’Coach’s Mind-set’ – จะเปลี่ยนคนอื่น ต้องเปลี่ยน “มุมคิด”ของเราก่อน...
อย่างที่กล่าวมาว่า ในการจะเป็น coach ที่ดีและประสบผลสำเร็จนั้น ต้องรักษา “วิธีคิดและวางบทบาทในการสอนงานอย่างต่อเนื่อง” (maintain the mindset of coach)
ซึ่งก่อนขั้นตอนนี้ ผู้ที่จะสอนงานคนอื่นได้ดี จะต้องเปลี่ยนมุมคิด (Mind-set) ของตนเองเสียก่อน
http://butterflyclique.com/wow/index_files/find-a-solution-through-business-coaching-588x400.jpg |
โดยหลักแล้ว “การเปลี่ยนมุมคิด” นั้น มีขั้นตอนที่สำคัญ 5 ขั้นตอน ได้แก่
1. ต้องรู้ “มุมคิดเบื้องต้น” ของเราเองก่อน (ว่าเป็นอย่างไร?)
2. ลองตั้งคำถามเกี่ยวกับมุมคิดนี้ซิ (ว่าใช้การได้หรือยัง?)
3. หาวิธีได้ข้อมูลหรือแนวทางใหม่ๆ (เพื่อนำมาปรับมุมคิดเก่า)
4. ทดสอบ/ทดลอง แนวทางใหม่ๆดังกล่าว (ว่าได้ผลดีพอที่จะเอาไปใช้ได้หรือไม่?)
5. ตรวจสอบ “มุมคิด” อีกที (ว่าเปลี่ยนไปหรือยัง?)
(อ้างอิงจาก Coaching โดย Erika Andersen)
· ต้องรู้ “มุมคิดเบื้องต้น” ของเราเองก่อน (ว่าเป็นอย่างไร?)
อย่างหลายคนเวลาต้องปรับเปลี่ยนหรือทำสิ่งที่แตกต่างไปจากเดิม มักมีคำพูดอย่าง “คงทำไม่ได้หรอก” หรืออย่าง “ไม่คิดว่าจะต้องเปลี่ยน ตอนนี้ดีอยู่แล้ว” อะไรประมาณนี้
มุมคิดเหล่านี้เอง ที่ทำให้เราไม่สามารถเริ่มทำอะไรใหม่ๆได้
ดังนั้นการรับรู้ถึงมุมคิดเบื้องต้นของเราเอง ก็จะทำให้เราสามารถรู้ฐานว่าเราอยู่ตรงไหน เพื่อจะได้ตั้งเป้าหมายต่อไปได้ว่า จะทำอย่างไรได้บ้าง
· ลองตั้งคำถามเกี่ยวกับมุมคิดนี้ซิ (ว่าใช้การได้หรือยัง?)
ขั้นตอนต่อไปก็คือ...การลองถามตัวเองซิว่า “หากเราทำการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างไปจากมุมคิดเดิมๆ เราจะได้ประโยชน์อะไรกับสิ่งใหม่ๆบ้าง?”
ซึ่งประเด็นนี้หลายๆคนจะเรียกว่า “การกระตุ้นตนเองให้ลุกขึ้นสู้” Self-Motivation
· หาวิธีได้ข้อมูลหรือแนวทางใหม่ๆ (เพื่อนำมาปรับมุมคิดเก่า)
ลองดูว่ามี “แหล่งข้อมูลหรือแนวทาง” ไหนบ้างที่จะช่วยให้เราสามารถนำมาเป็นสิ่งที่พัฒนาหรือเปลี่ยนมุมคิดของเราให้เป็น “มุมใหม่”
ขั้นตอนนี้เราต้องรักษาความเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงนั้น มีประดยชน์ด้วย เช่น เข้าใจว่ามีคนตั้งมากมายที่เปลี่ยนแปลงตนเองได้สำเร็จ ดังนั้น ตัวเราเองก็จะทำสำเร็จได้เช่นกัน
· ทดสอบ/ทดลอง แนวทางใหม่ๆดังกล่าว (ว่าได้ผลดีพอที่จะเอาไปใช้ได้หรือไม่?)
ลองนำข้อมูลหรือแนวทางที่ประเมินว่าดีเหล่านี้ ไปปฏิบัติดูซิว่า สามารถจะเปลี่ยนแปลงมุมคิดของเราได้หรือไม่? เราลองประเมินซิว่า “เราได้เรียนรู้อะไรมาบ้าง จากการทดลองทำสิ่งใหม่ๆ?”
ขั้นตอนนี้อาจหา “ผู้ช่วย” หรือ “ครู” ที่มีประสบการณ์ในการให้คำแนะนำด้วยก็ได้
· ตรวจสอบ “มุมคิด” อีกที (ว่าเปลี่ยนไปหรือยัง?)
ถือเป็นขั้นตอนแห่งการ “ประเมินผล” ว่าสิ่งที่ทำไปส่งผลมากน้อยเพียงใด? มีความคืบหน้าหรือไม่? สำเร็จได้จริงๆหรือไม่?
หากเราได้ “มุมคิดใหม่” เกิดขึ้น ก็ถือว่าการพัฒนาของเรามีความสำเร็จ และเป็นการรับรองว่า เราคนใหม่ จะสามารถ “ช่วยเหลือคนอื่นๆให้ได้รับความสำเร็จ” ได้เช่นกัน
แต่หาก “มุมคิดยังไม่เปลี่ยน” ขั้นตอนนี้ก็จะช่วยตรวจสอบและให้เราได้ “ย้อนขั้นตอนไปเริ่มกันใหม่” ได้อย่างมีขั้นตอนและต่อเนื่องเป็นลำดับ
ลองนำแต่ละขั้นตอนตามหลักการ “เปลี่ยนมุมคิด” นี้ไปประยุกต์ใช้ดู เพื่อจะได้พัฒนาตนเอง ก้าวขึ้นมาเป็น “สุดยอด Coach” ในอนาคต
ทำให้ “การสอนงาน” Coaching กลายเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งขององค์กร ...ถือเป็น “ท่าไม้ตาย” ของการบริหารจัดการบุคลากรในองค์กร
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น