“สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้” สำคัญต่อการสร้าง LO
พูดกันบ่อยมากมากในช่วงที่ผ่านมา ถึงการสร้าง “องค์กรแห่งการเรียนรู้” หรือ
LO (Learning Organization)
บางที่ก็มีการกล่าวถึง “การจัดการความรู้” หรือ Knowledge Management (KM) ร่วมไปด้วยอีก ยิ่งทำให้มันดูเป็นการจัดการระบบที่ใหญ่มากขึ้น
และอาจใหญ่จนองค์กรก็จับจุดไม่ได้ว่า “อะไรคือสิ่งสำคัญ?” อะไรที่ต้องทำให้เกิดขึ้น เพื่อไปสู่เป้าหมาย?
เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีรายละเอียดมากมายอย่างที่กล่าวมา
จึงอยากมุ่งไปในมุมที่สำคัญๆหรือประเด็นหลักๆให้เห็นไว้เบื้องต้นก่อน...บางส่วน บางมุม
http://lindapemik.files.wordpress.com/2010/11/group.jpg |
ในการสร้าง LO นั้น...
“สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้” มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้าง LO
ผมถือว่า KM มันจะเกิดได้ ต้องมี LO มาก่อน..อย่างน้อยมันต้องมีภาพที่ชัดมากขึ้นกว่าสภาพเดิมๆ
การสร้าง “บรรยากาศ” หรือ สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ให้กับ “คนในองค์กร” จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ผู้นำและฝ่ายบริหาร Management ขององค์กรต้องทำ
เพราะ “การเรียนรู้” Learning มันเป็น “กระบวนการ” Process
ไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ภายในระยะเวลาสั้นๆ
ต้องมี “ความอดทน” ทั้งคนที่อยู่ในองค์กร ที่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิด มุมมอง และพฤติกรรม
และองค์กรเอง ที่ต้องอดทนต่อการใช้เวลาในการสร้างสิ่งแวดล้อมและผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นขององค์กร
ผู้นำองค์กร ต้องเป็น “ผู้นำที่มีหลักการชัดเจน” หรือ ที่ S. Covey เรียกว่า Principle centered leader ซึ่งต้องวิสัยทัศน์ในเรื่องการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ และ ตั้งเป็น “แนวทางหลักขององค์กร” หรือ พันธกิจ Mission
ซึ่งหลังจากที่ผู้นำเริ่มปูทางให้แล้ว ฝ่ายจัดการต้องสร้างบรรยากาศหรือสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
โดยส่งเสริมให้ “แต่ละคน” สร้าง พันธกิจของตนเองขึ้นมา
เพื่อที่จะเรียนรู้ อย่างมีเป้าหมายและหลักการ
มีความกล้าที่จะทดลองสิ่งใหม่ๆในชีวิต
มีความอดทนต่อการเรียนรู้ที่ต้องใช้เวลา(เพราะมันเป็น Process)
สิ่งสำคัญประเด็นหนึ่งก็คือ... “อิทธิพลที่ส่งผ่านจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง” Influence
คือ เมื่อใครคนใด เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการแล้ว
ก็ทำการจัดเวทีให้มี “การถ่ายทอด” Transfer ความรู้ หรือ ประสบการณ์ ไปสู่ผู้อื่น
โดยเฉพาะ เรื่องที่ถือว่าเป็นความรู้ใหม่ หรือ องค์ความรู้ Knowledge
การถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่เพื่อนคนอื่นๆ เรียกกันว่า การจัดการองค์ความรู้ KM นั่นเอง
กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันนี่เองที่จะเป็น “สัญญาณ” ว่า..
องค์กรได้เริ่มเคลื่อนเข้าสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้แล้ว
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น