วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554
เศรษฐศาสตร์ฟาร์มหมู - พื้นฐานสร้างกลยุทธ์
การผลิตสุกร "เป็นตลาดแข่งขันแบบสมบูรณ์"
ในทางเศรษฐศาสตร์แล้ว... ถือว่า การเลี้ยงสุกรนั้น อยู่ในตลาดแข่งขันแบบสมบูรณ์ โดยมีเงื่อนไขหรือรายละเอียดของการเลี้ยงสุกรคล้ายคลึงกับนิยามของตลาดแข่งขันแบบสมบูรณ์ ดังนี้
๑. ผู้ผลิตสุกรหรือขายสุกร และผู้ซื้อสุกรนั้น มีจำนวนมาก จำนวนการซื้อขายของแต่ละรายมีปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับตลาดทั้งหมด และการเปลี่ยนแปลงปริมาณซื้อขายของผู้ซื้อผู้ขายสุกรรายหนึ่ง จะไม่ส่งผลกระทบต่อราคาตลาดการเลี้ยงสุกร
๒. สุกรมีชีวิตของผู้ผลิตสุกรแต่ละราย มีลักษณะใกล้เคียงกันมากในสายตาผู้ซื้อ แม้จะมีพันธุกรรมแตกต่างกันไปก็ตาม ดังนั้นผู้ซื้อสุกรจะเลือกซื้อกับใครหรือฟาร์มใดก็ได้ในตลาด
๓. ฟาร์มที่เลี้ยงสุกรจะถือว่าเป็นผู้ตามราคา เนื่องจากผู้ผลิตหรือฟาร์มแต่ละรายไม่สามารถมีอิทธิพลต่อราคาของตลาดซื้อขายได้ ราคาสุกรมีชีวิตจะถูกประกาศออกมาจาก "สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ" ซึ่งจะกำหนดจากอุปสงค์และอุปทานของตลาดเป็นหลัก
๔. ผู้ผลิตหรือฟาร์มสุกร ผู้ขายสุกร และผู้ซื้อสุกรนั้น สามารถเข้าออกจากธุรกิจ/ตลาดได้ง่าย เป็นไปอย่างเสรี หากฟาร์มต้องการเพิ่ม ลด เลิกเลี้ยงสุกร ก็สามารถทำได้อย่างเสรี ทำเมื่อใดก็ได้ ทำให้การควบคุมปริมาณยากมาก เนื่องจากเป็นสิ่งมีชีวิตซึ่งให้ผลผลิตที่ไม่แน่นอน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดการป่วยหรือการเกิดโรคระบาดสุกร
๕. ฟาร์มสุกร หรือผู้ขายผู้ซื้อสุกร สามารถเคลื่อนย้ายสุกรไปในที่ต่างๆได้ง่าย และสะดวก
๖. เนื่องจากตัวสุกรมีชีวิตถือว่าเป็นสินค้าที่มีลักษณะที่ไม่แตกต่างกัน ผู้ขายและผู้ซื้อสุกรจึงมีความรู้เกี่ยวกับสุกรและการซื้อขายสุกรในตลาดเป็นอย่างดี
กำไรของฟาร์มหมู
ฟาร์มสุกรจะได้ "กำไรเกินปรกติ" ในกรณีนี้ที่ฟาร์มสุกรนั้นมีรายรับเฉลี่ยที่มากกว่าต้นทุนเฉลี่ยนั่นเอง
กำไรเฉลี่ยต่อหน่วย = รายรับเฉลี่ยต่อหน่วย - ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วย
ซึ่งในทางปฏิบัติแล้ว เมื่อธุรกิจมีกำไรเกินปรกติ จะทำให้มีผู้ผลิต/ฟาร์มสุกรรายใหม่เกิดขึ้นในระบบ เมื่อดูในระยะยาวแล้ว กำไรก็จะปรับลดลงมาใกล้เคียงกับ "กำไรปรกติ" หรือ "จุดคุ้มทุน" ในที่สุด ดังรูปข้างบน ณ จุด E
ซึ่งที่จุดนั้นจะพบว่า MC=MR=AC นั่นเอง
การกำหนดราคาในทางปฏิบัติ
การตั้งราคาโดยทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์นั้นดูเหมือนง่ายตามเงื่อนไขที่มีการตั้งเป็นเกณฑ์ไว้ เช่น การให้ปัจจัยบางอย่างเป็นปัจจัยคงที่ เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงนั้นการตั้งราคาเพื่อให้ได้กำไรสูงสุด(หรือขาดทุนน้อยที่สุด)นั้น มีข้อจำกัดอยู่หลายด้านด้วยกัน...เช่น การที่ฟาร์มสุกรไม่สามารถรู้ข้อมูลด้านต่างๆได้ทั้งหมดอย่างสมบูรณ์ครบถ้วน หรือ บางครั้งในระยะสั้นๆแล้วฟาร์มสุกรอาจจะไม่ได้มุ่งที่จะเอากำไรสูงสุดก็ได้ เป็นต้น
ดังนั้น...
เป้าหมายของการทำฟาร์มเลี้ยงสุกร...
จึงต้องกำหนดที่การได้กำไรอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ในแต่ละเดือนหรือแต่ละชุดสุกรที่ส่งขายตลาด โดยไม่ขาดทุน...
หรือหากขาดทุนก็ให้ขาดทุนในระยะสั้นๆเท่านั้น ...
อ๋อ ขอรับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น