำให้องค์กรดียิ่งขึ้น มีคนที่พอใจในงานและองค์กรมากขึ้น ผงงานทั้งรายบุคคลและองค์กรดียิ่งขึ้น

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Change level of Strategy ระดับการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์

Change level of Strategy

การสร้างกลยุทธ์นั้นยาก...
แต่การทำให้กลยุทธ์สำเร็จนั้น ยากมากๆ...
มีคนบอกว่า...70% ของความล้มเหลวในการทำกลยุทธ์ ไม่ได้มาจากกลยุทธ์ไม่ดี แต่มาจากการนำกลยุทธ์ไปใช้ไม่มีประสิทธิภาพมากกว่า (Fortune Magazine 1999)

ผมว่าตรงนี้จริงครับ...จากประสบการณ์ผมเอง
หลายๆครั้งมีคนชื่นชมกลยุทธ์ที่ผมกำลังใช้อยู่ว่าดีสุดยอด นำสมัย แต่ทำไมเวลาเอาไปทำมันไม่ค่อยออกฤทธิ์
เท่าที่ควรจะเป็น
ซึ่งผมมานั่งทบทวนดูแล้ว มันมีหลายสาเหตุเหมือนกัน...ซึ่งส่วนหนึ่ง(และสำคัญมาก)คือ ช่วงการปฏิบัติตามกลยุทธ์นั้น ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ก็ต้องปรับกันใหม่เพื่อไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายครับ

ดังนั้น เราจึงต้องมาพิจารณาสิ่งที่จะทำให้การทำกลยุทธ์เป็นไปได้อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จ
ซึ่งจะสัมพันธ์กับการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมตามสถานการณ์ในปัจจุบันที่องค์กรกำลังประสบอยู่

ประเด็นที่จะพิจารณา คือ
๑.     ระดับการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ ว่าองค์กรได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ไปจากกลยุทธ์เดิมมากหรือน้อยเพียงใด
๒.     โครงสร้างขององค์กรหลังการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์นั้น ต้องปรับมากหรือน้อยเพียงใด
๓.    ระดับของความเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง เพื่อควบคุมให้การทำกลยุทธ์ใหม่สำเร็จได้ตามเป้าหมาย


http://www.ideachampions.com/weblogs/change-architect-sign1.jpg



ระดับการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ มี 5 ระดับด้วยกัน คือ
ระดับที่ 1 ไม่เปลี่ยนแปลง หรือกลยุทธ์ใหม่มีความคล้ายคลึงกับกลยุทธ์เดิม (Continuation Strategy) ดังนั้นให้รักษาความต่อเนื่องของกลยุทธ์ต่อไป
พบในกรณีที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่อง
-ประเภทของกิจการ
-ลักษณะขององค์กร
-ลักษณะผลิตภัณฑ์
-การตลาด

ระดับที่ 2 เปลี่ยนแปลงเล็กน้อย (Routine Strategy Change)
พบในกรณีที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่อง
-ประเภทของกิจการ
-ลักษณะขององค์กร
-ลักษณะผลิตภัณฑ์
แต่มีการเปลี่ยนแปลงในด้าน “การตลาด”
เช่น เปลี่ยนแปลงการโฆษณา เป็นต้น

ระดับที่ 3 เปลี่ยนแปลงในขอบเขต (Limited Strategy Change)
พบในกรณีที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่อง
-ประเภทของกิจการ
-ลักษณะขององค์กร
แต่มีการเปลี่ยนแปลงในด้าน “ลักษณะผลิตภัณฑ์” ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องในการเปลี่ยนแปลงด้าน “การตลาด”
เช่น บริษัทที่เคยขายยาแบบผง ทำการพัฒนารูปแบบใหม่ให้เป็นยาน้ำ ทำให้มีข้อดีของผลิตภัณฑ์มากขึ้น ละส่งผลให้มีการทำการตลาดแบบใหม่กับผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่นี้ไปด้วย เป็นต้น

ระดับที่ 4 เปลี่ยนแปลงแบบชัดเจน หรือ อย่างรุนแรง (Radical Strategy Change)
พบในกรณีที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่อง “ประเภทของกิจการ”
แต่มีการเปลี่ยนแปลงในด้าน “ลักษณะขององค์กร” ซึ่งจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง“ลักษณะผลิตภัณฑ์” แล้วจะไปส่งผลต่อเนื่องในการเปลี่ยนแปลงด้าน “การตลาด” ตามไปด้วย
เช่น องค์กรทำธุรกิจด้านยาฆ่าเชื้อ ทำการซื้อกิจการของบริษัทที่ทำทางด้านยาถ่ายพยาธิรวมเข้ามา ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนองค์กรแบบใหม่ โดยเพิ่มสายผลิตภัณฑ์ใหม่เข้ามา แล้วต้องมีการจัดโครงสร้างองค์กรใหม่เพื่อให้ทำงานได้กลมกลืนทั้งสองส่วน เป็นต้น
 
ระดับที่ 5 เปลี่ยงแปลงทิศทางขององค์กร (Organizational Redirection)
พบในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่อง “ประเภทของกิจการ” ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในด้าน “ลักษณะขององค์กร” และจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้ง “ลักษณะผลิตภัณฑ์” และด้าน “การตลาด” ตามไปด้วย
เช่น องค์กรที่เคยทำธุรกิจเลี้ยงสัตว์ ได้ปรับเปลี่ยนทิศทางองค์กรโดยการพยายามลดสัดส่วนของการทำธุรกิจฟาร์ม เพื่อไปเริ่มธุรกิจใหม่ คือ ธุรกิจโรงแรม เป็นต้น

หลังจากเราได้เข้าใจระดับการเปลี่ยงแปลงของกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนแผนงานหรือทิศทางขององค์กรแล้ว สิ่งที่ต้องทำถัดไปคือ “การปรับโครงสร้างขององค์กร” ให้สอดคล้องกับระดับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อให้การดำเนินงานตามกลยุทธ์ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้อย่างราบรื่น

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

อ่านเพิ่มเติมใน Strategic planning ของ อ.วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์ (และคณะ)