วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

คู่แข่งมากขึ้น และ มาแรง...งัด “อะไร” มาสู้ (ได้บ้าง) – Competitive Strategies

คู่แข่งมากขึ้น และ มาแรง...งัด “อะไร” มาสู้ (ได้บ้าง) – Competitive Strategies

ช่วงนี้ (หลังเปิดปีใหม่)...
ได้ยินเรื่อง “สภาพการแข่งขัน” ในแต่ละวงการ...ค่อนข้าง “หนาหู” ...จากหลายๆคน
บางทีก็เสนอแนะแนวทางไปบ้าง...ให้ความเห็นกับสิ่งที่เขากำลังทำบ้าง...แล้วแต่ประเด็นและเนื้อความ
โดยเฉพาะในมุม “การตลาด” ที่ทำงานอยู่...
ซึ่งก็ถือได้ว่า “ยุคนี้” อะไรๆก็ Marketing เสียไปหมด...
มองไปทางไหน ก็เล่นกันเรื่องการตลาด...แข่งกันทางการตลาดเสียเยอะ...
ซึ่งผมก็มองได้สองมุมคือ...
ผมเองทำการตลาด...อะไรๆในหัวมันก็จะวิ่งลงสู่ Marketing ไปเสียหมด...อาจจะคิดในมุมนี้มากไปหน่อย หรือ...
มันเป็น “ยุค(การใช้)การตลาด” นำธุรกิจ จริงๆ!
ก็เลยอยากจะสรุป “แนวทาง” ที่จะงัดขึ้นมาสู้กันกับ “คู่แข่งขัน” ในตลาดเสียหน่อย

http://wendistry.com/wp-content/uploads/2010/04/competition.jpg

ว่ากันไปแล้ว...
ก็มีหลักหรือแนวทางใหญ่ๆในการ “สู้ศึก” ไม่มากมายนัก
จะแตกต่างกันก็คงในรายละเอียดเท่านั้น
1.   Product
แน่นอนอย่างที่สุดว่า “ผลิตภัณฑ์” ที่ดีกว่า...ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีกว่า... ย่อมได้เปรียบในการทำธุรกิจและการแข่งขัน
สิ่งที่อยากให้มองในรายละเอียดมากขึ้น มีสองส่วน ได้แก่
a.   Quality “คุณภาพ”
คุณภาพที่ดีกว่า ย่อมทำให้ลูกค้าร้องเรียกหาตลอดเวลา
เพียงแต่การจะรู้ได้ ต้องรอให้ลูกค้า “พิสูจน์” เสียก่อน จึงจะประกันได้ว่า...ลูกค้าชอบจริง
b.   Quantity “ปริมาณ”
อันนี้จะเกี่ยวเนื่องไปกับ “การตัดสินใจซื้อ” หรือ การลงทุนซื้อ ของลูกค้า
หากปริมาณมีความสมดุล หรือ ลูกค้า “เชื่อ” หรือ “รับรู้” ได้ว่า...ปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่กำลังดูอยู่นี้... “คุ้ม” แน่ๆ มันก็ง่ายในการที่จะชนะการแข่งขัน

2.   Organization
นอกจากเรื่องผลิตภัณฑ์ที่จะเดินด้วยตัวมันเองแล้ว
ลักษณะขององค์กร หรือ เรียกง่ายๆว่า “การจัดการ” Management นั้น
ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องนำมาใช้ในการสร้าง “ความได้เปรียบ” ในการแข่งขัน
ซึ่งมีเรื่องเกี่ยวเนื่องอยู่สองสามเรื่องดังนี้
a.   Branding “การสร้างแบรนด์”
ตรงประเด็นนี้ คงมากกว่าการสร้างตราสินค้าเพียงอย่างเดียว
“แบรนด์” เป็นเรื่องหลายๆเรื่องรวมๆกัน(ที่ทำลงไปโดยเฉพาะกับลูกค้าเป้าหมาย) แล้วส่งผลต่อ “ความรู้สึก” ของลูกค้าเป้าหมาย นำไปสู่ “ความรัก” “ความคลั่งไคล้” “ความภักดี” ต่อทุกสิ่งที่เป็นแบรนด์นั้นๆ ทั้งตัวสินค้าและตัวองค์กรเอง
(เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่และใช้เวลา...โอกาสหน้ามาลงรายละเอียดกันอีกที...)

b.   Strategy “กลยุทธ์ที่เลือกใช้”
เรื่องนี้สำคัญแน่นอน...
เพราะเป็นตัวกำหนด “การเดินทาง” หรือ “แผนการสู้” ขององค์กร
เอาง่ายๆแบบ ปรมาจารย์ท่านว่าไว้...
๑.     สู้เรื่องราคาถูก(จากต้นทุนต่ำ) หรือ
๒. สู้เรื่องความแตกต่าง(แบบที่ไม่เหมือนใคร)

c.    Structure “โครงสร้างขององค์กร”
โดยเฉพาะการจัด “กำลังพล” ซึ่งแต่ละแห่งก็ “จัดทัพสู้” ไม่เหมือนกัน
บางที่ก็เล่นแบบมีแบบแผนชัดเจน เข้มแข็ง
บางที่ก็เล่นแบบ “กองโจร” ตีโอบ ลอบซุ่มตี
ถามว่าแล้วแบบไหนดีกว่ากัน ?...
คำตอบคือ...
ก็แล้วแต่ “กลยุทธ์ที่วางไว้” ..บางครั้งก็ใช้แบบผสมผสาน “ตามสถานการณ์”
ง่ายๆก็คือ...ใคร “ประเมินได้เก่ง” และ “ยืดหยุ่นมากกว่า” ...ผมถือว่าได้เปรียบ

3.   People “บุคลากร”
เรื่อง “คน” นี่แน่นอนว่า เป็น “หัวใจ” ของทุกธุรกิจ...
กลยุทธ์ดี แต่ “คนเลว” (หมายถึง คนขาดการประสานงาน หรือ ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอกับกลยุทธ์ที่เลือกใช้) ... “ล้มเหลว”อย่างแน่นอน...
หรือไม่ก็ ผ่านไปได้แบบ “เหนื่อยใจแทบขาด”...
ในแง่ของเรื่อง “คน” นี้ สิ่งที่น่าประเมินสภาพก่อนการสู้ศึก คือ...
a.   Values “องค์กรมีแนวทางการจัดการอย่างไร”
เช่น บางองค์กรเน้นเรื่อง “คุณธรรมนำธุรกิจ” ...บางองค์กรเน้น “ผลงานเป็นเลิศ”...
บางองค์กรเน้น “พนักงานต้องมาก่อน” เป็นต้น
b.   Policy “นโยบายของฝ่ายบริหาร”
ฝ่ายบริหารเป็นต้นกำเนิดของ “กลยุทธ์และนโยบาย” ต่างๆในการดำเนินธุรกิจ
ดังนั้น พนักงานทุกระดับก็ต้องปฏิบัติตามนั้น
หากนโยบายสัมพันธ์กับทิศทางของอุตสาหกรรม...ก็แน่นอนว่า มี “โอกาส” ที่จะชนะในการแข่งขันมากกว่า
c.    Motivation “การสร้างแรงจูงใจ”
ตรงนี้ก็สำคัญไม่แพ้ข้ออื่นๆ...
และเห็นได้ว่า... “ทุกองค์กร” ต่างมุ่งมั่นแข็งขันที่จะทำเรื่องนี้ ซึ่งสัมพันธ์โดยตรงกับ “คน” ในองค์กรนั่นเอง
ทำอย่างไรที่จะให้ คนทำงาน “ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย” “สู้ไม่ถอย”
ทำอย่างไร กับ “การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวงการ” ที่เกิดขึ้น...พนักงานจะทำการ “ปรับตัวเอง” ให้ทันเหตุการณ์ แล้วมุ่งมั่นสร้างผลงานให้กับตนเองและองค์กร
เหล่านี้คือ “คำถามที่ทุกองค์กรต้องตอบ” ...
องค์กรไหนตอบได้เร็วกว่า...แล้วองค์กรทำการเปลี่ยนแปลงเร็วกว่า...ก็อยู่รอดและเติบโต

‘Do or Die’...อยู่หรือตาย...การกระทำต่างหากที่จะเป็นคำตอบ!

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น