วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การเลือกใช้ “พลังการนำ” (Power) ของผู้นำ สำคัญต่อผู้ตามและผลงานที่ได้

การเลือกใช้ “พลังการนำ” (Power) ของผู้นำ สำคัญต่อผู้ตามและผลงานที่ได้

ผู้นำ Leader นั้น ถือเป็น “ตัวจักร” สำคัญ ของความเป็นไปขององค์กร
เป็นตัวจักรที่จะกำหนดว่า องค์กรจะไปใน “ทิศทาง” ใด ?
องค์กร จะทำงานใน “รูปแบบ” ใด ?
ดีหรือเลว ?
สู้ หรือ ถอย ?
เครียด หรือ สบาย ?
สำเร็จ หรือ ล้มเหลว ?
“ทุกเรื่อง” ถูกกำหนดออกมาจาก “ผู้นำ” องค์กรทั้งสิ้น...

http://randomthoughtsonlifeblog.com/wp-content/uploads/2011/08/Leadership2.jpg

เมื่อกล่าวถึง “ผู้นำ” ก็คงหนีไม่พ้นที่จะกล่าวถึง “การใช้อำนาจหน้าที่” หรือ “พลังการนำ” Power
ซึ่ง Power นี้เอง ที่เป็นตัวแสดงออกมาจากตัวผู้นำ แล้วไปส่งผลอะไรต่อมิอะไรมากมาเป็นลำดับ

ทางเลือกในการใช้พลังอำนาจการนำ(Leadership choice) ที่มีการพูดถึงโดย Stephen R. Covey นั้น มี 3 ลักษณะด้วยกัน ได้แก่
1.   Principle-centered power
2.   Utility power
3.   Coercive power

·       Coercive power - การบริหารโดยใช้อำนาจบังคับบัญชา
ขอเริ่มจากแบบที่แรงก่อน คือ การบริหารแบบใช้ “อำนาจ” นั่นเอง
อย่างที่เราชอบพูดกันว่า “อำนาจ” กับ “บารมี” แบบไทยๆนั้น วิธีการใช้อำนาจในลักษณะนี้ก็คือ การเน้นใช้ “อำนาจ” ในการบังคับบัญชานั่นเอง
โดยผลที่เกิดขึ้นคือ “ความเกรงกลัว” ของผู้ตาม
ถือเป็นการตอบสนอง “แบบชั่วคราว” และ “ตามสั่งเท่านั้น”
เมื่ออำนาจไม่ถูกใช้ การทำงานก็อาจจะหยุดนิ่ง หรือ ดำเนินไปช้าๆ

·       Utility power – การบริหารแบบมุ่งผลประโยชน์ต่อกัน
พลังการนำในลักษณะนี้ จะเบากว่าลักษณะแรก
แต่ก็ยังคงมีลักษณะเป็นการ “ตอบสนองคำสั่งหรือหน้าที่” ที่เอื้อประโยชน์ต่อกันเท่านั้น
หากไม่มี “คำสั่งการที่เอื้อประโยชน์” แล้ว การทำงานก็อาจไม่เกิดขึ้น หรือ ทำอย่างช้าๆ
เพราะลักษณะนี้ พลังอำนาจการนำ จะเกิดขึ้นจาก “การตกลงกันหรือความสัมพันธ์ที่มีผลประโยชน์แลกเปลี่ยน” มาเกี่ยวข้องเสมอนั้นเอง
ผู้ตามก็จะประเมินการนำแบบนี้ ในเกณฑ์ “ยุติธรรม” หรือ “ไม่ยุติธรรม”
ซึ่งเบื้องหลังของความไม่ยุติธรรม ก็คือการเสียผลประโยชน์

·       Principle-centered power – การบริหารโดยเน้นหลักการสำคัญ
ลักษณะสุดท้าย ดูจะเป็นการใช้พลังการนำที่ดูดีที่สุด
คือ ใช้การบริหารบนพื้นฐานของ “หลักการสำคัญ” ของการบริหารงานบุคคล ซึ่งรวมไปถึงการใช้หลัก “คุณธรรม” นำการบริหารด้วย
โดยผู้นำจะเน้นไปที่ “การให้เกียรติ” การให้ความชื่นชมในการทำงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
การใช้ลักษณะการนำแบบนี้ จะส่งผลให้เกิดการทำงานที่ได้ผลดีและต่อเนื่องในระยะยาว
ผู้ตามจะสามารถสร้างงานได้ด้วยตนเองเสมอ โดยไม่ต้องรอคำสั่งการ

ตัวอย่างอื่นๆของ “ความชื่มชม” หรือ Recognition (...ผู้เขียนเพิ่มเติม)
การทำงานเป็นทีม Team working
การร่วมมีส่วนในการทำงาน Contribution, Coordination
การสอนงาน/ชี้แนะงาน Coaching
การมีพี่เลี้ยง Mentoring
เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม..
การบริหารงาน หรือ “การนำองค์กร” นั้น เป็นงานศิลป์ที่ต้องปรับใช้หลากหลายรูปแบบ
คงไม่มีอะไรที่ดีไปกับทุกเหตุการณ์
ผู้นำ จึงต้องมีทักษะหรือความสามารถในการ “เลือกใช้” และ “ปรับใช้” หลักการต่างๆด้วย
เพื่อนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น