วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

“การเทียบเพื่อแข่งดี” Benchmarking เป็นสิ่งที่ทำให้องค์กรโตอย่างก้าวกระโดด

“การเทียบเพื่อแข่งดี” Benchmarking เป็นสิ่งที่ทำให้องค์กรโตอย่างก้าวกระโดด

เมื่อพูดถึงเรื่อง “การเทียบเพื่อแข่งดี” หรือ Benchmarking นั้น
หลายๆคนอาจจะคุ้นเคยคำๆนี้อยู่บ้าง
หรือ ได้ยินอยู่บ่อยๆ...
แต่สิ่งที่น่าจะต้องเข้าใจคือ...แท้จริงแล้วมันมีองค์ประกอบอะไรบ้าง?
และสิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญของเรื่องนี้คืออะไร?

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiRZTzVWdmMPIrZK3mM2L9vdRHZ4gkPuyEE2aMKmUvKbbKlShIeBRXSzvPbhlbVpJCqTNT-oCwyEyE5hu2DUNUWRZpZyBAJjyP9kMR389nT4CbmRG5kWYjUDGIQgqJUu6g2jN8B9ciIVK4s/s1600/Barrett_BR-Benchmarks.jpg

เรื่อง “การเทียบเพื่อแข่งดี” Benchmarking จะมีองค์ประกอบอยู่ 2 ส่วน คือ
๑.    การเฝ้าดู เฝ้าสังเกต “องค์กรอื่น” ที่ทำงานได้อย่างดีเยี่ยม
๒.   การเรียนรู้ จาก “องค์กรอื่น” ที่ทำดีเยี่ยม

โดยหากมองเรื่องนี้ในลักษณะแบบระยะยาวแล้ว เรามักจะได้ยินอีกคำหนึ่ง คือ Best Practices
ซึ่งหมายถึง “วิธีการปฏิบัติที่ดีเลิศ” นั่นเอง
โดย Best Practices จะเกี่ยวข้องกับประเด็นสำคัญ 2 เรื่อง คือ
1.    การทำ “อะไร” ที่ทำได้ดีที่สุด What?
2.    “ทำอย่างไร” ถึงทำได้อย่างดีที่สุด How?
ต้องจับจ้องและเรียนรู้จากสองส่วนนี้...
แต่ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ “How?” ซึ่งจะเป็นการนำไปสู่ “ความสำเร็จ” ได้ในการพัฒนาองค์กรจากการทำ Best Practices หรือ Benchmarking
การจะทำเรื่อง Benchmarking ได้อย่างสำเร็จนั้น โดยพื้นฐานแล้ว
องค์กรต้องมีเรื่องที่ต้องคิดหรือทำอยู่ 2 ด้าน ได้แก่
1.    Humility คือ ความถ่อมใจหรือยอมรับได้ว่า “มีคนอื่นๆที่ทำได้ดีกว่าองค์กรเรา(ในบางเรื่อง)”
2.    Wisdom คือ การเรียนรู้ และ การปรับตัวเข้ากับองค์กรของเราได้อย่างดี หรือ การใช้ประโยชน์สิ่งที่ได้เรียนรู้ให้เกิดประโยชน์สูงต่อองคกรเรานั่นเอง

Benchmarking มีขั้นตอนปฏิบัติอยู่ 3 ส่วนใหญ่ ได้แก่
๑.    เลือกว่า “สิ่งใด” ที่องค์กรจะนำมาแข่งดี
๒.   เรียนรู้จาก “ตัวอย่างที่ดี”
๓.   ดำเนินการแข่งดี “อย่างต่อเนื่อง”

สุดท้าย การทำเรื่อง Benchmarking นี้ ทำได้หลายลักษณะ ได้แก่
1.    Internal Benchmarking  คือ การทำการเทียบเพื่อแข่งดี “ภายในองค์กร” เช่น ระหว่างหน่วยงานต่างๆ
2.    External Benchmarking คือ การทำการเทียบเพื่อแข่งดี “ภายนอกองค์กร” กับองค์กรอื่นๆ
3.    Functional Benchmarking คือ การทำการเทียบเพื่อแข่งดี กับองค์กรอื่นๆ โดยมุ่งเทียบในเนกระบวนการหรือหน้าที่งานต่างๆ โดยไม่สนใจว่าองค์กรนั้นๆ จะอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันหรือไม่

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น