วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

KPI และ Benchmarking ความสำคัญในการนำไปใช้วัดผลการปฏิบัติงาน

KPI และ Benchmarking ความสำคัญในการนำไปใช้วัดผลการปฏิบัติงาน

ช่วงนี้ได้ยินคำว่า KPI บ่อยมาก
บางวันได้พูดคุยเรื่องนี้กับอาจารย์มหาวิทยาลัย...เลยรู้ว่า...
อ๋อ..เดี๋ยวนี้ทางภาครัฐก็ใช้ระบบการบริหารงาน โดยวัดผลจาก “ดัชนีชี้วัด” KPI ด้วยเหมือนกัน

KPI หรือ Key Performance Indicators
คือตัวชี้วัดที่มีการใช้ในงานพัฒนาคุณภาพหรือ พัฒนาระบบ มานานสักช่วงหนึ่งแล้ว
หากเอ๋ยชื่อบางระบบขึ้นมา อย่างคำว่า ระบบ ISO ทุกคนคงต้องร้องอ๋ออย่างแน่นอน
นั่นล่ะครับ KPI ก็มีส่วนสำคัญในงานดังกล่าวมานานพอควร

สำหรับผมเอง มารู้จักคำนี้มากๆ ก็ตอนมาเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง การตลาด Marketing
หรือ ในเรื่องที่เกี่ยวกับ การ Implementation กลยุทธ์ในอดีตที่ผ่านมา
และในช่วงที่มีการเข้ามาเกี่ยวข้องกับการทำ Information System ที่ต้องมีการกำหนดตัวชี้วัด
และ เกี่ยวเนื่องกับการ “เทียบเคียง” หรือที่รู้กันในชื่อว่า Benchmarking นั่นเอง
ก็ทำให้เข้าใจมันมากขึ้นและชัดเจน

http://www.prosoftcrm.in.th/FileSystem/image/bowling/20101228/KPIs.jpg

หากจะกล่าวกันในปัจจุบันนี้แบบง่ายๆเกี่ยวกับ KPI
ก็คงต้องบอกว่า...
KPI คือ ตัวชี้วัดผลงานหรือผลลัพธ์จากการปฏิบัติงาน
โดยจัดเป็นองค์ประกอบสำคัญ ของการทำ “การเทียบเคียง” หรือ Benchmarking ซึ่งอยู่ในหมวดใหญ่ในการทำ TQM (Total Quality Management) นั่นเองครับ

กล่าวถึง Benchmarking ก่อนเลย เพราะเป็นกรอบการทำงาน
โดยจะมีการทำการเทียบเคียงได้ 3 ระดับด้วยกัน ได้แก่
๑.     ระดับการวัดเทียบเคียงผลลัพธ์หรือผลิตภัณฑ์(หรืองานบริการ) Result or Product ระหว่างกัน
เช่น วัดเทียบผลกำไรระหว่างหน่วยงาน,
การวัดความพึงพอใจของลูกค้าที่มาใช้บริการ เป็นต้น

๒.     ระดับการวัดเทียบเคียงกระบวนการ Process ระหว่างกัน
เป็นการมุ่งวัดเทียบ “ประสิทภาพ” นั่นเอง
เช่น การวัดเทียบกระบวนการกระจายสินค้าระหว่างสององค์กร นำมาเทียบกันดูว่าองค์กรไหนดีกว่ากัน ซึ่งอาจจะนำส่วนที่ดีกว่านั้น มาปรับปรุงองค์กรที่ประสิทธิภาพต่ำกว่า เป็นต้น

๓.    ระดับการวัดเทียบเคียงแนวคิดหรือกลยุทธ์ Strategy ระหว่างกัน
เป็นการประเมินกลยุทธ์ที่ทำ เช่น อาจจะประเมินกลยุทธ์ของเราและคู่แข่ง ดูว่าเมื่อเทียบแล้วองค์กรแต่ละที่เป็นอย่างไร อยู่ระดับไหน (?) ตัวอย่างเช่น เทียบกันเรื่องการขยายสาขาที่เปิดขึ้นใหม่/เดือน เป็นต้น

ดังนั้น KPI ที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง Benchmarking ก็คือ...
รายการที่ใช้วัดเทียบกันนั่นเอง
ได้แก่...
-ผลกำไรที่เพิ่มขึ้น
-ความพึงพอใจของลูกค้า
-ต้นทุนการกระจายสินค้า
-ความรวดเร็วหรือเวลาที่ใช้ในการกระจายสินค้า
-จำนวนการขยายสาขาที่เปิดขึ้นใหม่/เดือน
เป็นต้น

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น