วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554

’Teaching’ - “การสอน” คือเรื่องสำคัญที่สุดของ Coaching

’Teaching’ - “การสอน” คือเรื่องสำคัญที่สุดของ Coaching

จะว่าไปแล้ว เรื่องที่สำคัญที่สุดของ “การสอนงาน” Coaching ก็คือ...
การสอน หรือ “วิธีสอน” Teaching นั่นเอง
คงต้องถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของการใน “ศิลป์” ในการดำเนินการ เพื่อให้เกิดประสิทธิผล แล้วนำไปสู่ การสอนงาน Coaching อย่างได้ผลในองค์กร

 
http://pangea-consulting.com/images/coaching-2.jpg

ว่ากันตามหลักการแล้ว “การสอน” Teaching นั้น มีขั้นตอนที่สำคัญ 4 ขั้นตอน ได้แก่
1.      Involve – มีส่วนร่วมทางใจ
2.      Explain – อธิบายให้เห็นภาพ
3.      Practice – ได้ฝึกฝนทดลอง
4.      Integrate – เข้าใจและทำได้จริง

(อ้างอิงจาก Coaching โดย Erika Andersen)

·         Involve – มีส่วนร่วมทางใจ
ผู้สอนต้องตรวจสอบความพร้อมของ “ผู้เรียน” (หรือจะว่าไปแล้ว ก็คือ ผู้ที่จะรับการสอน/ชี้แนะการทำงานนั่นเอง) เป็นขั้นแรกเสียก่อน
ว่าง่ายๆ คือ “ต้องได้ใจ” ของผู้เรียนเสียก่อน มิฉะนั้น การสอนจะไม่ได้ผล เพราะผู้เรียนไม่รับนั่นเอง
เป้าหมายของผู้สอน คือ “ดึงผู้เรียนให้เปิดใจและเปิดสมอง พร้อมจะเรียน” ให้ได้
เทคนิค คือ การถาม “คำถามที่สร้างความสนใจต่อการเรียนรู้”
เช่น “คุณคิดว่า การเรียนรู้เรื่องนี้ จะทำให้คุณได้ประโยชน์อะไรบ้าง?”

·         Explain – อธิบายให้เห็นภาพ
เป็นขั้นตอนต่อมา ซึ่งผู้สอนต้องอธิบายให้ผู้เรียนรู้ว่า “ผู้สอนเองนั้น รู้เรื่องอะไรบ้าง? (เก่งอะไรบ้างนั่นเอง!) ”
มีวิธีการอยู่หลายวิธีที่ใช้ในการอธิบาย
เช่น การแสดงให้ดู การใช้แบบ/โมเดลในการสอน การยกตัวอย่างประกอบ เป็นต้น
สิ่งสำคัญเรื่องหนึ่ง คือ ผู้สอนจะต้องใช้ “ทักษะการฟัง” Listening skill เพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียน ได้เรียนรู้อะไรบ้าง? เข้าใจอะไรบ้าง? อย่างไร? และใช้ในการตรวจสอบปฏิกิริยาของผู้เรียนด้วยว่าตอบสนองการอธิบายอย่างไรบ้าง?

·         Practice – ได้ฝึกฝนทดลอง
ถึงขั้นตอนนี้ ผู้สอนต้องสร้างโอกาสหรือ “เวที” ในการที่จะให้ผู้เรียนได้ฝึกฝน หรือ ทดลองปฏิบัติ สิ่งที่ได้เรียนรู้มา(จากขั้นตอนที่แล้ว)
ทำได้หลายวิธี ได้แก่
-ใช้รูปแบบลองเล่นละครแบบ Role play
-ลงสนามจริง แต่ในสถานการณืที่ไม่ซับซ้อนจนเกินไป แล้วมีผู้สอนคอยดูแลและให้คำแนะนำ/แก้ไข
เป็นต้น

·         Integrate – เข้าใจและทำได้จริง
เป็นขั้นตอนที่จะสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้มาจากขั้นตอนที่แล้ว
โดยอาจใช้รูบแบบ “การให้ข้อมูลย้อนกลับ” Feedback, การให้คำแนะนำเพิ่มเติม เป็นต้น

สิ่งสำคัญที่สุดของ “การสอน” คือ...
การที่จะประเมินว่า “ผู้เรียนได้เรียนรู้หรือรับรู้อะไรไปบ้าง?”
ระวังการประเมินโดยใช้เกณฑ์ “ผู้สอนได้สอนอะไรไปบ้าง?” ซึ่งหากใช้เกณฑ์นี้ จะเป็นความผิดพลาดอย่างมากทีเดียวในการสอน และจะส่งผลให้ การสอนประสบความล้มเหลวในที่สุด

โดยสรุปแล้ว...
“ผู้ที่สอนงานเก่ง” Good Coach ก็คือ “ครูที่เก่ง” Good Teacher นั่นเอง

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น