วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

“ 3 ประสาน” - 3 ส่วนสำคัญในเรื่อง “สามก๊ก” – รูปแบบองค์กรในการบริหารจัดการที่ใช้ได้เสมอ

3 ประสาน” - 3 ส่วนสำคัญในเรื่อง “สามก๊ก” – รูปแบบองค์กรในการบริหารจัดการที่ใช้ได้เสมอ

หากกล่าวถึงนิยายหรือวรรณกรรมจีนที่คนทั่วโลกรู้จักดีที่สุด
ผมว่า เรื่อง “สามก๊ก” ติดหนึ่งในสิบ อย่างไม่ต้องสงสัยแน่นอน
และโดยเฉพาะหากให้เลือกวรรณกรรมจีนที่นำมาใช้อ้างอิง “การจัดการบริหารงาน” แล้วล่ะก็...
สามก๊กก็อาจจะเป็น “เรื่องแรกสุด” ที่คนพูดถึง

http://www.marukopost.com/images/posts/Post_20111226103806.jpg

“สามก๊ก” คงเป็นวรรณกรรมที่นักบริหารอ่านหรือดูมากที่สุด
เนื่องจากทั้งสนุกและได้แง่มุมความคิดมากมาย
รวมไปถึงกลยุทธ์ต่างๆ ที่พลิกแพลง...
เล่ห์เหลี่ยมที่พริ้ว...หลอกล่อกันไปมา...
ชิงเหลี่ยมกันแทบจะทุกตอนเลยก็ว่าได้
ผมเคยดูเรื่อง “ซุนวู” ด้วยเหมือนกัน...แต่หากเปรียบเทียบกับเรื่อง “สามก๊ก” แล้ว
แตกต่างกันมาก...ซุนวูจะดูยากกว่าและเครียดมากกว่าสามก๊กเยอะเลยครับ

แต่อย่างไรก็ตาม...
ทั้งซุนวูและสามก๊ก ต่างนำมาใช้ในเรื่องของการ “บริหารจัดการ” และ “กลยุทธ์” ได้ทั้งสองเรื่อง
มีมุมที่เสริมกันได้เป็นอย่างดี

เกริ่นข้อดีมาตั้งนาน...ครั้งนี้อยากเล่าให้เห็นถึง
การสร้างองค์ประกอบของการทำงานหรือ “การยุทธ์” จากเรื่องสามก๊ก
โดยมีท่านผู้เชี่ยวชาญท่านหนึ่ง...
ท่านได้สรุปไว้ว่า...ในเรื่องสามก๊กนั้น จะคล้ายๆกับการบริหารอยู่อย่างหนึ่ง คือ...
โครงสร้างขององค์กรจัดการบริหารงาน
โดยโครงสร้างที่ว่านี้ ต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วนสำคัญด้วยกัน ได้แก่
1.   ส่วนของผู้นำ
2.   ส่วนของที่ปรึกษาหรือกุนซือ
3.   ส่วนของขุนพล...(ในการบริหารธุรกิจคือฝ่ายขายและการตลาด)  
โดยการบริหารจัดการให้ได้ผลลัพธ์หรือผลสำเร็จนั้น
ส่วนประกอบทั้งสามส่วนนี้ “ต้องมีครบ” และ “ต้องส่งเสริมซึ่งกันและกัน”
ผู้นำต้องมีกุนซือหรือที่ปรึกษาในการวางแผนกลยุทธ์ต่างๆ
และต้องมีขุนพลที่เก่งในการนำแผนการไปปฏิบัติในเกิดผลสัมฤทธิ์
ผู้นำเองก็ต้องเด็ดขาด มีบารมี ควบคุมไพร่พลได้...
และที่สำคัญ คือ... “ต้องมีคุณธรรม” เพียงพอในการบริหารจัดการกำลังพล

ดังนั้น...
“สามประสาน” จึงมีความสำคัญต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการ
ไม่ว่าจะอยู่ในวรรณกรรมหรือชีวิตจริงก็ตาม
ล้วนจำเป็น...

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

การสู้ด้วย “กลยุทธ์ของซุนวู” จากมังกรหยก - ปัจจัยแห่งความสำเร็จ Critical Success Factors

การสู้ด้วย “กลยุทธ์ของซุนวู” จากมังกรหยก

พึ่งได้ดูมังกรหยก(ภาคแรก ก๊วยเจ๋ง) เวอร์ชั่นถ่ายทำล่าสุด ปี 2008
มีเนื้อหาที่เปลี่ยนไปจากมังกรหยกเวอร์ชั่นเก่าๆ ไปเยอะเหมือนกัน
นี่ก็คงเป็นการใช้ “กลยุทธ์” ในการตลาดของผู้สร้างเวอร์ชั่นใหม่ๆ
เนื่องจากต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์หรือเหตุผลบางประการ
อย่างเช่นว่า...
ในเวอร์ชั่นใหม่นี้...เอี้ยคัง เป็นคนที่ดู “ไม่เลวร้าย” นัก
ดูมีความกตัญญูมากขึ้น
ส่วนท่านข่านกลับดูเลวร้ายมากกว่าในเวอร์ชั่นเก่าๆ
เป็นต้น
ก็คงมีเหตุปัจจัยหลายอย่างในการปรับแบบนี้ (ลองคิดเล่นๆกันดูครับ)


แต่ที่น่าสนใจ... ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับ “กลยุทธ์” คือ...
ในเวอร์ชั่น 2008 นี้ ได้กล่าวถึง “สุดยอดการใช้กลยุทธ์ของซุนวู” ต่อสู้กัน
และได้ผลดีด้วย
อย่างตอนที่เอี้ยคัง(ซึ่งมีฝีมือเดี่ยวๆแล้ว ไม่สามารถสู้กับก๊วยเจ๋งได้) ยกทัพขึ้นไปลุยกับมองโกล
โดยที่ตอนนั้น ท่านข่านของมองโกลได้แต่งตั้งก๊วยเจ๋งเป็นแม่ทัพของมองโกลสู่กับเอี้ยคังแห่งกิมก๊ก
เมื่อเอี้ยคังใช้กลยุทธ์ของ “ซุนวู” ก็สามารถทำให้ “ก๊วยเจ๋งที่มีฝีมือทางวรยุทธเหนือกว่า” กลับพ่ายแพ้ได้
นี่ก็ด้วยความมีประสิทธิผลของ “กลยุทธ์ซุนวู” นั่นเอง
คงไม่รายละเอียดตัวหนังมังกรหยกมากเกินไปกว่านี้ครับ
แต่สิ่งที่น่าสนใจที่จะคุยกันก็คือ...
ความสำเร็จในการทำธุรกิจ ก็เหมือนกับเรื่องนี้
มันมีปัจจัยแห่งความสำเร็จ Critical Success Factors อยู่หลายอย่าง
“การเก่งคนเดียว” คงไม่สามารถนำพาองค์กรให้มีชัยชนะในสมรภูมิการค้าหรือธุรกิจได้

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ Critical Success Factors ที่สำคัญ
ตัวอย่างเช่น...
1.    การมีกลยุทธ์เป็นต้นแบบของทิศทางการดำเนินธุรกิจ Strategy
2.    การมีโครงสร้างที่ถูกจัดตั้งให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ Structure
3.    การมีแผนการทำงานที่ชัดเจน สอดคล้องกันในทุกแผนกหรือทุกคน Action plan
4.    มีผลิตภัณฑ์หรือการบริการที่มีคุณภาพแท้จริง Quality Products/Services
5.    มีการบริหารทางการเงินและทรัพยากรต่างๆ(เสบียงคลัง)ได้ดีหรือเหมาะสม Resources
6.    มีการสร้างขวัญกำลังใจของพนักงาน Motivation
7.    พนักงานมีความสามารถที่จะทำงานได้ตามแผน Competencies


ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

Recognising the problem “ตระหนักรู้ว่ามีปัญหา” คือ ส่วนสำคัญที่สุดของการแก้ไขปัญหา

Recognising the problem “ตระหนักรู้ว่ามีปัญหา” คือ ส่วนสำคัญที่สุดของการแก้ไขปัญหา

มีหลายคนชอบพูดว่า “ไม่มีปัญหา”
ซึ่งมันตีความได้หลายแบบ...
ไม่มีปัญหาจริงๆ...ก็ตีความได้
หรือ มีปัญหาอยู่จริง แต่ไม่อยากให้ตื่นตระหนก(กำลังแก้ไขอยู่)...ก็เป็นไปได้
แล้วแต่ว่า...
คนฟัง “อ่านใจ” หรือ อ่านน้ำเสียงคนพูดได้มากน้อยแค่ไหน
http://transport-futures.com/wp-content/uploads/2011/01/puzzled1.jpeg

หากจะว่ากันตามหลักการแล้ว
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการแก้ไขปัญหา คือ...
“รับรู้ หรือ ยอมรับ” ว่ามีปัญหา Recognize the problem
เพราะหากไม่ยอมรับหรือไม่รับรู้ว่า “กำลังมีปัญหา”...สิ่งที่ตามมาคือ...
“ความนิ่งเฉย” ต่อสัญญาณการเกิดปัญหา และไม่พยายามที่จะแก้ไขปัญหา
ลองสังเกตเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นรอบๆตัวท่าน หรือ ในสังคมที่ท่านอยู่ก็ได้ครับ
จะต้องเจอประเด็นคล้ายๆอย่างนี้แน่นอน...

อีกเรื่องที่สำคัญก็คือ...การรับรู้ว่า “มีอาการหรือสัญญาณของปัญหา”...
แต่ไม่รู้จริงๆว่า “ปัญหาที่แท้จริง” คืออะไร(?)
เรื่องนี้ก็พบค่อนข้างมาก (ไม่รวมถึงการไม่สนใจที่จะเอาปัญหาเข้ามาไตร่ตรอง)
ดังนั้น...
โดยกระบวนการจัดการกับปัญหาต่างๆนั้น Dealing with the problem
(เมื่อตระหนักรู้ว่ามีปัญหาเกิดขึ้นแล้ว)
พบว่ามีอยู่ 2 ส่วนใหญ่ๆ(ง่ายๆ) ได้แก่
1.   Discussing the problem
คือการเข้าสู่รายละเอียดของตัวปัญหาที่กำลังเจออยู่
เป้าหมายเพื่อหา “สาเหตุหลัก” ของปัญหาที่กำลังเจออยู่ Identify the Causes
ตัวอย่างเช่น
การเรียกคนที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล
การจัดตั้งกลุ่มเพื่อศึกษาปัญหา(รายละเอียด)
การระดมสมองกับประเด็นปัญหาที่เจอ
เป็นต้น

2.   Finding the solution
คือขั้นตอนที่ต่อเนื่องจากขั้นที่หนึ่ง
เป็นขั้นตอนที่ต้องหา “คำตอบ” หรือวิธีจัดการ/แก้ไขปัญหาที่สรุปมาจากข้อที่หนึ่งนั่นเอง
คำแนะนำที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือ...
ต้องให้คนที่อยู่ในปัญหาหรือกำลังเผชิญปัญหานั้น “มีส่วนร่วม” ในการหาคำตอบต่อปัญหานั้นๆด้วย
ก็แน่นอนใช่ไหมครับว่า...
คนที่อยู่กับประเด็นปัญหานั้น ย่อมเข้าใจหรือมีข้อมูลมากที่สุดกับประเด็น
การที่มีเขาคนนั้นอยู่ด้วย โอกาสที่จะจัดการปัญหาได้สำเร็จก็มีสูง
แต่ข้อควรคำนึง คือ...
การกล่าวโทษคนๆนั้น
ประเด็นที่ต้องทำให้ได้(สำคัญยิ่ง) คือ...การไม่กล่าวโทษ แต่ให้เขารับอย่างเต็มใจว่า “ปัญหามีไว้แก้” และเขาคือคนสำคัญที่สุดที่จะช่วยหาคำตอบที่ดีที่สุด(เขาคือคนที่ต้องจัดการนั่นเอง owner)


ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

KPI และ Benchmarking ความสำคัญในการนำไปใช้วัดผลการปฏิบัติงาน

KPI และ Benchmarking ความสำคัญในการนำไปใช้วัดผลการปฏิบัติงาน

ช่วงนี้ได้ยินคำว่า KPI บ่อยมาก
บางวันได้พูดคุยเรื่องนี้กับอาจารย์มหาวิทยาลัย...เลยรู้ว่า...
อ๋อ..เดี๋ยวนี้ทางภาครัฐก็ใช้ระบบการบริหารงาน โดยวัดผลจาก “ดัชนีชี้วัด” KPI ด้วยเหมือนกัน

KPI หรือ Key Performance Indicators
คือตัวชี้วัดที่มีการใช้ในงานพัฒนาคุณภาพหรือ พัฒนาระบบ มานานสักช่วงหนึ่งแล้ว
หากเอ๋ยชื่อบางระบบขึ้นมา อย่างคำว่า ระบบ ISO ทุกคนคงต้องร้องอ๋ออย่างแน่นอน
นั่นล่ะครับ KPI ก็มีส่วนสำคัญในงานดังกล่าวมานานพอควร

สำหรับผมเอง มารู้จักคำนี้มากๆ ก็ตอนมาเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง การตลาด Marketing
หรือ ในเรื่องที่เกี่ยวกับ การ Implementation กลยุทธ์ในอดีตที่ผ่านมา
และในช่วงที่มีการเข้ามาเกี่ยวข้องกับการทำ Information System ที่ต้องมีการกำหนดตัวชี้วัด
และ เกี่ยวเนื่องกับการ “เทียบเคียง” หรือที่รู้กันในชื่อว่า Benchmarking นั่นเอง
ก็ทำให้เข้าใจมันมากขึ้นและชัดเจน

http://www.prosoftcrm.in.th/FileSystem/image/bowling/20101228/KPIs.jpg

หากจะกล่าวกันในปัจจุบันนี้แบบง่ายๆเกี่ยวกับ KPI
ก็คงต้องบอกว่า...
KPI คือ ตัวชี้วัดผลงานหรือผลลัพธ์จากการปฏิบัติงาน
โดยจัดเป็นองค์ประกอบสำคัญ ของการทำ “การเทียบเคียง” หรือ Benchmarking ซึ่งอยู่ในหมวดใหญ่ในการทำ TQM (Total Quality Management) นั่นเองครับ

กล่าวถึง Benchmarking ก่อนเลย เพราะเป็นกรอบการทำงาน
โดยจะมีการทำการเทียบเคียงได้ 3 ระดับด้วยกัน ได้แก่
๑.     ระดับการวัดเทียบเคียงผลลัพธ์หรือผลิตภัณฑ์(หรืองานบริการ) Result or Product ระหว่างกัน
เช่น วัดเทียบผลกำไรระหว่างหน่วยงาน,
การวัดความพึงพอใจของลูกค้าที่มาใช้บริการ เป็นต้น

๒.     ระดับการวัดเทียบเคียงกระบวนการ Process ระหว่างกัน
เป็นการมุ่งวัดเทียบ “ประสิทภาพ” นั่นเอง
เช่น การวัดเทียบกระบวนการกระจายสินค้าระหว่างสององค์กร นำมาเทียบกันดูว่าองค์กรไหนดีกว่ากัน ซึ่งอาจจะนำส่วนที่ดีกว่านั้น มาปรับปรุงองค์กรที่ประสิทธิภาพต่ำกว่า เป็นต้น

๓.    ระดับการวัดเทียบเคียงแนวคิดหรือกลยุทธ์ Strategy ระหว่างกัน
เป็นการประเมินกลยุทธ์ที่ทำ เช่น อาจจะประเมินกลยุทธ์ของเราและคู่แข่ง ดูว่าเมื่อเทียบแล้วองค์กรแต่ละที่เป็นอย่างไร อยู่ระดับไหน (?) ตัวอย่างเช่น เทียบกันเรื่องการขยายสาขาที่เปิดขึ้นใหม่/เดือน เป็นต้น

ดังนั้น KPI ที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง Benchmarking ก็คือ...
รายการที่ใช้วัดเทียบกันนั่นเอง
ได้แก่...
-ผลกำไรที่เพิ่มขึ้น
-ความพึงพอใจของลูกค้า
-ต้นทุนการกระจายสินค้า
-ความรวดเร็วหรือเวลาที่ใช้ในการกระจายสินค้า
-จำนวนการขยายสาขาที่เปิดขึ้นใหม่/เดือน
เป็นต้น

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

“หลักการหรือกฎแห่งการเป็นผู้นำ” 4 ข้อ... จาก “คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก”

“หลักการหรือกฎแห่งการเป็นผู้นำ” 4 ข้อ... จาก “คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก”

เมื่อพูดถึงหนังสือที่คนอ่านหามาอ่านจำนวนมากๆ เกี่ยวกับ “ความสำเร็จ”
เห็นจะมีชื่อหนังสือเล่มนี้ติดมาในลิสต์รายชื่ออย่างแน่นอน...
“คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก” The magic of Thinking Big
โดย David J. Schwartz
แปลโดย ดร.นิเวศน์

ที่ผมชอบเรื่องหนึ่งคือ...คำแนะนำถึง “การเป็นผู้นำที่สำเร็จ”
โดยใช้ “หลักการหรือกฎแห่งการเป็นผู้นำ” 4 ข้อด้วยกัน ได้แก่
1.   แลกเปลี่ยนจิตใจกับคนที่คุณต้องการจะมีอำนาจชักจูงใจเขา
2.   คิดว่าอะไรคือวิธีการจัดการกับปัญหาอย่างมีความเป็นมนุษย์?
3.   คิดอย่างก้าวหน้า เชื่อในความก้าวหน้า และผลักดันเพื่อความก้าวหน้า
4.   หาเวลานอกเพื่อที่จะปรึกษากับตนเอง

http://www.2bemen.com/uploads/--puzzy/---how_to---/cul_clintonpoints.jpg

เหตุที่ผมชอบตรงประเด็นนี้...
ก็เพราะผมเชื่ออย่างที่นี้ แล้วก็ทำอย่างนี้มาเป็นลำดับ
โดยเฉพาะข้อสุดท้าย “การอยู่กับตนเอง” ให้เวลากับตนเอง เพื่อหาแนวทางใหม่ๆ ที่ดีขึ้นกว่าเดิม และได้ผลจริงในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

รายละเอียดคร่าวๆของแต่ละข้อมีดังนี้...
1.   แลกเปลี่ยนจิตใจกับคนที่คุณต้องการจะมีอำนาจชักจูงใจเขา
จริงๆประเด็นนี้ว่าง่ายๆก็คือ...
“เอาใจเขามาใส่ใจเรา” นั่นเอง
คือเมื่อจะทำสิ่งใดๆ ผู้นำจะต้องคิดในมุมของคนๆนั้น
ไม่ว่าจะเป็นมุมของพนักงาน หรือ มุมของลูกค้า

2.   คิดว่าอะไรคือวิธีการจัดการกับปัญหาอย่างมีความเป็นมนุษย์?
ว่ากันตรงๆง่ายๆคือ...
“มีหัวจิตหัวใจ”...มีความรู้สึกต่อคนทำงาน เข้าใจปัญหาในหลายๆด้าน ทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวของคนทำงาน...
ไม่ใช่แข็งทื่อเอาแต่งาน...ใช้แต่ระเบียบขององค์กรมาเป็นตัวกำหนดการทำงานและผลงาน

3.   คิดอย่างก้าวหน้า เชื่อในความก้าวหน้า และผลักดันเพื่อความก้าวหน้า
เรียกว่า “มีความคิดแบบก้าวไปข้างหน้า”
มองทุกสิ่งทุกอย่างสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้เสมอ
“พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง”...
ตรงประเด็นนี้มีคำสำคัญอยู่ ๓ คำ ได้แก่...
“คิด...เชื่อ...ผลักดัน...”

จะว่าไปแล้วตรงนี้ก็ทำยากสำหรับบางคน...โดยเฉพาะ “คนที่มองโลกแง่ลบ” ซึ่งมีมากเหมือนกัน
แต่อย่างไรก็ตาม...ผมเชื่อว่า “มันฝึกกันได้”
ก็ใช้เวลาหน่อย...

4.   หาเวลานอกเพื่อที่จะปรึกษากับตนเอง
ประเด็นนี้ผมเชื่อเป็นที่สุดว่า.. “จำเป็นอย่างยิ่ง” สำหรับคนที่จะเป็นผู้นำที่สร้างความสำเร็จ
การอยู่กับตนเอง “เพื่อใคร่ครวญส่งต่างๆ” จะส่งผลให้การจัดการงานประสบความสำเร็จมากขึ้น
บางครั้ง จะได้ “แนวคิดดีๆ” มาใช้ในการสร้างกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม
ซึ่งก็มีการปฏิบัติหลายรูปแบบ เช่น...
การหลบไปพักร้อน (อันนี้ บิล เกตส์ ก็ทำเหมือนกัน)
การไปหาที่สงบ “ทำสมาธิ”
ตรงนี้ต้องแยกออกจากการไปอยู่กับตนเอง แต่ประสบกับ “ความฟุ้งซ่าน” นะครับ...อันนี้ไม่มีประโยชน์อะไรแน่ๆ

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2555

วงจร PDCA ที่เคยโด่งดัง...ง่ายๆแต่มีประสิทธิผล

วงจร PDCA ที่เคยโด่งดัง...ง่ายๆแต่มีประสิทธิผล

เมื่อสัก 4-5 ปีที่แล้ว
ผมได้ยินการพูดถึงวงจร PDCA นี้ตลอดเวลา
มีอะไรก็จะอ้างถึงวงจรนี้ทุกครั้ง
เหมือนว่ามันจะเป็นเรื่อง “มาตรฐาน” ของขั้นตอนการทำงานให้สำเร็จ
ไม่ว่าจะวงการไหน...
ก็เห็นจะพูดกันเสมอๆ

แต่ที่น่าตั้งข้อสังเกตคือ...
เรากำลังทำเพียงบางส่วน...แค่ PDPD อยู่หรือเปล่า(?)
ซึ่งก็คือ วางแผน และทำ...แล้วก็วางแผนใหม่ แล้วทำใหม่
(Plan-Do and Plan-Do and…)

http://speedendurance.com/blog/wp-content/uploads/2008/09/demingpdca.gif

ว่าไปแล้ว PDCA cycle ก็คือ “Deming Cycle” นั่นเอง
ก็เอามาจากชื่อของอาจารย์ที่ทำเรื่องนี้นั่นล่ะครับ
ท่านชื่อ “เดมิ่ง” (W.E. Deming)
บางคนก็เรียกท่านว่า เป็น “Hero of Japan”...เนื่องจากท่านได้ใช้เวลาส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบให้กับญี่ปุ่น จนเกิดความสำเร็จอย่างสูง

วงจร PDCA นี้ บางครั้งเรียกว่า Improvement Cycle
เนื่องจากมันเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่อง “การปรับปรุงสิ่งที่เรากำลังทำอยู่”
หรือ เกี่ยวข้องกับ “กระบวนการเรียนรู้” Learning ในการทำสิ่งที่กำหนดนั่นเอง
โดยจุดเน้นที่มีการใช้วงจรนี้อยู่คือ...
เรื่องการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง Continuous improvement
หรือการเน้นไปใช้ในการพัฒนากิจกรรมใหม่ๆ New activities
รวมถึงการนำไปใช้ในกระบวนการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ Problem solving

รายละเอียดของแต่ละตัวในวจร PDCA ได้แก่
1.   Plan
-จะเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์สิ่งต่างๆ เพื่อนำไปสู่การสร้างแผนงาน (Implementation plan)
-รวมไปถึงส่วนสำคัญของแผนงานซึ่งก็คือ การกำหนดว่าใครจะรับผิดชอบในเรื่องไหน (Assign Responsibility)
-ในการทำส่วนนี้ ได้มีการให้แนวทางง่ายๆว่า ...เป็นการตอบคำถาม What, Who, When, Where, How นั่นเอง

2.   Do
เป็นการปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนของแผนงาน โดยต้องทำตามลำดับในแต่ละส่วน แม้จะเป็นส่วนย่อยๆก็ตาม ก็นับว่ามีความสำคัญต่อแผนงานทั้งภาพรวม

3.   Check
-เป็นขั้นตอนการประเมินว่า สิ่งที่ปฏิบัติลงไปแล้วนั้น ตอบสนองได้รับผลลัพธ์ออกมาตามความคาดหวังเพียงไร (Desired result?)
-แล้วหากพบว่า ไม่เป็นไปตามความคาดหวังแล้ว สาเหตุของมันคืออะไรกันแน่ (If not, why not?)

4.   Act
ส่วนนี้ก็ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากเช่นกัน
เพราะเป็นการกระทำหลังการตรวจสอบผลลัพธ์จากการทำงานแล้วนั่นเอง
ซึ่งจะเป็นขั้นตอนที่ต้องสรุปว่า...
ส่วนใดที่สามารถนำไปสร้าง “มาตรฐานที่ดี” ของการทำงานในครั้งต่อไป (standardize the process)
หรือ ส่วนใดที่ต้องดำเนินการปรับปรุง หรือ ปรับเปลี่ยนให้ดียิ่งขึ้น
หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขใหม่ เพื่อให้ระบบดำเนินไปแบบ “ดียิ่งๆขึ้นไป” นั่นเอง

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ