วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554

’Coach Errors’ – เรียนรู้จาก “ลักษณะการสอนงานที่ล้มเหลว”... จะได้ไม่ต้องผิดพลาดอีก

’Coach Errors’ – เรียนรู้จาก “ลักษณะการสอนงานที่ล้มเหลว”... จะได้ไม่ต้องผิดพลาดอีก

ในองค์กร...เรื่องหนึ่งที่ต้องทำ คือ Coaching การสอนงาน หรือ การชี้แนะ แนวทางการทำงานให้เกิดผลงานดี และสามารถเติบโตไปในระดับสูงขึ้นได้
การสอนงานยังเป็นเรื่อง “หินๆ” สำหรับคนส่วนใหญ่ที่ต้องสอนงานลูกน้อง
เหตุผลส่วนหนึ่ง คือ “ไม่ค่อยสำเร็จ” และ “ไม่เกิดประสิทธิภาพ”


Coaching Model โดย Erika Andersen
ได้กล่าวถึง “ความล้มเหลว” (Errors) ของการสอนงานไว้ 3 ลักษณะด้วยกัน ได้แก่
Error#1 – treating LOW as if HIGH
Error#2 – treating HIGH as if LOW
Error#3   Leaving HIGH alone!

Error#1 – treating LOW as if HIGH
ลักษณะนี้มักพบส่วนมากกับ “พนักงานเข้าใหม่และไม่มีประสบการณ์” (New, inexperienced people)
และมักพบในองค์กรที่บริหารจัดการแบบ “เครื่องร้อน” ตลอดเวลา ( High pressure companies)
เหตุผลเบื้องหลัง คือ องค์กรคิดว่ากลั่นกรองกระบวนการรับคนเข้าทำงานมาดีแล้ว ดังนั้น พวกเขาคือคนเก่ง จึงต้องทำงานในระดับที่สูงได้ทันที
บางที่ใช้คำว่า “ทำไปด้วย แล้วเรียนรู้ไปด้วย”...
แต่ประเด็นก็คือ พวกเขาอาจจะเรียนรู้ได้จริง แต่จะใช้เวลามากหรือนานเกินไป และต้องใช้พลังงานเยอะขึ้นในการทำงาน ส่งผลตามมาคือ “เครียด” ในที่สุด
ละอีกประเด็นที่สำคัญคือพวกเขาจะเรียนรู้ “เรื่องลบๆโดยไม่ตั้งใจ” ซึ่งก็คือ ได้ทั้งประสบการณืที่ดี และ ที่รู้สึกแย่ไปพร้อมๆกัน

Error#2 – treating HIGH as if LOW
ลักษณะนี้มักพบในองค์กรที่ใช้ ระบบการสอนงาน “แบบมีแบบแผนเดียวกันทั้งองค์กร” (Certain approach) แน่นอนว่าจะได้ผลดีกับพนักงานที่ยังไม่มีประสบการณ์เพียงพอ แต่อาจดูแย่ในสายตาของพนักงานที่มีประสบการณ์สูง (Skilled employee)
สิ่งที่เป็นประเด็น คือ...
ใช้รูปแบบพื้นฐานมากเกินไปในการสอนงาน
ใช้รูปแบบเป็นขั้นตอนอย่างละเอียดในการสอนงาน
ใช้รูปแบบสั่งงานเป็นหลัก(Very Directive)
ใช้ลักษณะติดตามงานตลอดเวลา(Checking)
เหมือนจะดี...แต่กับพวกมีประสบการณ์จะเป็น “ตรงข้าม” โดยพวกเขาจะรู้สึกแย่ แล้วจะขาดแรงกระตุ้นในการทำงานในที่สุด
ภาพที่จะเกิดขึ้น คือ พวกเขาจะไม่ยอมทำงานอย่างเต็มที่เหมือนเดิม จะทำงานแค่สิ่งที่ coach ต้องการ (minimum expected)

Error#3   Leaving HIGH alone!
ลักษณะนี้ก็พบได้บ่อยๆ ซึ่งมักพบในองค์กรที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้จัดการหนึ่งคน ต้องดูแลคนจำนวนมาก และ บางส่วนเป็นกลุ่มที่รับเข้าทำงานใหม่และยังไม่มีประสบการณ์
ดังนั้น พนักงานกลุ่มที่มีทักษะหรือประสบการณ์ มักถูกทิ้งให้ทำงานคนเดียว หาทางทำงานเอง stand alone
ต้องระลึกไว้เสมอว่า...
ทำงานเอง กับ ทำงานแบบมี coach หรือคนชี้แนะ นั้น “ต่างกัน” แน่นอน
เพราะการมีคนชี้แนะนั้น งานจะออกมาดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด และยังเป็นการสร้างแรงกระตุ้นในการทำงานที่ดีอีกด้วย
หากทิ้งให้พวกเขาโดดเดี่ยวแล้ว สิ่งที่จะพบคือ “การลาออก” สูงมากขึ้น

การ “เรียนรู้” จากความผิดพลาด...ย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาและการป้องกันปัญหาในอนาคตได้..เป็นอย่างดี เพื่อที่จะสร้างงาน และ สร้างคน ให้กับการเติบโตอย่างต่อเนื่องขององค์กร
การสอนงานจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่ง...ถือเป็น “ท่าไม้ตาย” ของการบริหารงานบุคคลได้เลยทีเดียว.

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

3 ความคิดเห็น:

  1. ขอที่มา เพื่อจะไปอ้างอิงได้มั้ยค่ะ

    ตอบลบ
  2. ขอที่มา เพื่อจะไปอ้างอิงในบรรณานุกรมได้มั้ยค่ะ ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ต้องขอโทษด้วยนะครับ ๒ ประการเลย คือ หนึ่ง ผมเข้ามาเห็นช้าไป (รายงานน่าจะเสร็จไปแล้วมั้งครับ) และ สอง ผมลืมไปแล้วว่าอ่านมาจากไหน ... ลองค้นทางอินเทอร์เน็ตดูไหมครับ... คราวหน้า ผมจะทำReference ในบทความอื่นๆให้ด้วยครับ... ขอโทษจริงๆ

      ลบ