BCG Matrix ดีอย่างไร ?
โมเดลนี้ มีการพูดถึงกันบ่อยมากๆครับ
โดยเฉพาะในแวดวงธุรกิจทั่วโลก...
ที่มาที่ไป หาอ่านได้ครับ (น่าศึกษา)...
ตรงนี้ผมอยากมุ่งไปสู่เรื่อง “ดีอย่างไร” มากกว่า...
ประโยชน์ที่ได้จาก BCG Matrix คือ...
- รู้สภาพปัจจุบันของแต่ละหน่วยธุรกิจ
- เห็นทิศทางและกำหนดอนาคตของแต่ละหน่วยธุรกิจได้
- กำหนดเป้าหมายของแต่ละหน่วยธุรกิจได้
- แบ่งสันปันส่วน(รู้ทิศทาง)การใช้เงินหรือทรัพยากรขององค์กร
วิธีการทำ แบบง่ายๆ ก็คือ...
ประเมิน “หน่วยธุรกิจ” แต่ละหมวด
ว่าแต่ละหมวดนั้น ตกอยู่ในช่องไหน (?)...
โดยประเมินใน 2 มุมมอง ได้แก่
-อัตราการเติบโตของธุรกิจ/อุตสาหกรรม (สูง ไปหา ต่ำ)
-ส่วนแบ่งการตลาด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับคู่แข่งสำคัญ (สูง ไปหา ต่ำ)
เราก็จะรู้สถานภาพของหน่วยธุรกิจ หรือ ง่ายๆคือ การรู้ว่าองค์กรมีสถานภาพอย่างไรนั่นเอง...
หลังจากนั้น...
ก็วิเคราะห์ในมุมของการกำหนดอนาคตหรือเป้าหมาย เพื่อจะจัดสันปันส่วนการใช้เงินหรือทรัพยากร
ตัวอย่างง่ายๆที่อยากให้ท่านเห็นภาพ (ดูรูปข้างล่างประกอบ)
การจัดสันปันส่วนทรัพยากร โดยเฉพาะเงินลงทุนนั้น
เราสามารถนำผลกำไรที่ได้จาก “วัวให้นม” ไปลงทุนในส่วนของหน่วยธุรกิจ “คำถาม”
เพื่อดันให้เกิด หรือ รุ่งให้ได้
หากรุ่งจริง หน่วยธุรกิจนั้น ก็จะกลายเป็น “ดาวรุ่ง” ไปในที่สุด
และ “ดาวรุ่ง” จะเคลื่อนต่อมาเป็น “วัวให้นม” เมื่อตลาดมีอัตราการเติบโตลดลงในกลุ่มธุรกิจนั้น
ซึ่งตรงนี้เองที่องค์กรต้องพยายามหาหรือสร้างหน่วยธุรกิจขึ้นมาใหม่ ซึ่งอาจเริ่มต้นที่ “คำถาม” ก่อน (นั่นแสดงว่า ท่านได้ดูแล้วว่า มีการเติบโตในอุตสาหรรมอะไร องค์กรจึงสร้างหน่วยธุรกิจนี้ขึ้นมา)
แล้วในช่วงแรกกับหน่วยธุรกิจใหม่นี้ จะเห็นว่า “วัวให้นม” ก็จะเป็นแหล่งเงินสนับสนุนหลักต่อไป
ซึ่งดูง่ายๆว่า
มันจะเป็น “วงจรสามเหลี่ยม” ในสี่ส่วนนั่นเอง
จุดที่น่าสนใจอีกประเด็น คือ
หน่วยธุรกิจที่ไปตกอยู่ใน “สุนัข”
ซึ่งพบว่า ตลาดก็ไม่โต และ หน่วยธุรกิจนี้ก็ได้ส่วนแบ่งการตลาดน้อย
แล้วจะทำอะไรต่อ (?)
ตรงนี้มีทางเลือก 2 ทางหลัก คือ
“เลิกทำ”หน่วยธุรกิจนี้ หรือ...
พยายามผลักมันไปสู่ “คำถาม” อีกครั้ง...
เพื่อให้เข้าสู่ “วงจรสามเหลี่ยม” นั่นเอง
หลังจากนั้น...
ก็เหมือนกับที่ได้อธิบายวงจรสามเหลี่ยมไปในด้านการใช้เงินหรือทรัพยากรอื่นๆครับ
ลองเอาแนวคิดนี้ไปใช้กับงานของท่านดูนะครับ
คงได้ประโยชน์บ้าง... ไม่มาก ก็น้อย...
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ !
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น