วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

นักการตลาดต้องเข้าใจเรื่อง “การกระจายนวัตกรรม” ในแต่ละกลุ่มประชากร - Diffusion of Innovation

นักการตลาดต้องเข้าใจเรื่อง “การกระจายนวัตกรรม” ในแต่ละกลุ่มประชากร - Diffusion of Innovation

แม้องค์กรจะสร้างนวัตกรรมขึ้นมาได้แล้ว...
ความสำเร็จในการทำให้ผู้บริโภค/ลูกค้ายอมรับนั้น...
ต้องเข้าใจถึง “ลักษณะ” ของลูกค้าแต่ละกลุ่ม
โดยเฉพาะเรื่อง “บุคลิกภาพ” Personality ที่แตกต่างกัน
ตรงจุดนี้ก็สามารถใช้ในการแบ่ง “ส่วนแบ่งทางการตลาด” Segmentation ได้อย่างหนึ่ง


นักการตลาดต้องรู้และเข้าใจถึง กลุ่มคน 5 กลุ่ม ในกระบวนการทำให้นวัตกรรมไปถึงลูกค้า
หรือที่เรียกกันว่า “การกระจายนวัตกรรม” Diffusion of Innovation
ได้แก่...
1. Innovators
2. Early Adopters
3. Early Majority
4. Late Majority
5. Laggards

Innovators
คือ กลุ่มแรกสุดที่จะรับนวัตกรรม
ซึ่งจะว่าไปแล้ว กลุ่มนี้ก็คือ “นวัตกร” ผู้ชอบใช้เวลากับการคิดค้น การสร้างสิ่งใหม่ๆ นั่นเอง
คนกลุ่มนี้จะมีแนวคิดดีๆ ใหม่ๆ จำนวนมาก
ดังนั้น องค์กร/นักการตลาด จึงต้องเข้าไปคลุกคลีกับคนกลุ่มนี้
ให้พวกเขาได้ลองนวัตกรรมที่สร้างจากองค์กร
หรืออาจจะเป็น ให้พวกเขาได้สร้างนวัตกรรมร่วมกันกับองค์กรก็ได้

Early Adopters
คือ กลุ่มคนที่มีความเป็นผู้นำในสังคม
มีกำลังซื้อสูง และ จะเลือกซื้อ/ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใหม่ๆ ก่อนคนอื่นๆ
ดังนั้น นวัตกรรมจึงเหมาะที่จะให้คนกลุ่มนี้ได้ลองใช้
แล้วหากผลลัพธ์ออกมาดี องค์กร/นักการตลาด สามารถใช้คนกลุ่มนี้ในการอ้างอิงได้
(ซึ่งพวกเขาเองก็ชอบอยู่แล้ว)

Early Majority
กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ตามสังคมส่วนใหญ่ สังคมใช้อะไรก็จะถือว่ามีการพิสูจน์ผลมาแล้ว ก็จะใช้ตาม
โดยจะมุ่งเน้นไปที่ ราคาถูก ไม่มีความเสี่ยงในการใช้
เน้นการใช้งานที่สะดวก ไม่ยุ่งยาก
การตลาดกับกลุ่มนี้ คือ...
ให้ขนาดทดลอง นำไปลองใช้ที่บ้าน (หวังผลให้มีประสบการณ์ที่ดีและบอกต่อ)
ใช้การโฆษณาในภาพใหญ่
มีแผนกของการสนับสนุน/ดูแลลูกค้า Customer Services เพื่อช่วยรับรองว่าปัญหาจะถูกแก้ไข

Late Majority
กลุ่มนี้คล้ายกับกลุ่ม early Majority ข้างบน
เพียงแต่มีความรู้สึกกังวล กลัวการใช้งาน มากกว่า
อาจจะเรียกได้ว่าเป็นกลุ่ม “อนุรกษ์นิยม” Conservative ก็ได้
และมีการรับอิทธิพลจากความคิดของกลุ่มสุดท้าย คือ Laggards
ดังนั้น นักการตลาดต้องมุ่งที่จะใช้ “การสื่อสาร” ในเรื่องความน่าใช้นวัตกรรมเป็นหลัก
อาจจะใช้ “กลุ่มอนุรักษ์นิยม” ที่มีความรู้สึกดีกับนวัตกรรม เป็น “ตัวสื่อสาร”

Laggards
กลุ่มสุดท้ายนี้ เป็นกลุ่มที่ไม่ยอมเสี่ยงกับเรื่องใหม่ๆเลย
เป็นกลุ่มที่ไม่อยากเปลี่ยนแปลง
คิดว่า สิ่งเดิมนั้นดีอยู่แล้ว เพียงพอแล้ว
ดังนั้น กลุ่มนี้จะจัดการให้ยอมรับนวัตกรรมยากที่สุด
องค์กร/นักการตลาดอาจไม่สนใจในตอนแรกเริ่มของการกระจายนวัตกรรม..
จนกว่าจะมาถึงระยะที่ต้องโน้มน้าวกลุ่ม Late Majority จึงให้ความสนใจกลุ่มนี้

หลักสำคัญ คือ...
การทำให้นวัตกรรมสำเร็จได้นั้น...
ต้องทำให้ 2 กลุ่มแรก คือ Innovators และ Early Adopters ยอมรับเสียก่อน
กลุ่มอื่นๆจึงจะยอมรับตามกันมาในที่สุด
นักการตลาดจึงต้องเข้าใจและมุ่งเป้าไปที่สองกลุ่มแรก
เพื่อทำให้การกระจายนวัตกรรมขององค์กรสัมฤทธิผลได้อย่างแท้จริง

……..
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น