วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2555

วงจร PDCA ที่เคยโด่งดัง...ง่ายๆแต่มีประสิทธิผล

วงจร PDCA ที่เคยโด่งดัง...ง่ายๆแต่มีประสิทธิผล

เมื่อสัก 4-5 ปีที่แล้ว
ผมได้ยินการพูดถึงวงจร PDCA นี้ตลอดเวลา
มีอะไรก็จะอ้างถึงวงจรนี้ทุกครั้ง
เหมือนว่ามันจะเป็นเรื่อง “มาตรฐาน” ของขั้นตอนการทำงานให้สำเร็จ
ไม่ว่าจะวงการไหน...
ก็เห็นจะพูดกันเสมอๆ

แต่ที่น่าตั้งข้อสังเกตคือ...
เรากำลังทำเพียงบางส่วน...แค่ PDPD อยู่หรือเปล่า(?)
ซึ่งก็คือ วางแผน และทำ...แล้วก็วางแผนใหม่ แล้วทำใหม่
(Plan-Do and Plan-Do and…)

http://speedendurance.com/blog/wp-content/uploads/2008/09/demingpdca.gif

ว่าไปแล้ว PDCA cycle ก็คือ “Deming Cycle” นั่นเอง
ก็เอามาจากชื่อของอาจารย์ที่ทำเรื่องนี้นั่นล่ะครับ
ท่านชื่อ “เดมิ่ง” (W.E. Deming)
บางคนก็เรียกท่านว่า เป็น “Hero of Japan”...เนื่องจากท่านได้ใช้เวลาส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบให้กับญี่ปุ่น จนเกิดความสำเร็จอย่างสูง

วงจร PDCA นี้ บางครั้งเรียกว่า Improvement Cycle
เนื่องจากมันเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่อง “การปรับปรุงสิ่งที่เรากำลังทำอยู่”
หรือ เกี่ยวข้องกับ “กระบวนการเรียนรู้” Learning ในการทำสิ่งที่กำหนดนั่นเอง
โดยจุดเน้นที่มีการใช้วงจรนี้อยู่คือ...
เรื่องการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง Continuous improvement
หรือการเน้นไปใช้ในการพัฒนากิจกรรมใหม่ๆ New activities
รวมถึงการนำไปใช้ในกระบวนการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ Problem solving

รายละเอียดของแต่ละตัวในวจร PDCA ได้แก่
1.   Plan
-จะเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์สิ่งต่างๆ เพื่อนำไปสู่การสร้างแผนงาน (Implementation plan)
-รวมไปถึงส่วนสำคัญของแผนงานซึ่งก็คือ การกำหนดว่าใครจะรับผิดชอบในเรื่องไหน (Assign Responsibility)
-ในการทำส่วนนี้ ได้มีการให้แนวทางง่ายๆว่า ...เป็นการตอบคำถาม What, Who, When, Where, How นั่นเอง

2.   Do
เป็นการปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนของแผนงาน โดยต้องทำตามลำดับในแต่ละส่วน แม้จะเป็นส่วนย่อยๆก็ตาม ก็นับว่ามีความสำคัญต่อแผนงานทั้งภาพรวม

3.   Check
-เป็นขั้นตอนการประเมินว่า สิ่งที่ปฏิบัติลงไปแล้วนั้น ตอบสนองได้รับผลลัพธ์ออกมาตามความคาดหวังเพียงไร (Desired result?)
-แล้วหากพบว่า ไม่เป็นไปตามความคาดหวังแล้ว สาเหตุของมันคืออะไรกันแน่ (If not, why not?)

4.   Act
ส่วนนี้ก็ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากเช่นกัน
เพราะเป็นการกระทำหลังการตรวจสอบผลลัพธ์จากการทำงานแล้วนั่นเอง
ซึ่งจะเป็นขั้นตอนที่ต้องสรุปว่า...
ส่วนใดที่สามารถนำไปสร้าง “มาตรฐานที่ดี” ของการทำงานในครั้งต่อไป (standardize the process)
หรือ ส่วนใดที่ต้องดำเนินการปรับปรุง หรือ ปรับเปลี่ยนให้ดียิ่งขึ้น
หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขใหม่ เพื่อให้ระบบดำเนินไปแบบ “ดียิ่งๆขึ้นไป” นั่นเอง

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น