The Magic of Feedback !
“ให้คำแนะนำกลับ” (Feedback) …
เป็นสิ่งดียิ่ง...
ในการศึกษาทางจิตวิทยาเชิงพฤติกรรมของมนุษย์ที่ผ่านมานั้น...
พบว่า...
“การให้คำแนะนำกลับ” (Feedback) คือสิ่งหนึ่งที่สำคัญอย่างมากในการทำให้มนุษย์สร้างผลงานยอดเยี่ยมตลอดเวลา...
อย่างยาวนาน...
ในทางกลับกัน...
หาก “ปราศจาก” การให้คำแนะนำกลับที่จำเพาะเจาะจงและบ่อยเพียงพอ...
ผลงานมักไม่คงเส้นคงวา และมักพบว่าไปไม่ถึงเป้าหมายอยู่บ่อยครั้ง...
มีการประเมินว่า...
ประมาณ 50 % ของปัญหาที่ธุรกิจไม่มีประสิทธิภาพ...
เกิดจาก การขาดการให้คำแนะนำกลับ...
คิดง่ายๆว่า...
หากพนักงานไม่ทราบว่า สิ่งที่เขาทำอยู่นั้น ดีหรือไม่ดี “อย่างไร”...
และเขาคืดว่า “ทำดีแล้วนี่!”...
ก็ไม่มีเหตุผลจำเป็นใดที่พวกเขาต้องเปลี่ยนแปลงการทำงาน...
หรือ พวกเขาคิดว่า...
สิ่งที่เขาทำอยู่นั้น เป็นสิ่งที่เจ้านายต้องการให้ทำ...
ดังนั้น ทำไมต้องเปลี่ยนแปลง (“ก็ฉันทำตามเจ้านายต้องการแล้วนี่!”)...
อันนี้จริงครับ...
เพราะฉะนั้น...การให้คำแนะนำกลับที่จำเพาะเจาะจงและบ่อยเพียงพอ
คือวิธีแก้ปัญหาที่...
เร็วที่สุด...
ถูกที่สุด...
และมีประสิทธิภาพที่สุด...
ตัวอย่างเช่น การให้คำแนะนำกลับแบบตัวต่อตัว (Face-to-Face Feedback) เป็นต้น
การให้คำแนะนำกลับ มี 3 แบบ ได้แก่
1. เป็นกลางๆ
ตัวอย่างเช่น คำถาม
“คุณรู้ไหมว่า คุณทำให้ลูกน้องรู้สึกอายเพราะคุณวิจารณ์เขาต่อหน้าคนอื่น?”
“คุณทราบไหมว่า คุณมักจะสอดแทรกคำพูดคนอื่นๆอยู่บ่อยๆในที่ประชุม?”
2. ในแง่บวก
ตัวอย่างเช่น
“ผมทราบว่า คุณทำรายงานเสร็จตรงเวลาทุกครั้งเลย เยี่ยมเลยครับ ทำเช่นนี้ต่อไปนะครับ!”
3. ในทางลบ
ตัวอย่างเช่น
“คุณมีปัญหาอะไรหรือเปล่าครับ ทำไมคุณขาดสมาธิที่จะทำงานให้เสร็จตรงเวลาเสมอเลย?”
“คุณน่าจะเลิกทัศนคติที่ไม่ดี โดยเฉพาะการมองคนอื่นๆว่าโง่”
หลายๆครั้ง พบว่า...
พนักงานอาจจะรู้ว่าสิ่งที่ทำอยู่มันไม่ดี...
แต่เขาคิดว่าสิ่งนั้นมันไม่ใช่ปัญหา(ที่จำเป็นต้องแก้ไข)...
การให้คำแนะนำกลับของเรา จะช่วยให้พนักงานตระหนักรู้ถึงการกระทำบางอย่างของเขานั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำและไม่น่ากระทำ(เพราะมันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้น)...
และ “การถกกันในช่วงให้คำแนะนำกลับ” (Feedback discussion)...
จะเป็นการกระตุ้นและให้แนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น...
ตัวอย่าง เช่น
เจ้านาย - “ณเดช ผมสังเกตว่าคุณมาสายบ่อยขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา คุณจะมาตรงเวลาได้ไหมครับ? ”
ณเดช – “ได้ครับ ผมจะพยายามครับ”
เจ้านาย – “ขอบคุณครับ”
มักพบว่า...
การแก้ไขหลังจากการถกกันในช่วงให้คำแนะนำกลับ...
มักทำให้ผลงานของพนักงานดีขึ้นครับ...
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น