Change level of Strategy
การสร้างกลยุทธ์นั้นยาก...
แต่การทำให้กลยุทธ์สำเร็จนั้น ยากมากๆ...
มีคนบอกว่า...70% ของความล้มเหลวในการทำกลยุทธ์ ไม่ได้มาจากกลยุทธ์ไม่ดี แต่มาจากการนำกลยุทธ์ไปใช้ไม่มีประสิทธิภาพมากกว่า (Fortune Magazine 1999)
ผมว่าตรงนี้จริงครับ...จากประสบการณ์ผมเอง
หลายๆครั้งมีคนชื่นชมกลยุทธ์ที่ผมกำลังใช้อยู่ว่าดีสุดยอด นำสมัย แต่ทำไมเวลาเอาไปทำมันไม่ค่อยออกฤทธิ์
เท่าที่ควรจะเป็น
ซึ่งผมมานั่งทบทวนดูแล้ว มันมีหลายสาเหตุเหมือนกัน...ซึ่งส่วนหนึ่ง(และสำคัญมาก)คือ ช่วงการปฏิบัติตามกลยุทธ์นั้น ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ก็ต้องปรับกันใหม่เพื่อไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายครับ
ดังนั้น เราจึงต้องมาพิจารณาสิ่งที่จะทำให้การทำกลยุทธ์เป็นไปได้อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จ
ซึ่งจะสัมพันธ์กับการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมตามสถานการณ์ในปัจจุบันที่องค์กรกำลังประสบอยู่
ประเด็นที่จะพิจารณา คือ
๑. ระดับการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ ว่าองค์กรได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ไปจากกลยุทธ์เดิมมากหรือน้อยเพียงใด
๒. โครงสร้างขององค์กรหลังการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์นั้น ต้องปรับมากหรือน้อยเพียงใด
๓. ระดับของความเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง เพื่อควบคุมให้การทำกลยุทธ์ใหม่สำเร็จได้ตามเป้าหมาย
http://www.ideachampions.com/weblogs/change-architect-sign1.jpg |
ระดับการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ มี 5 ระดับด้วยกัน คือ
ระดับที่ 1 ไม่เปลี่ยนแปลง หรือกลยุทธ์ใหม่มีความคล้ายคลึงกับกลยุทธ์เดิม (Continuation Strategy) ดังนั้นให้รักษาความต่อเนื่องของกลยุทธ์ต่อไป
พบในกรณีที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่อง
-ประเภทของกิจการ
-ลักษณะขององค์กร
-ลักษณะผลิตภัณฑ์
-การตลาด
ระดับที่ 2 เปลี่ยนแปลงเล็กน้อย (Routine Strategy Change)
พบในกรณีที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่อง
-ประเภทของกิจการ
-ลักษณะขององค์กร
-ลักษณะผลิตภัณฑ์
แต่มีการเปลี่ยนแปลงในด้าน “การตลาด”
เช่น เปลี่ยนแปลงการโฆษณา เป็นต้น
ระดับที่ 3 เปลี่ยนแปลงในขอบเขต (Limited Strategy Change)
พบในกรณีที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่อง
-ประเภทของกิจการ
-ลักษณะขององค์กร
แต่มีการเปลี่ยนแปลงในด้าน “ลักษณะผลิตภัณฑ์” ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องในการเปลี่ยนแปลงด้าน “การตลาด”
เช่น บริษัทที่เคยขายยาแบบผง ทำการพัฒนารูปแบบใหม่ให้เป็นยาน้ำ ทำให้มีข้อดีของผลิตภัณฑ์มากขึ้น ละส่งผลให้มีการทำการตลาดแบบใหม่กับผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่นี้ไปด้วย เป็นต้น
ระดับที่ 4 เปลี่ยนแปลงแบบชัดเจน หรือ อย่างรุนแรง (Radical Strategy Change)
พบในกรณีที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่อง “ประเภทของกิจการ”
แต่มีการเปลี่ยนแปลงในด้าน “ลักษณะขององค์กร” ซึ่งจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง“ลักษณะผลิตภัณฑ์” แล้วจะไปส่งผลต่อเนื่องในการเปลี่ยนแปลงด้าน “การตลาด” ตามไปด้วย
เช่น องค์กรทำธุรกิจด้านยาฆ่าเชื้อ ทำการซื้อกิจการของบริษัทที่ทำทางด้านยาถ่ายพยาธิรวมเข้ามา ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนองค์กรแบบใหม่ โดยเพิ่มสายผลิตภัณฑ์ใหม่เข้ามา แล้วต้องมีการจัดโครงสร้างองค์กรใหม่เพื่อให้ทำงานได้กลมกลืนทั้งสองส่วน เป็นต้น
ระดับที่ 5 เปลี่ยงแปลงทิศทางขององค์กร (Organizational Redirection)
พบในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่อง “ประเภทของกิจการ” ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในด้าน “ลักษณะขององค์กร” และจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้ง “ลักษณะผลิตภัณฑ์” และด้าน “การตลาด” ตามไปด้วย
เช่น องค์กรที่เคยทำธุรกิจเลี้ยงสัตว์ ได้ปรับเปลี่ยนทิศทางองค์กรโดยการพยายามลดสัดส่วนของการทำธุรกิจฟาร์ม เพื่อไปเริ่มธุรกิจใหม่ คือ ธุรกิจโรงแรม เป็นต้น
หลังจากเราได้เข้าใจระดับการเปลี่ยงแปลงของกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนแผนงานหรือทิศทางขององค์กรแล้ว สิ่งที่ต้องทำถัดไปคือ “การปรับโครงสร้างขององค์กร” ให้สอดคล้องกับระดับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อให้การดำเนินงานตามกลยุทธ์ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้อย่างราบรื่น
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ
อ่านเพิ่มเติมใน Strategic planning ของ อ.วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์ (และคณะ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น