“ 3 ประสาน” - 3 ส่วนสำคัญในเรื่อง “สามก๊ก” – รูปแบบองค์กรในการบริหารจัดการที่ใช้ได้เสมอ
หากกล่าวถึงนิยายหรือวรรณกรรมจีนที่คนทั่วโลกรู้จักดีที่สุด
ผมว่า เรื่อง “สามก๊ก” ติดหนึ่งในสิบ อย่างไม่ต้องสงสัยแน่นอน
และโดยเฉพาะหากให้เลือกวรรณกรรมจีนที่นำมาใช้อ้างอิง “การจัดการบริหารงาน” แล้วล่ะก็...
สามก๊กก็อาจจะเป็น “เรื่องแรกสุด” ที่คนพูดถึง
http://www.marukopost.com/images/posts/Post_20111226103806.jpg |
“สามก๊ก” คงเป็นวรรณกรรมที่นักบริหารอ่านหรือดูมากที่สุด
เนื่องจากทั้งสนุกและได้แง่มุมความคิดมากมาย
รวมไปถึงกลยุทธ์ต่างๆ ที่พลิกแพลง...
เล่ห์เหลี่ยมที่พริ้ว...หลอกล่อกันไปมา...
ชิงเหลี่ยมกันแทบจะทุกตอนเลยก็ว่าได้
ผมเคยดูเรื่อง “ซุนวู” ด้วยเหมือนกัน...แต่หากเปรียบเทียบกับเรื่อง “สามก๊ก” แล้ว
แตกต่างกันมาก...ซุนวูจะดูยากกว่าและเครียดมากกว่าสามก๊กเยอะเลยครับ
แต่อย่างไรก็ตาม...
ทั้งซุนวูและสามก๊ก ต่างนำมาใช้ในเรื่องของการ “บริหารจัดการ” และ “กลยุทธ์” ได้ทั้งสองเรื่อง
มีมุมที่เสริมกันได้เป็นอย่างดี
เกริ่นข้อดีมาตั้งนาน...ครั้งนี้อยากเล่าให้เห็นถึง
การสร้างองค์ประกอบของการทำงานหรือ “การยุทธ์” จากเรื่องสามก๊ก
โดยมีท่านผู้เชี่ยวชาญท่านหนึ่ง...
ท่านได้สรุปไว้ว่า...ในเรื่องสามก๊กนั้น จะคล้ายๆกับการบริหารอยู่อย่างหนึ่ง คือ...
โครงสร้างขององค์กรจัดการบริหารงาน
โดยโครงสร้างที่ว่านี้ ต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วนสำคัญด้วยกัน ได้แก่
1. ส่วนของผู้นำ
2. ส่วนของที่ปรึกษาหรือกุนซือ
3. ส่วนของขุนพล...(ในการบริหารธุรกิจคือฝ่ายขายและการตลาด)
โดยการบริหารจัดการให้ได้ผลลัพธ์หรือผลสำเร็จนั้น
ส่วนประกอบทั้งสามส่วนนี้ “ต้องมีครบ” และ “ต้องส่งเสริมซึ่งกันและกัน”
ผู้นำต้องมีกุนซือหรือที่ปรึกษาในการวางแผนกลยุทธ์ต่างๆ
และต้องมีขุนพลที่เก่งในการนำแผนการไปปฏิบัติในเกิดผลสัมฤทธิ์
ผู้นำเองก็ต้องเด็ดขาด มีบารมี ควบคุมไพร่พลได้...
และที่สำคัญ คือ... “ต้องมีคุณธรรม” เพียงพอในการบริหารจัดการกำลังพล
ดังนั้น...
“สามประสาน” จึงมีความสำคัญต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการ
ไม่ว่าจะอยู่ในวรรณกรรมหรือชีวิตจริงก็ตาม
ล้วนจำเป็น...
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ
ยิ่งดูสามก๊ก...ยิ่งคมขึ้นเรื่อยๆ
ตอบลบเข้าใจลึกลงไปในกลยุทธ์
เข้าใจคำว่า "กระบี่อยู่ที่ใจ"