วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Herzberg’s Motivation – Hygiene Theory...ทฤษฎีสร้างกำลังใจของ “เฮิร์ซเบิร์ก”

Herzberg’s Motivation – Hygiene Theory
ทฤษฎีสร้างกำลังใจของ “เฮิร์ซเบิร์ก”

“การสร้างกำลังใจ” ให้กับคนในองค์กร เป็นเรื่องสำคัญมากๆ
เรามักจะพูดกันว่า “การจัดการคน เป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องสำคัญที่สุด”
“การจัดการเรื่อง คน เป็นเรื่องยากที่สุด”
ซึ่งก็ “จริง”...

ประเด็นคือ “เราจะเลือกใช้หลักการหรือทฤษฎี” ตัวไหนเข้ามาจับ ?
สมัยก่อนเราพูดกันเรื่อง “คนเก่ง” Talent
ต่อมาเราก็พูดกันเรื่อง “ความรักและผูกพัน” Engagement
และก็มีทฤษฎีอยู่อีกเยอะมากในการเลือกใช้

สิ่งหนึ่งที่ผมรับรู้จากประสบการณ์คือ...
มีหลายคนพูดได้ นำเสนอหลักการได้เก่งมาก...แต่พอดูพฤติกรรมหรือการปฏิบัติตัวของคนนั้น
กลับพบว่า...มันไม่เป็นไปตามที่เขาพูด..
เข้าทำนอง “แม่ปูสอนลูกปู” หรือ “ว่าแต่เขา อิเหนาเป็นเอง”...ประมาณนั้น

แต่อย่างไรก็ตาม เราก็คงต้องเรียนรู้หลักการและทฤษฎีเรื่องคนให้เยอะพอ ที่จะเก็บไว้เหมือนดาบประจำตัว
และฝึกใช้ให้คล่อง...เพราเมื่อถึงเวลาที่ต้องใช้จริง...
มันคงพอจะเอาไว้แก้ไขหรือจัดการอะไรบางอย่างให้ลุล่วงไปได้...นั่นเป็นอย่างน้อยที่สุดที่เราต้องการ

เรื่อง “การสร้างกำลังใจ” หรือ การกระตุ้นให้คนทำงาน ลุกขึ้นไปทำอะไรบางอย่างนั้น มีหลายทฤษฎี
ครั้งนี้ผมอยากนำเสนอของ  ทฤษฎีสร้างกำลังใจของ “เฮิร์ซเบิร์ก”
Herzberg’s Motivation – Hygiene Theory
เพราะผมชอบในรายละเอียดและการจัดหมวดของเขา



เฮิร์ซเบิร์ก แบ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อกำลังใจในการทำงาน Motivation at work ออกเป็น 14 ปัจจัยซึ่งสามารถจัดออกเป็น 2 หมวด...
 คือทั้งส่วนที่เป็นความรู้สึกที่ดี(สร้างกำลังใจมากขึ้น) และความรู้สึกที่ไม่ดี(ทำลายหรือบั่นทอนกำลังใจในการทำงาน)

ส่วนที่เป็นความรู้สึกที่ดี(สร้างกำลังใจมากขึ้น) 6 ปัจจัย ได้แก่
1.    Achievement
ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการทำงาน ซึ่งสามารถทำงานได้เรียบร้อย หรือ สามารถแก้ไขปัญหาได้

2.    Recognition
การชื่มชมในสิ่งที่ทำ อาจเป็นคำชมอย่างเดียว หรือ คำชมที่มีรางวัลด้วย

3.    Possibility of growth
การเติบโตในหน้าที่การทำงาน ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับการเพิ่มศักยภาพการทำงาน

4.    Advancement
การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ตำแหน่งหรือสถานภาพสูงขึ้น

5.    Responsibility
การได้รับความรับผิดชอบอย่างชัดเจนและสามารถใช้อำนาจในการจัดการทำงานได้อย่างดีหรือเต็มที่

6.    The Work itself
ตัวงานที่น่าสนใจและทำแล้วมีความสุขกับการทำงานนั้นๆ

ส่วนที่เป็นความรู้สึกที่ไม่ดี(ทำลายหรือบั่นทอนกำลังใจในการทำงาน) 8 ปัจจัย ได้แก่
1.    Company policy and administration
ปัจจัยนี้เกี่ยวเนื่องกับนโยบายขององค์กร โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง “คน”
หรือการจัดการบริหารหรือการจัดสรรบุคลากรในองค์กรเป็นอย่างไร
ดูแล้วมีโอกาสเติบโตไหม ยากง่ายอย่างไร

2.    Supervision - technical
ปัจจัยนี้เกี่ยวข้องกับตัว “เจ้านาย” ที่มีลูกน้อง เจ้านายทุกระดับที่ดูแลพนักงาน โดยดูกันที่การเข้าหาง่ายหรือยาก ความสามารถของเจ้านายเป็นอย่างไร หรือโดยเฉพาะที่เป็นประเด็นมากคือ “เจ้านายมีความยุติธรรมมากแค่ไหน?”

3.    Interpersonal relations
ความสัมพันธ์ของคนในองค์กรในทุกรูปแบบ
เจ้านายกับลูกน้องเป็นอย่างไร หรือกับเพื่อนร่วมงานกันเป็นอย่างไรบ้าง
คุณภาพชีวิตในที่ทำงานก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต้อความรู้สึกและกำลังใจในการทำงาน

4.    Salary
เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับรายได้ในการทำงาน
โดยรวมแล้วรายได้เป็นอย่างไร ไม่ว่าจะเป็น เงินเดือน สวัสดิการ และอื่นๆ

5.    Status
ปัจจัยนี้เป็นมุมมองหรือความรู้สึกในการเปรียบเทียบสถานภาพของตนเองกับคนอื่นๆในองค์กร
อาจเป็นตำแหน่งหรือระดับในองค์กร หรืออาจเป็นการมองในแง่ขนาดขององค์กรเล็กหรือใหญ่

6.    Job Security
ปัจจัยนี้ก็ตรงตัวอยู่แล้วคือ “ความปลอดภัยในการทำงาน” หรือ ทำงานได้อย่างยั่งยืนยาวนานแค่ไหน
มีโอกาสที่จะต้องตกงานหรือต้องเปลี่ยนงานใหม่ มากน้อยเพียงใด

7.    Personal Life
ปัจจัยนี้จะประเมินในประเด็นที่ว่า การทำงานนี้แล้ว ชีวิตส่วนตัวดีหรือพอใจแค่ไหน
มีความเครียดจากการทำงานมากน้อยเพียงใด
การทำงานส่งผลต่อครอบครัวหรือไม่ (เช่น ทำงานหนักจนไม่เคยเห็นหน้าลูกเมีย)

8.    Working Conditions
ปัจจัยนี้เกี่ยวกับลักษณะของที่ทำงาน
มีองค์ประกอบที่ทำให้เราทำงานได้สะดวกมากน้อยเพียงใด (มีห้องทำงาน มีโต๊ะทำงาน เป็นต้น)
ปริมาณงานที่ต้องรับผิดชอบมากน้อยเพียงใด
สิ่งแวดล้อมในการทำงาน ส่งเสริมการทำงานให้ได้ดีหรือไม่ (แสงสว่าง การระบายอากาศ เป็นต้น)

รวมทั้งหมด 14 ปัจจัยใน ทฤษฎีสร้างกำลังใจของ “เฮิร์ซเบิร์ก” (Herzberg’s Motivation – Hygiene Theory) ลองนำไปพิจารณาและลองปรับใช้ดูครับ น่าจะทำให้องค์กรดียิ่งขึ้น มีคนที่พอใจในงานและองค์กรมากขึ้น ผงงานทั้งรายบุคคลและองค์กรดียิ่งขึ้น

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น