วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555

คุณ “กินกบ” เป็นอาหารเช้าแล้วหรือยัง? Eat that frog!

คุณ “กินกบ” เป็นอาหารเช้าแล้วหรือยัง? Eat that frog!

1.       ตัดสินใจให้ได้(แต่เช้าเลย)ว่า...อะไรคือสิ่งที่ต้องทำให้สำเร็จในวันนี้ และเขียนเอาไว้เลย
2.       จัดลำดับความสำคัญของงาน “อันไหนต้องทำก่อน” ...ประเมินโดยใช้หลัก 80/20 (คือ ทำในส่วนสำคัญ 20 ส่วนแรก แล้วเกิดผลลัพธ์ถึง 80%)
3.       ลองใช้วิธีแบ่งงานออกเป็น “ส่วนย่อยๆ” แล้วทำทีละส่วนจนสำเร็จทั้งหมด
4.       กระตุ้นตนเองให้ทำงานสำเร็จ โดยมองแง่บวก(เห็นสิ่งดีๆในงานนั้นๆ) เมื่อเจออุปสรรคเข้ามา ให้มองทางแก้ไขเป็นเป้าหมาย
5.       เมื่องานที่ทำได้คิด/ประเมินแล้วว่า “สำคัญที่สุด” ให้มุ่งทำอย่างรวดเร็ว ให้เสร็จไปเลย

สรุปใจความสำคัญมาบางส่วนครับ
รายละเอียดอ่านได้ในหนังสือนะครับ
...
อ๋อ ครับผม
...

วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

กรณีที่ลูกค้า “ไม่ซื้อ” ...อะไรคือสิ่งที่คุณกำลังคิด ?

กรณีที่ลูกค้า “ไม่ซื้อ” ...อะไรคือสิ่งที่คุณกำลังคิด ?


เวลาเจอสถานการณ์ที่พนักงานขาย ไม่สามารถขายของ(สินค้า)ได้
ผมมักนึกถึงคำอยู่ 3 คำหลักๆ ได้แก่
1.      Objection – ข้อโต้แย้ง(จากลูกค้า)
2.      Value – ประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้(จากสินค้าและเรา)
3.      AIDA – (บันได)ขั้นตอนของการขาย
เอาแค่ 3 อย่างนี่ก็ว่ากันไม่จบแล้วล่ะครับ

·        Objection – ข้อโต้แย้ง(จากลูกค้า)
แน่นอนว่า...ลูกค้าไม่ซื้อ ย่อมให้เหตุผลนานับประการ
ซึ่งเราเรียกว่า “ข้อโต้แย้ง”
ประเด็นก็คือ...
เราเองแยกได้หรือไม่ว่า...
หนึ่ง – เป็นข้อโต้แย้ง “ประเภท” ไหน?
และ สอง – มี “อะไร” อยู่เบื้องหลังข้อโต้แย้งนั้นบ้าง? (ลูกค้ามักไม่บอกตรงๆหรอกครับ)
จะว่าไปก็คือ ... “เราหาความต้องการของลูกค้าไม่เจอ” Customer Needs

ข้อมูลดีๆ – มีบางท่านสรุป “ประเภทของข้อโต้แย้ง” ไว้ 8 ประการ
ตัวอย่างสำคัญ เช่น
๑.     ลูกค้ายัง “ไม่เชื่อถือ” คุณ และ/หรือ องค์กรของคุณ – ดังนั้น ฉันไม่ซื้อเธอ แม้เธอจะ(บอกว่า)ดีเลิศเลอสักเพียงไหม
๒.     ลูกค้ายัง “สงสัย” หรือ “ไม่มั่นใจ” กับผลิตภัณฑ์ที่คุณนำเสนอ – ดังนั้น ฉันไม่ซื้อเธอ ก็ทุกบริษัทฯก็บอกว่าดีกันหมดนั่นแหล่ะน้องเอ้ย
๓.     ลูกค้ายัง “ไม่แน่ใจ” ว่าจำเป็นต้องใช้ – ฉันไม่ซื้อหรอก ฉัน(คิดว่า)ไม่ได้มีประเด็นอะไรที่ต้องใช้
๔.      ลูกค้าไม่พอใจในเรื่อง “ราคา” หรือ “การบริการ” หรือ “เงื่อนไขการซื้อ” (ทั้งหมด หรือ อย่างใดอย่างหนึ่ง)

·        Value – ประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้(จากสินค้าและเรา)
ประเด็นคือ...

หนึ่ง – เราเอง “เชื่อมั่น” ในประโยชน์ของสินค้าจริงๆหรือเปล่า?
(ความไม่เชื่อมั่น ทำให้เราเอง “หวั่นไหว” ต่อ ข้อโต้แย้ง)

สอง – ประโยชน์ที่ว่านั้น ลูกค้าจะได้รับจริงหรือเปล่า? หรือ ลูกค้ามีความต้องการจริงๆหรือเปล่า?
(หากลูกค้ายังไม่รู้ความต้องการตนเองอย่างชัดเจน หรือเราเองหาความต้องการไม่เจอ ประโยชน์ของสินค้าอาจดีจริง แต่ไม่สามารถเข้าถึงได้)


·        AIDA – (บันได)ขั้นตอนของการขาย
สิ่งนี้ผมว่าสำคัญมากๆ...
หากทุกอย่างดีหมด แต่... “กระบวนการขาย” ไม่เป็นไปอย่างที่ควรจะเป็น
ก็ “ตกม้าตาย” กลางสนามรบ ได้

A = Attention – สนใจ(ปิ๊งแรก)
I = Interest – ใคร่รู้(รายละเอียดมากขึ้น)
D = Desire – อยากใช้(รู้ความต้องการชัดเจน)
A = Action – ซื้อใช้(หรือลองใช้)

บางคน...มาถึงก็เล่น “กระโจนเข้าใส่” ลูกค้า
พี่แกจะ “ขายท่าเดียว” ...
คิดง่ายๆครับ...
เหมือน “ตัวเราเอง” ไปเดินห้างฯ
จะไปซื้ออะไรก็ตาม...มันก็จะมี “บันได” ของกระบวนการซื้อแบบนี้แหล่ะครับ
สังเกตดู...
สินค้าบางตัว ... บันไดสั้น
แต่บางตัว... บันไดยาว...อาจต้องใช้เวลา และ อยู่ที่ “พนักงานขาย” ที่เข้าใจกระบวนการ แล้ว “จัดการ” แต่ละขั้นได้อย่าง “สมบูรณ์แบบ”...
ประมาณว่า “สั่นได้” ...จะให้สั้นหรือยาว

ที่ว่าไป...นี่ยังไม่รวมเรื่องสำคัญอีกอย่าง คือ...
Close a Deal – ปิดการขายอย่างสมบูรณ์แบบ
ปรมาจารย์การขายบางคน...สรุปไว้ถึง 13 รูปแบบทีเดียว
มีโอกาสจะมาเล่าให้ฟังครับผม

...
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ครับผม

วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

นักการตลาดต้องเข้าใจเรื่อง “การกระจายนวัตกรรม” ในแต่ละกลุ่มประชากร - Diffusion of Innovation

นักการตลาดต้องเข้าใจเรื่อง “การกระจายนวัตกรรม” ในแต่ละกลุ่มประชากร - Diffusion of Innovation

แม้องค์กรจะสร้างนวัตกรรมขึ้นมาได้แล้ว...
ความสำเร็จในการทำให้ผู้บริโภค/ลูกค้ายอมรับนั้น...
ต้องเข้าใจถึง “ลักษณะ” ของลูกค้าแต่ละกลุ่ม
โดยเฉพาะเรื่อง “บุคลิกภาพ” Personality ที่แตกต่างกัน
ตรงจุดนี้ก็สามารถใช้ในการแบ่ง “ส่วนแบ่งทางการตลาด” Segmentation ได้อย่างหนึ่ง


นักการตลาดต้องรู้และเข้าใจถึง กลุ่มคน 5 กลุ่ม ในกระบวนการทำให้นวัตกรรมไปถึงลูกค้า
หรือที่เรียกกันว่า “การกระจายนวัตกรรม” Diffusion of Innovation
ได้แก่...
1. Innovators
2. Early Adopters
3. Early Majority
4. Late Majority
5. Laggards

Innovators
คือ กลุ่มแรกสุดที่จะรับนวัตกรรม
ซึ่งจะว่าไปแล้ว กลุ่มนี้ก็คือ “นวัตกร” ผู้ชอบใช้เวลากับการคิดค้น การสร้างสิ่งใหม่ๆ นั่นเอง
คนกลุ่มนี้จะมีแนวคิดดีๆ ใหม่ๆ จำนวนมาก
ดังนั้น องค์กร/นักการตลาด จึงต้องเข้าไปคลุกคลีกับคนกลุ่มนี้
ให้พวกเขาได้ลองนวัตกรรมที่สร้างจากองค์กร
หรืออาจจะเป็น ให้พวกเขาได้สร้างนวัตกรรมร่วมกันกับองค์กรก็ได้

Early Adopters
คือ กลุ่มคนที่มีความเป็นผู้นำในสังคม
มีกำลังซื้อสูง และ จะเลือกซื้อ/ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใหม่ๆ ก่อนคนอื่นๆ
ดังนั้น นวัตกรรมจึงเหมาะที่จะให้คนกลุ่มนี้ได้ลองใช้
แล้วหากผลลัพธ์ออกมาดี องค์กร/นักการตลาด สามารถใช้คนกลุ่มนี้ในการอ้างอิงได้
(ซึ่งพวกเขาเองก็ชอบอยู่แล้ว)

Early Majority
กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ตามสังคมส่วนใหญ่ สังคมใช้อะไรก็จะถือว่ามีการพิสูจน์ผลมาแล้ว ก็จะใช้ตาม
โดยจะมุ่งเน้นไปที่ ราคาถูก ไม่มีความเสี่ยงในการใช้
เน้นการใช้งานที่สะดวก ไม่ยุ่งยาก
การตลาดกับกลุ่มนี้ คือ...
ให้ขนาดทดลอง นำไปลองใช้ที่บ้าน (หวังผลให้มีประสบการณ์ที่ดีและบอกต่อ)
ใช้การโฆษณาในภาพใหญ่
มีแผนกของการสนับสนุน/ดูแลลูกค้า Customer Services เพื่อช่วยรับรองว่าปัญหาจะถูกแก้ไข

Late Majority
กลุ่มนี้คล้ายกับกลุ่ม early Majority ข้างบน
เพียงแต่มีความรู้สึกกังวล กลัวการใช้งาน มากกว่า
อาจจะเรียกได้ว่าเป็นกลุ่ม “อนุรกษ์นิยม” Conservative ก็ได้
และมีการรับอิทธิพลจากความคิดของกลุ่มสุดท้าย คือ Laggards
ดังนั้น นักการตลาดต้องมุ่งที่จะใช้ “การสื่อสาร” ในเรื่องความน่าใช้นวัตกรรมเป็นหลัก
อาจจะใช้ “กลุ่มอนุรักษ์นิยม” ที่มีความรู้สึกดีกับนวัตกรรม เป็น “ตัวสื่อสาร”

Laggards
กลุ่มสุดท้ายนี้ เป็นกลุ่มที่ไม่ยอมเสี่ยงกับเรื่องใหม่ๆเลย
เป็นกลุ่มที่ไม่อยากเปลี่ยนแปลง
คิดว่า สิ่งเดิมนั้นดีอยู่แล้ว เพียงพอแล้ว
ดังนั้น กลุ่มนี้จะจัดการให้ยอมรับนวัตกรรมยากที่สุด
องค์กร/นักการตลาดอาจไม่สนใจในตอนแรกเริ่มของการกระจายนวัตกรรม..
จนกว่าจะมาถึงระยะที่ต้องโน้มน้าวกลุ่ม Late Majority จึงให้ความสนใจกลุ่มนี้

หลักสำคัญ คือ...
การทำให้นวัตกรรมสำเร็จได้นั้น...
ต้องทำให้ 2 กลุ่มแรก คือ Innovators และ Early Adopters ยอมรับเสียก่อน
กลุ่มอื่นๆจึงจะยอมรับตามกันมาในที่สุด
นักการตลาดจึงต้องเข้าใจและมุ่งเป้าไปที่สองกลุ่มแรก
เพื่อทำให้การกระจายนวัตกรรมขององค์กรสัมฤทธิผลได้อย่างแท้จริง

……..
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

ทำอย่างไรให้นวัตกรรมสำเร็จได้อย่างงดงาม – Success of Innovation

ทำอย่างไรให้นวัตกรรมสำเร็จได้อย่างงดงาม – Success of Innovation

มีบทความหนึ่ง...
ที่เขียนถึงความสำเร็จของการนำนวัตกรรมไปใช้งาน
Why were these innovations successful?
อ้างถึง Ely (1999)



บทความนี้ได้กล่าวไว้ถึง 8 สิ่งที่มีผลต่อความสำเร็จในการใช้งานนวัตกรรม
ได้แก่...
1. ความไม่พอใจกับสถานภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
Dissatisfaction with the status quo
ต้องมีสิ่งที่ดีกว่ารออยู่...
เราจะพบเห็นได้ว่า เรื่องนี้เป็น “ความต้องการ” ของคนทั่วไป
ซึ่งนักการตลาดมักใช้ประเด็นนี้ในการทำประเด็นทางการตลาดเสมอๆ
คือ เล่นกับความต้องการของผู้บริโภคนั่นเอง

2. ความรู้และทักษะที่มีอยู่ในปัจจุบัน
Knowledge and skills exist
คำถามคือ...มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้นวัตกรรมนี้หรือไม่(?)
หากไม่มี...ก็ย่อมทำให้การใช้นวัตกรรมเป็นไปอย่างยาก
คนใช้ก็ไม่อยากใช้ และอาจจะพาลหัวเสียไปกับนวัตกรรมตัวนี้เลยก็ได้
วิธีแก้ก็คือ...การฝึกอบรมการใช้งานนวัตกรรมนั่นเอง Training

3. มีทรัพยากรอย่างเพียงพอต่อการใช้งาน
Availability of resources
การมีทรัพยากรที่พร้อมต่อการนำนวัตกรรมไปใช้
นับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก
เพราะการจะทำให้ “การนำนวัตกรรมไปใช้งาน” เกิดผลสำเร็จได้จริง
จะต้องมีความพร้อมทั้งเรื่อง hardware, software, audiovisual media หรือ สื่ออื่นๆที่คล้ายๆกันนี้...เป็นพื้นฐาน

4. มีเวลาในการใช้งานอย่างเพียงพอ
Availability of time
แม้จะมีทรัพยากรเพียงพอแล้วก็ตาม
ก็ยังต้องการ “เวลา” ในการเรียนรู้ ฝึกฝน อย่างต่อเนื่อง
จนสามารถใช้งานนวัตกรรมได้อย่างคล่องแคล่วและเกิดผลลัพธ์จริงๆ
โดยเฉพาะในองค์กรที่จะนำนวัตกรรมมาใช้งาน
จะต้องให้เวลากับพนักงานอย่างชัดเจน
หากให้พนักงานไปฝึกฝนเองที่บ้าน(เวลาส่วนตัว)...ก็คงไม่สำเร็จได้อย่างที่มุ่งหวัง

5. การสร้างระบบชมเชยหรือรางวัลเพื่อกระตุ้นความสำเร็จ
Rewards and/or incentives exist
ก็ถือได้ว่าเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะใช้ประกอบ เพื่อให้การนำนวัตกรรมไปใช้งานเกิดผลสำเร็จจริงและรวดเร็วมากขึ้น
เป็นการกระตุ้นให้เกิด “ความร่วมมือ” หรือ การกระทำ
แต่สิ่งนี้จะต้องผูกไปกับการสร้าง “มาตรฐาน” ใหม่ของการทำงานหรือ ประสิทธิภาพไปด้วย

6. การให้ความร่วมมือเป็นส่วนหนึ่งของการนำนวัตกรรมไปใช้
Participation
อาจจะต้องเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนแรกๆในการตัดสินใจนำนวัตกรรมมาใช้
เพราะการเข้าร่วมตั้งแต่ขั้นตอนแรกๆนั้น
จะส่งผลให้เกิด “ความร่วมมือ” เพราะเหมือนการเป็นเจ้าของร่วมกัน
รวมไปถึงการสื่อสารระหว่างหน่วยงานต่างๆ
ก็เป็นการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการของการนำนวัตกรรมไปใช้งาน

7. การให้คำมั่นสัญญาต่อการนำไปใช้
Commitment
เป็นสิ่งที่องค์กรรับรู้ได้ว่า พนักงานหรือผู้ให้คำมั่นสัญญานั้น มีส่วนร่วมในการนำนวัตกรรมไปใช้งานอย่างแน่นอน
ซึ่งมองแล้วก็เหมือนได้รับการสนับสนุนในการนำนวัตกรรมไปใช้อย่างแท้จริง

8. ผู้นำต้องมีบทบาทต่อการใช้งานนวัตกรรม
Leadership
ทั้งนี้ต้องรวมไปถึงผู้นำระดับสูงที่ต้องชัดเจนและสนับสนุนการใช้งานนวัตกรรม
และผู้นำในระดับการนำนวัตกรรมไปใช้งาน หรือ เรียกว่า “ผู้นำโครงการ” ก็ได้
จะต้องจริงจังต่อการนำนวัตกรรมไปใช้ให้เกิดผลลัพธ์อย่างแท้จริง

....
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

บทบาทใหม่ของ “นักการตลาด” ในการตลาดยุคใหม่ 3.0 – New role of Marketers in Marketing 3.0

บทบาทใหม่ของ “นักการตลาด” ในการตลาดยุคใหม่ 3.0 – New role of Marketers in Marketing 3.0

“กูรู” ด้านการตลาดอาจารย์ฟิลลิป คอตเลอร์ Philip Kotler
ได้กล่าวถึงแนวคิดใหม่ของการตลาดอนาคต เรียกว่า ยุค Marketing 3.0
โดยเน้นไปที่ Value Based Marketing หรือ การตลาดที่อยู่บนพื้นฐานของ “คุณค่า” ของชีวิต
คุณค่า (Value) ในที่นี้มีความหมายกว้างที่ครอบคลุมไปถึง...
“คุณค่าของคนทั้งโลก”

ดังนั้น..
“บทบาท” หรือ การทำงานของนักการตลาดในอนาคต
จึงต้องปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับแนวทางใหม่ๆที่จะเกิดขึ้น
ทั้งแนวคิดที่ใหม่...
เช่น Value-based, sustainability, spirit focus, Social Networking, Globalization เป็นต้น
ทั้งกรอบการทำงานที่ใหม่...
เช่น บน New platform (Social media, VDO content),
New Innovation,
New Technology (Nanotechnology, Bio-embedded, DNA-link focus)
… เป็นต้น


นักการตลาดยุคใหม่ จึงต้องปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก
ทุกวันๆ...
จะมี “สิ่งใหม่ๆ” เกิดขึ้นตลอดเวลา
ผู้บริโภคเองก็ปรับตัวอยู่ตลอดเวลา

อย่างในการตลาด 3.0 ก็ได้กล่าวถึง 3i ที่เกี่ยวข้องกับกรอบการทำงานของนักการตลาดยุคใหม่
Identity
-เป็นการทำงานในมุมของการสร้างแบรนด์ Brand
ที่ต้องสะท้อนภาพออกมาอย่างชัดเจนและสอดคล้องกับอนาคต
-การทำเรื่อง Co-creation หรือ การสร้างผลิตภัณฑ์โดยเน้นการมีส่วนร่วมของลูกค้า
เอาความต้องการของลูกค้าขึ้นมาพิจารณาร่วม

Image
-นัการตลาดต้องทำเรื่องการสื่อสารทางการตลาด IMC
ที่ส่งผลต่อความรู้สึกของลูกค้า
ต้องสร้างความรู้สึกร่วมและต้อง “ใช่” ในมุมของลูกค้า

Integrity
-องค์กรต้องมุ่งที่จะทำธุรกิจอย่างมีคุณธรรม
ไม่เอาเปรียบหรือหลอกลวง รวมถึงการใส่ใจปัญหาสภาพแวดล้อม
-นักการตลาดต้องขบคิดในเรื่องการทำ CSR หรือ
ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร
ต้องสื่อสารทั้งภายในและภายนอก เพื่อความร่วมมือในการปฏิบัติและการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
-การตลาดเพื่อสังคมโลก หรือ Green Marketing
ก็ถือเป็นกระแสใหม่ของการทำธุรกิจ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใหม่ของผู้บริโภคที่มุ่งเน้นการร่วมรักษ์โลกและสังคมที่น่าอยู่
นักการตลาดจึงต้องสื่อสารภายในองค์กรถึงความต้องการใหม่
และพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองลูกค้าให้ได้มากที่สุดและสะท้อนภาพขององค์กรสู่สังคมให้ทันกับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต

...
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

การตลาดยุคใหม่ 3.0 รองรับอนาคตใหม่ - Marketing 3.0

การตลาดยุคใหม่ 3.0 รองรับอนาคตใหม่ - Marketing 3.0

ในวงการการตลาดนั้น...
คงไม่มีใครไม่รู้จัก อาจารย์ฟิลลิป คอตเลอร์ Philip Kotler
ถือว่าท่านคือ “กูรู” ด้านการตลาดตัวจริงเสียงจริง
ล่าสุด...
ท่านมีหลักการของการตลาดใหม่ ที่เรียกว่า Marketing 3.0
ซึ่งมีแนวคิดที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากพอดู
(แต่บางท่านก็บอกว่า...อาจารย์เองก็เคยพูดแบบนี้มานานแล้ว)

Marketing 3.0 นั้น จะมุ่งเน้น “ลึกลงไป” ในจิตของมุนษย์มากกว่าเดิม
จะเรียกว่า Spiritual Marketing ก็ได้
เพราะคำว่า Spirit คือ “จิตวิญญาณ” ของมนุษย์นั่นเอง


หรือให้มันดูผิวๆขึ้นมาหน่อยก็ต้องเป็น...
Value Based Marketing หรือ การตลาดที่อยู่บนพื้นฐานของ “คุณค่า” ของชีวิต
คุณค่า (Value) ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงเฉพาะคุณค่าของตนเองเพียงอย่างเดียว
แต่หมายรวมกว้างไปครอบคลุม...
“คุณค่าของคนทั้งโลก”
หรือ การมองในกรอบของมนุษยชาติมากกว่าเดิม Human Centric

ดังนั้น...
การตลาด Marketing จึงไม่ได้มองเพียงการตอบสนองความต้องการของลูกค้า
แต่การตลาดยุคใหม่...ต้องใส่ใจที่จะมองกว้างมากขึ้น..
ในกรอบของ “Human centric” (มนุษยชาติ) มากขึ้นนั่นเอง







การที่จะทำได้ดังนี้...
ฝ่ายบริหาร Management จะต้องกำหนดสิ่งเหล่านี้
ลงไปในวิสัยทัศน์และพันธกิจ Vision-Mission ด้วย
เพื่อให้ทั้งองค์กรเข้าใจและร่วมมือกัน
(มิใช่ฝ่ายการตลาดเพียงฝ่ายเดียว)
โดยมุ่งเน้นไปที่ Compassion และ Sustainability
นั่นคือ...
การใส่ใจ เห็นอกเห็นใจเพื่อนร่วมโลก และ...
มุ่งมั่นที่จะสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นกับชุมชนและสังคมโลก

เมื่อเป็นเช่นนี้...
ทั้งธุรกิจและผู้บริโภค(ลูกค้า)เอง
ก็จะตระหนักต่อสิ่งที่มีผลกระทบต่อชุมชนและสังคมโลกร่วมกัน




ยกตัวอย่างเช่น...
ความตระหนักในเรื่อง “ภาวะโลกร้อน” Global warming
ดังนั้น...
ผู้บริโภคก็จะสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ลดโลกร้อนมากขึ้น
ผู้ผลิต/ธุรกิจ ก็จะสร้างกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ที่จะลดผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนไปด้วย

โดยสรุปแล้ว...
การทำการตลาด 3.0 นั้น
ก็เพื่อเป็นมุมคิดของการทำงานจาก...
มุ่งกำไรเป็นตัวตั้ง...ไปสู่มุ่งสร้างสังคมให้อยู่ได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น
มุ่งความต้องการ/ความอยากบริโภคของลูกค้า...ไปสู่ความมุ่งหวังให้สังคมน่าอยู่มากขึ้น...
และทำเพื่อผู้อื่น เพื่อนมนุษย์ ชุมชน สังคม และโลก(ที่ทุกคนอยู่ร่วมกัน) มากขึ้นนั่นเอง

.....
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ


ธุรกิจและการตลาดบน “สื่อสังคมออนไลน์” Social Media Marketing

ธุรกิจและการตลาดบน “สื่อสังคมออนไลน์” Social Media Marketing

นับวันโลกมิติใหม่ในลักษณะที่เรียกกับว่า...
“เครือข่ายสังคมออนไลน์” Social Networking
จะเพิ่มความสำคัญในชีวิตมนุษย์บนโลกใบนี้
ในอนาคตไม่นาน...
พวกเราคงเห็น “รูปแบบใหม่ๆ” ของสังคมออนไลน์มากขึ้นเรื่อยๆ
และคงต้องตอบตัวเองให้ได้ว่า...
เราจะยืนอยู่ตรงไหนของ “โลกใหม่ในมิติที่ทาบซ้อน” แบบนี้

แน่นอนว่า...
สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ๆนั้น
จะคอย “กระตุ้น” ความต้องการใหม่ๆ หรือ ...
ความต้องการที่แฝงเร้นอยู่ภายในตัวมนุษย์
ให้เด่นชัดขึ้นมา

คำถามสำหรับ “องค์กรภาคธุรกิจ” คือ...
“ใครสามารถหยิบเอาความต้องการตรงนั้น...
เปลี่ยนมาเป็นโอกาสในการทำธุรกิจมากกว่ากัน?”


ว่าง่ายๆก็คือ...
ใครหรือองค์กรใด จะแปลงโอกาส เป็น “เงิน” (หรือผลกำไร)...
ได้มากกว่ากัน นั่นเอง



มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการใช้ “สื่อกลางของการสื่อสาร” หรือ Social Media
ในระดับโลก..พบว่า...
-มีการใช้เพื่อดูข้อมูลหรือเสพความบันเทิงต่างๆ Content = 42%
-มีการใช้เพื่อส่งเมล์-ค้นหาข้อมูล-ซื้อขายธุรกรรม Commerce = 36%
-และมีการใช้ในเรื่องการติดต่อ/สื่อสารระหว่างกัน Social Networking = 22%



ดังนั้น...
ทางธุรกิจจึงไม่ควรทิ้งโอกาสเหล่านี้
โดยเฉพาะการส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆ (เอกสาร, จดหมายข่าว, คลิปวิดีโอ) ไปสู่ “กลุ่มเป้าหมาย” หรือ ลูกค้า
ถือเป็นการทำเรื่อง IMC ได้ดีอีกทางหนึ่ง...
และอาจจะเป็นการทำ IMC ขององค์กรในรูปแบบใหม่ “รองรับอนาคต” ที่โลกกำลังจะเปลี่ยน Platform ทางการค้าขาย



ในด้านการตลาด Marketing แล้ว
เราเรียกรวมๆว่า เป็นการทำการตลาด Social Media Marketing
โดยจะเห็นว่า...
ในภาพรวม(ทั้งโลก) การตลาด Marketing ได้ใช้งานพวก social media นี้ มากกว่าส่วนงานอื่นๆ
คือใช้งานมากถึง 57%


และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนั้นดีมาก คือ...
สามารถเพิ่มการรับรู้หรือเข้าถึง Traffic ได้มากขึ้น 88% ในทางกลยุทธ์ (strategic)
นอกจากนั้น...
ยังมีผลต่อ การสร้าง Brand และ ยอดขาย Sales Revenue ด้วยเช่นกัน


....
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

ธุรกิจต้องมองหา “โอกาส” ในวิกฤติที่เผชิญ 3- Opportunity on the crisis

ธุรกิจต้องมองหา “โอกาส” ในวิกฤติที่เผชิญ 3- Opportunity on the crisis

ประโยค ที่ว่า “ในวิกฤตินั้น...มีโอกาส” ...
พูดไปมันก็ดูเท่ห์ดี...ใครๆก็พูด
ประเด็นที่สำคัญกว่าคือ...
“ใคร” หรือ องค์กรใด ใช้วิกฤติให้เป็น “โอกาส” ได้อย่างแท้จริง
ไอ้นี่สำคัญกว่าเยอะ...

‘Well done is better than well said’
… from Benjamin Franklin

ช่วงที่ผ่านมา...
ประเทศไทย เผชิญวิกฤติหนักหนาสาหัสจริงๆ
สื่อใช้คำว่า “มหาอุทกภัย” Flooding
ก็เห็นจะจริง...
ถึงวันนี้ก็ยังไม่แน่ใจว่า...ปีนี้หรือปีหน้า...
หากน้ำมาแบบนี้อีก... “เอาอยู่” กันอีกหรือเปล่าครับท่าน (?)



ในเชิงธุรกิจ หรือ ทางการตลาดแล้ว...
ผมชอบหลายๆบริษัท ที่ “เล่นคำ” กับวิกฤติที่เกิดขึ้น
โดยเฉพาะขอชมเชย “คนแรกๆ” ที่เอาศัพท์ใหม่ๆของการข่าวมาเล่นคำ
อย่างเช่น...
“เอาอยู่”
“น้ำไม่ท่วม”
“น้ำท่วมปั๊บ รับเงินแสน”
หรือแม้แต่หนังภาพยนตร์ยังมีให้เห็น... “รักเอาอยู่”


ในเชิงการตลาด Marketing แล้ว ผมว่า “แจ่ม” ครับ...
ที่กล้าเล่นคำแบบนี้


เพราะชีวิตนักการตลาดแล้ว...
มันก็อยู่ที่การเล่นกับ “คำ” หรือ Messages นั่นล่ะครับ
ไม่ว่าจะเป็นในองค์กร หรือ การทำการตลาดนอกองค์กร
การทำ IMC นั่นเองครับผม


ทบทวนกันหน่อยนะครับ
IMC คือ Integrated Marketing Communication
สิ่งที่ต้องทำคือ...
การโฆษณา Advertising
การประชาสัมพันธ์ PR
การตลาดทางตรง Direct Marketing
การใช้พนักงานขาย Sales
Marketing Promotion

ดังนั้น...
การเล่นคำ Messages นั้น (เพื่อ IMC)
จึงต้องทันสมัย...
เข้ากับยุค...หรือ สถานการณ์
และที่สำคัญมากคือ “ต้องแตกต่าง” Differentiation

คนแรกๆที่ใช้ “น้ำไม่ท่วม” ...นี่ผมถือว่า “เก่งและเจ๋ง” ครับ...
ส่วนคนอื่นๆที่ใช้หลังๆในคำเดิมๆ...
“น้ำไม่ท่วม”...
“น้ำไม่ท่วม”...
ผมเห็นแล้ว...จะอ๊วกครับผม
(ขอโทษที่แรงไปหน่อย...แต่รู้สึกอย่างนั้นจริงๆครับ)

...
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

ความสำคัญของ “เครือข่ายสังคมออนไลน์” Social Networking

ความสำคัญของ “เครือข่ายสังคมออนไลน์” Social Networking

อย่างที่ว่าไว้...
โดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม...
เราทุกคนกำลังอยู่ “ท่ามกลาง” สังคมใหม่...
ที่จะดูเป็น “มิติทาบซ้อน” กับมิติของชีวิตจริงบนโลกใบนี้
ที่เรียกกับว่า “เครือข่ายสังคมออนไลน์” Social Networking
ลองสังเกตและจับความรู้สึกดูรอบๆตัวเรา
จริงหรือไม่?

การเกิดขึ้นของอินเตอร์เน็ต Internet ส่งผลให้การติดต่อ/สื่อสารระหว่างกัน
เกิดขึ้นได้ใน “ชั่วพริบตา”...
หรือ ทันทีที่เรา “กดเลือก” Click
ไม่ว่าคนที่เราติดต่อจะอยู่ตรงข้ามกันอีกคนละด้านของโลกใบนี้
เพียงแค่ Click ...สิ่งที่ต้องการสื่อสารออกไป...ก็ถึงคนๆนั้นแล้ว
(หากส่งไม่ผิดคน หรือ สะกดชื่อไม่ผิด หรือ ระบบไม่ล่มเสียก่อน...ถึงแน่นอนครับ)

ดังนั้น การรับรู้หรือหาค้นหา จึงเกิดได้อย่างรวดเร็ว “ทั่วโลก”
ผ่านทาง “สังคมมิติทาบซ้อน” แห่งนี้





การเกิดขึ้นขององค์ประกอบหลายด้าน
จึงยิ่งส่งเสริมให้เกิด “ความต้องการ” Want/Demand
ที่อยากจะเข้าร่วมสังคมนี้...อย่างมากมาย “ล้มหลาม”
ไม่ว่าจะเป็น...
สื่อกลางของการสื่อสาร Social Media
อย่างที่นิยมกันสุดๆคือ...
เฟสบุ๊ค Facebook
ทวิตเตอร์ Twitter
เอาเฉพาะ Facebook ก็มีประชากรเกือบจะถึง 800 ล้านคนอยู่แล้ว
(ประชากรจีน มีประมาณ 1,400 ล้านคน, อินเดียอยู่ที่ประมาณ 1,200 ล้านคน)
จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า...
กระแสการทำการตลาดบนสื่อออนไลน์เหล่านี้ Online Marketing
จึงเติบโตอย่างมากมาย

เทคโนโลยีของอุปกรณ์ออนไลน์ต่างๆ Mobile Technology
แน่นอนว่า...
อุปกรณ์ทางด้านเทคโนโลยีที่ดีเพียงพอ
ย่อมส่งเสริมให้คนอยากจะเข้าสู่โลกออนไลน์มากขึ้น
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพดีและเร็วเพียงพอ...
และกลายมาเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้เพื่อการนี้โดยเฉพาะ Tablet
ซึ่งส่งเสริมให้ได้รับความบรรเทิง...มีความง่ายกว่าในการใช้งาน
หรือแม้แต่มือถือที่มีประสิทธิภาพสูง และมีความครบถ้วนขององค์ประกอบของการใช้งาน
อย่าง iPhone รุ่นต่างๆ...



เทคโนโลยีเหล่านี้เอง...


ส่งผลให้สื่อกลางการสื่อสารออนไลน์(เช่น Facebook, Twitter)..

เติบโตตามกันไป

....
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

ประเด็นในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต - Current & Future

ประเด็นในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต - Current & Future

ในภาพรวมของโลกปัจจุบัน
เราจะเห็นว่า...มัน “เปลี่ยนแปลง” Change ไปอย่างรวดเร็ว...เหลือเกิน
บางคนยังตั้งรับไม่ทันการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาในแต่ละวัน

บางเรื่องเราก็รู้...
ส่วนหลายเรื่อง “เราไม่รู้”...
ยิ่งหากเราเองเป็นคนไม่เข้าสู่สังคมออนไลน์ (online)…
หรือที่เขาชอบใช้คำว่า Social Network
แล้วล่ะก็...
ลืมไปได้เลยว่า...เราจะตาม “กระแส” ที่ไหลแตกต่างกันในแต่ละวัน
(ขนาดอยู่ในสังคมออนไลน์แล้วก็ตาม...บางวันยังรู้สึก “ตกเทรนด์” Trend ก็ยังมี)



สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว...
และยังพบเห็นหรือสัมผัสได้ในปัจจุบันนี้ Current issues
ก็อย่างเช่น...



โลกาภิวัฒน์ Globalization
เราจะรู้สึกได้ว่า...สิ่งที่เกิดขึ้น ณ จุดใดๆก็ตามในโลกใบนี้
มักจะมีอันต้องไปเกี่ยวเนื่อง/เกี่ยวพันกับ จุดอื่นๆบนโลกนี้เสมอๆ
-ปัญหาที่อเมริกาประสบกับวิกฤติการเงิน...ประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบเหมือนกัน
-จีนผลิตสินค้าต่างๆได้ในราคาถูก...ประเทศไทยก็มีขายในสินค้านั้นๆ และผู้ประกอบการในไทยเองต้องปรับตัว

เครือข่ายสังคมออนไลน์ Social Networking
การเกิดขึ้นของอินเตอร์เน็ต Internet ส่งผลให้การติดต่อ/สื่อสาร เกิดขึ้นได้ใน “ชั่วพริบตา”
ดังนั้น การรับรู้หรือหาค้นหา จึงเกิดได้อย่างรวดเร็ว “ทั่วโลก”

ภาวะโลกร้อน Global warming
ปัญหาที่กำลังประสบในเรื่องสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ “ทั่วโลก”
ล้วนส่งผลถึงกัน และร่วมกัน แบบ “ไม่เลือกหน้า”
เรื่องนี้จึงเป็นอีกประเด็นหนึ่ง ที่ยิ่งใหญ่เกินประเทศใดประเทศหนึ่งจะจัดการ
เป็นเรื่องของ “สังคมโลก” ที่ต้องร่วมมือกัน “รับผิดชอบ”
ดังนั้น...
ไม่ว่าจะเป็น Marketing 3.0
ไม่ว่าจะเป็น CSR หรือ Green Marketing
ล้วนเกิดขึ้นเพราะเหตุนี้ (เพื่อร่วมกันจัดการปัญหาของพวกเรา(ชาวโลก)กันเอง)

ประชากรโลกที่เปลี่ยงแปลงเชิงโครงสร้าง World population
เรามักจะแทนด้วยคำว่า Generation หรือ รุ่นต่างๆที่เกิดขึ้นมาบนโลก
ยุคนี้ที่มาแรงก็เห็นจะเป็นการพูดถึง…
Generation Y, Gen. Z และ Baby Boomers
กระแสของการทำธุรกิจหรือ การตลาด ต่างมุ่งให้ความสำคัญกันอย่างมาก

ดังนั้น...
ธุรกิจจึงต้องรับรู้และเรียนรู้ว่า...
ปัจจุบันและอนาคตที่กำลังจะมานั้น
มีประเด็นไหนที่ธุรกิจ “ต้องทำ หรือ ปรับตัว”...
เพื่อการคงธุรกิจให้อยู่รอดได้...
รวมถึงเป้าหมายที่ต้องเติบโต...
มิเช่นนั้นแล้ว...ก็คงต้อง “ออกจากเกมส์(ธุรกิจ)” ไปในที่สุด
Do or Die ?
Different or Die ?
Innovation or Die ?


ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555

นวัตกรรม – ทำไปทำไม ? – the benefit of Innovation

นวัตกรรม – ทำไปทำไม ? – the benefit of Innovation

อย่างที่ว่าไว้ในครั้งก่อนๆว่า...
“นวัตกรรม” นั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ “กระบวนการ” หรือ Process
เพื่อสร้างให้เกิด “สิ่งที่มีประโยชน์” ต่อผู้บริโภคหรือผู้ใช้
โดยมีขั้ตอนในการสร้างนวัตกรรมอยู่ 4 ขั้นตอนด้วยกัน
ได้แก่...
1. การคิด Think
2. การบอกเล่า Share
3. การลอง(พัฒนา) Develop
4. การนำไปใช้ Implement


สิ่งที่จะได้ออกมา หรือ ผลลัพธ์จากการสร้างนวัตกรรม ได้แก่
-การเกิดผลิตภัณฑ์ใหม่
-การปรับปรุงกระบวนการทำงานใหม่ๆ
-การแก้ไขปัญหาของลูกค้า
-วิธีการเอาชนะอุปสรรคของธุรกิจ
เป็นต้น



ส่วนข้อคำถามที่ว่า...
“ทำนวัตกรรมไปทำไม?” นั้น...
คำตอบก็คือ...
1. องค์กรสามารถเติบโตมากขึ้น จากการทำนวัตกรรม
2. ผู้บริโภคหรือลูกค้า เรียกร้องให้องค์กรต้องสร้างนวัตกรรมออกมา
3. ผู้บริโภคหรือลูกค้า มีความพึงพอใจมากขึ้น
4. การสร้างนวัตกรรม จะส่งผลต่อการรักษาพนักงานที่เก่งๆเอาไว้ได้
5. สร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ถือหุ้น/เจ้าของได้


ในโลกปัจจุบันที่การแข่งขันสูง
และมีการเปลี่ยงแปลงอย่างรวดเร็วนั้น
การที่องค์กรขาดนวัตกรรม...ย่อมมี “ความเสี่ยง” ต่อการอยู่รอดขององค์กร
ดังนั้น...
องค์กรสมัยใหม่ จะมีพันธกิจอยู่เรื่องหนึ่ง คือ...
Sustainability หรือ การอยู่(รอด)อย่างยั่งยืน
ดังนั้น... นวัตกรรม คือ คำตอบหนึ่งของพันธกิจนี้


Do or die ?
Innovation or Die ?


ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ครับผม

วิธีคิดระหว่าง “นวัตกรรม” และ “ความคิดสร้างสรรค์” – thinking of Innovation and Creativity

วิธีคิดระหว่าง “นวัตกรรม” และ “ความคิดสร้างสรรค์” – thinking of Innovation and Creativity

อย่างที่เคยกล่าวไว้...
นวัตกรรม เหมือนกับ “ความคิดสร้างสรรค์” ตรงที่...
ทั้งสองเรื่องนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ “กระบวนการ” หรือ Process

แต่ถึงแม้ว่า...เป็น “กระบวนการ” เหมือนกัน...
ส่วนของ “วิธีคิด” นั้น มีความต่างกัน



โดยที่ “ความคิดสร้างสรรค์” นั้น...
วิธีคิดจะเรียกว่า Divergent Thinking
หรือเรียกง่ายๆว่า “วิธีคิดแยก/แจกแจงออกจากกัน”
โดยมีเครื่องมือการคิดให้ใช้ได้หลายตัว...
อย่างเช่น การระดมสมอง Brain storming
หรืออย่างการทำ Mind Mapping นี่ก็ใช้ได้
และนอกจากเครื่องดังกล่าวแล้ว
การคิดอย่างสร้างสรรค์นี้...
ผู้คิดอาจจะต้องมี “ทักษะ”บางอย่าง เพื่อให้กระบวนการเกิดได้สะดวกมากขึ้น
อย่างเช่น ...
ทักษะการสังเกต
การเป็นคนที่มีจินตนาการ
เป็นต้น

ส่วนของ “นวัตกรรม” นั้น...
จะใช้วิธีคิดแบบ Convergent Thinking
หรือเรียกว่า “การเอามารวมเข้าด้วยกันใหม่”
โดยวิธีการรวมเข้าด้วยกันทำได้หลายวิธี
ทักษะของผู้ทำนวัตกรรม ก็คือ...
การคิดอย่างเป็นระบบ Systemic thinking
โดยมองภาพรวมได้ดี
แล้วใช้ “ 4 ขั้นตอนของการสร้างนวัตกรรม” เข้ามาช่วย
ได้แก่
1. Think
2. Share
3. Develop
4. Implement
(รายละเอียดทั้ง 4 ขั้นตอน - ดูได้จากบทความที่แล้วมา)





ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ครับผม

นวัตกรรม สร้างกันอย่างไร ? - Innovation process

นวัตกรรม สร้างกันอย่างไร ? - Innovation process

อย่างที่ว่าไว้ในครั้งที่แล้วว่า...
“นวัตกรรม” นั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ “กระบวนการ” หรือ Process
เพื่อสร้างให้เกิด “สิ่งที่มีประโยชน์” ต่อผู้บริโภคหรือผู้ใช้
ดังนั้น นวัตกรรมจึงไม่ได้มีขั้นตอนเพียงแค่การคิดเพียงอย่างเดียว


โดยหลักกว้างๆแล้ว
นวัตกรรมจะมีขั้นตอน อยู่ 4 ขั้นตอนด้วยกัน
ได้แก่...
1. การคิด Think
2. การบอกเล่า Share
3. การลอง(พัฒนา) Develop
4. การนำไปใช้ Implement


Think การคิด
เป็นขั้นตอนแรกของการสร้างนวัตกรรม
เรียกได้ว่า “วัตถุดิบ” ของการสร้างนวัตกรรม ก็คือ “ความคิด” หรือ Idea นั่นเอง
ซึ่งความคิดนี้ โดยมากจะเห็นว่า...
เรามักได้มาจากกระบวนการคิดแบบสร้างสรรค์ หรือ Creative thinking
โดยผ่านการใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น
การระดมสมอง Brain storming
การใช้ Mind Mapping
เป็นต้น

Share การบอกเล่า
เป็นขั้นตอนต่อมาจากการได้ความคิดมาแล้ว
เราต้องเล่าเรื่องนี้ไปสู่คนรอบข้าง หรือ ในธุรกิจก็คงจะเป็นทีมงานพัฒนาผลิตภัณฑ์
หรือฝ่ายการตลาด
เพื่อลองดูว่ามีประเด็นไหนบ้างที่จะสร้างโอกาสหรือความเป็นไปได้ของความคิดเหล่านี้

Develop การพัฒนา
เป็นขั้นตอนถัดมาหลังจากมานั่งคุยกันถึงความเป็นไปได้
แล้วมีการเลือกกันว่าจะพัฒนาความคิดไหนก่อน
ความคิดไหนสำคัญต่อธุรกิจมากกว่ากัน
โดยขั้นตอนนี้เป็นการพัฒนาตามสิ่งที่เป็นแนวความคิด
เช่น หากความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ – เราก็ลองพัฒนาผลิตภัณฑ์
แต่หากแนวความคิดเป็นเรื่องเกี่ยวกับ กระบวนการทำงาน – เราก็ลองพัฒนาแผนปฏิบัติงาน
เป็นต้น

Implement การนำไปใช้
แน่นอนว่า หลังการพัฒนาสิ่งใดขึ้นมาแล้ว
อยากรู้ว่ามันได้ผลมากน้อยเพียงใด –
เราก็คงต้องลองนำไปใช้(หลังการพัฒนาออกมาแล้ว)
เพื่อจะได้ดู “เสียงตอบรับ” จากกลุ่มผู้ใช้
หลังจากนั้น อาจจะนำมาเข้า process อีกครั้ง
เพื่อให้เกิดนวัตกรรม ที่ให้ประโยชน์ได้จริงๆ(ตอบโจทย์)
ดั่งนี้...
จึงจะเรียกว่า เรามีนวัตกรรมเกิดขึ้นในองค์กร




ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ครับผม

นวัตกรรม เหมือนหรือต่างกันกับ ความคิดสร้างสรรค์ - Innovation vs Creativity

นวัตกรรม เหมือนหรือต่างกันกับ ความคิดสร้างสรรค์ - Innovation vs Creativity

มีคนคุยกันเรื่องนี้เยอะพอดูว่า...
“นวัตกรรม” คืออะไร?
แล้วนวัตกรรม เหมือนหรือต่างกันกับ “ความคิดสร้างสรรค์”
ก็ต้องตอบว่า...
มีทั้งเหมือนและต่างกัน!






สิ่งที่เหมือนกันก็คือ...
ทั้งสองเรื่องนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ “กระบวนการ” หรือ Process
แต่ที่ต่างกันคือ...
สิ่งที่เป็นผลลัพธ์ที่เกิดออกมาจากนวัตกรรมนั้น...
ต้องเป็นสิ่งที่ “เกิดประโยชน์” โดยเฉพาะการก่อประโยชน์ในภาพกว้าง
หรือยิ่งใหญ่มากกว่าแค่การเป็นเพียงสิ่งประดิษฐ์

ส่วนความคิดสร้างสรรค์ เป็นกระบวนการที่สร้าง “ความคิด” ใหม่ๆ
ที่อาจจะนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมก็เป็นได้
(หากผู้คิดคนนั้น เข้าใจกระบวนการนวัตกรรม แล้วเอาความคิดใหม่ๆที่ได้ลองเข้าในขั้นตอนของการทำนวัตกรรม)

ดังนั้น ...
จะเห็นว่าในธุรกิจปัจจุบันนี้
มักไม่ได้ใส่ใจกับความคิดสร้างสรรค์เพียงอย่างเดียว
แต่เน้นไปที่การสร้าง “สิ่งที่เป็นประโยชน์” จากการทำนวัตกรรมมากกว่า
โดยเฉพาะการสร้างนวัตกรรมที่ “ตอบโจทย์” ของประเด็นหรือปัญหาที่ลูกค้ากำลังเผชิญอยู่

อย่างนี้แล้ว...
การมีแนวคิดใหม่ๆ จึงจะเกิดประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างแท้จริง
ไม่เพียงแต่คิดได้ดีเท่านั้น...
แต่ยังแปลงความคิดดีไปเป็น “คำตอบ” ทั้งของลูกค้าและองค์กร(กำไร) ได้ด้วย

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ครับผม