วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วิเคราะห์ “รูปแบบการเติบโต” ขององค์กร ด้วย Growth Model ของ Greiner

วิเคราะห์ “รูปแบบการเติบโต” ขององค์กร ด้วย Growth Model ของ Greiner

พูดถึง “การเติบโต” ขององค์กรนั้น...
ในเชิงกลยุทธ์แล้วเรามี “รูปแบบ” หรือ Model ที่ใช้วิเคราะห์และสร้างกลยุทธ์อยู่หลายตัว
ครั้งนี้อยากเสนอ Growth Model ของ Greiner ซึ่งมองในเชิงการวิเคราะห์ว่า....
องค์กรของเรานั้น ตอนนี้อยู่ตรงจุดไหนของการเติบโต Growth

http://www.12manage.com/images/picture_greiner_curve_growth_phases.gif

โดย Greiner ใช้รูปกราฟ ๒ แกน เป็นตัวประเมินระยะ(Phase) ของการเติบโตขององค์กร คือ แกนของขนาดองค์กร(Organisation Size) และ เวลาที่ผ่านไป(Time)

ประโยชน์ของ Growth Model ของ Greiner นี้ คือ...      
-ทำให้องค์กรรู้ว่า องค์กรอยู่ตรงจุด/ระยะไหนของช่วงการเติบโตในอุตสาหกรรมนั้นๆ (Phase)
-ทำให้องค์กรสามารถประเมินได้ว่า องค์กรพบปัญหาหรือกำลังจะพบปัญหาอะไรในอนาคตอันใกล้นี้ (Problems)

Growth Model ของ Greiner แบ่งออกได้เป็น 6 ระยะ Phase ได้แก่
1.   Creativity ระยะของการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ
เป็นระยะที่องค์กรยังใช้เวลายุ่งอยู่กับ “ผลิตภัณฑ์ และ/หรือ ตลาด” เป็นหลัก
โดยจะมุ่งที่จะผลิตสินค้า Product ออกสู่ตลาด
การทำการสื่อสาร Communication ในองค์กร จะมีอย่างมากมาย แต่อาจจะมีลักษณะไม่เป็นทางการมากนัก (Informal)
เมื่อถึงจุดหนึ่ง(เวลาผ่านไปถึงจุดหนึ่ง) องค์กรจะเผชิญกับ “วิกฤติภาวะผู้นำ” Leadership crisis เนื่องจากเริ่มมีปัญหาในด้าน “การตัดสินใจในทิศทางที่แน่ชัด” ขององค์กร
ก็จะเคลื่อนเข้าสู่ระยะที่ 2 ต่อไป

2.   Direction ระยะของการกำหนดทิศทางที่แน่ชัด
ระยะนี้จะมีการสร้างหรือนำการทำงานโดย “ผู้จัดการที่มีความสามารถ” มากขึ้น เพื่อบริหารองค์กร มีการสร้างโครงสร้างที่ชัดเจนมากขึ้น มีการสื่อสารที่เป็นรูปแบบมากขึ้น
ที่สำคัญ คือ...
มีการ “สั่งงาน” ลงมาจากผู้บริหารข้างบนสู่พนักงานระดับล่าง แบบ Top-down management
แล้วจะเคลื่อนเข้าสู่ระยะที่ต้องการความเป็นอิสระในการทำงานมากขึ้น Autonomy crisis

3.   Delegation ระยะของการมอบหมายอำนาจงานออกไป
เป็นระยะที่มีการใช้การบริหารแบบ “มอบหมายงาน” หรือ กระจายอำนาจการบริหารออกไปส่วนนอกมากขึ้น
มีการแบ่งความรับผิดชอบออกไปอย่างชัดเจน
การตัดสินใจจึงสามารถทำได้ในผู้จัดการระดับล่าง ที่ดูแลส่วนงานต่างๆที่แยกเป็นอิสระมากขึ้น
แล้วหลังจากนี้ องค์กรจะเข้าสู่ระยะ “วิกฤติของการควบคุมการบริหารงาน” Crisis of Control

4.   Co-ordination ระยะของการทำงานแบบต้องประสานงานกันอย่างมาก
เป็นระยะของการทำงานที่มีแผนงานมากขึ้น
เริ่มมีการ “ดึงอำนาจการบริหารคืนสู่ส่วนกลาง” เช่น มีหน่วยงานกลางในการบริหารจัดการบางเรื่อง หากจะใช้ประโยชน์ จะต้องร้องขอมาที่ส่วนกลาง เป็นต้น
สิ่งที่ชัดเจนอย่างหนึ่ง คือ หากองค์กรมาถึงจุดนี้ การบริหารงานจะ “มุ่งเป้าหมาย” มากกว่าการมุ่งวิธีการแบบเดิม
แล้วองค์กรจะเข้าสู่ระยะที่เน้นกฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัด คล้ายภาครัฐที่ต้องมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวดก่อนการปฏิบัติงาน Red Tape crisis

5.   Collaboration ระยะของการทำงานร่วมกันเป็นทีมมากขึ้น
เป็นระยะที่เน้นการทำงานเป็น “ทีมงาน” Team-working มากขึ้น
มีการใช้รูปแบบงาน “กลุ่มทำงานข้ามสายงาน” Cross functional team มากขึ้น เพื่อให้งานรวดเร็วมากกว่าเดิม หรือ มีขั้นตอนที่ลัดสั้นลง ทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
แล้วองค์กรก็เคลื่อนเข้าสู่ระยะการเติบโตอิ่มตัวขององค์กร(อิ่มตัวภายในองค์กร) Internal growth crisis

6.   Alliances ระยะของการสร้างเครือข่ายพันธมิตรกับภายนอก
เป็นระยะที่องค์กรต้องเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอกมากขึ้น
ต้องสร้างเครือข่ายกับองค์กรภายนอกมากขึ้น เพื่อที่จะรักษาการเติบโตต่อไป

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น